จอประสาทตาเป็นเนื้อเยื่อที่ปกคลุมที่ด้านหลังของดวงตา มีความไวต่อแสง มีหน้าที่ทำให้เรามองเห็นเมื่อแสงตกกระทบไปยังวัตถุและสะท้อนกลับมาที่ดวงตาจากนั้นส่งสัญญาณไปสมอง เพื่อให้เกิดเป็นภาพต่างๆ กระบวนการนี้ทำให้เกิดการมองเห็น และเป็นปัจจัยที่สำคัญของดวงตาคนเรา เบาหวานขึ้นจอประสาทตา (Diabetic retinopathy) ทำลายเส้นเลือดที่หล่อเลี้ยงเนื้อเยื่อรอบๆ จอประสาทตาเป็นสาเหตุที่จะให้สูญเสียความชุ่มชื้นในดวงตา และสูญเสียการมองเห็นในที่สุด
เบาหวานขึ้นจอประสาทตา DR มีอยู่ 2 ประเภท:
- ภาวะเบาหวานขึ้นจอตาระยะไม่ลุกลาม (NPDR): นี่เป็นเบาหวานที่รุนแรงกว่าเบาหวานขึ้นตาโดยปกติ มักจะไม่แสดงอาการใดๆ
- ภาวะเบาหวานขึ้นจอตาระยะลุกลาม (PDR): PDR เป็นระยะสุดท้ายของเบาหวานขึ้นจอตา ทำให้เกิดความผิดปกติของเส้นเลือดที่หล่อเลี้ยงจอประสาทตา
ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน มักเกิดภาวะแทรกซ้อนตามระบบและอวัยวะต่างๆ ภาวะแทรกซ้อนสำคัญที่ผู้ป่วยเบาหวานควรได้รับการคัดกรอง คือภาวะเบาหวานขึ้นประสาทตา ซึ่งพบว่าเป็นสาเหตุของการสูญเสียการมองเห็นมากเป็นอันดับ 2 รองลงมาจากต้อกระจก จากสถิติพบว่าโอกาสที่เบาหวานจะเข้าสู่จอประสาทตามีสูงถึง 80% โดยผู้ป่วยร้อยละ 2 มีภาวะตาบอด ขณะที่ผู้ป่วยร้อยละ 10 สูญเสียการมองเห็นอย่างรุนแรง
อาการโรคเบาหวานขึ้นตา
อาการเบาหวานขึ้นจอประสาทตามักไม่แสดงอาการใด ๆ ในระยะแรก จะแสดงอาการเมื่ออยู่ในระยะลุกลามเมื่ออาการเห็นได้ชัด ในบางครั้งอาการที่ตรวจพบและทำให้ทราบว่าเป็นเบาหวานขึ้นจอประสาทตาคือ การสูญเสียการมองเห็นอย่างกะทันหัน อาการของเบาหวานขึ้นจอประสาทตาได้แก่:
- มองเห็นภาพซ้อน หรือเบลอ
- มองเห็นสีไม่ชัดเจน
- ถูกรบกวนการมองเห็น
- สายตาตอนกลางคืนไม่ดี
- สูญเสียการมองเห็นอย่างกะทันหัน
เบาหวานขึ้นจอประสาทตา หรือ DR มักจะมีผลต่อดวงตาทั้งสองข้าง วิธีเดียวที่ผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถป้องกัน DR ได้คือ เข้ารับการตรวจสอบจากจักษุแพทย์
สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของเบาหวานขึ้นจอประสาทตา
ผู้ป่วยโรคเบาหวานทุกคนสามารถมีการพัฒนาไปสู่เบาหวานขึ้นจอประสาทตา อย่างไรก็ตามจะมีความเสี่ยงมากขึ้นหากบุคคลนั้นมีอาการดังต่อไปนี้
- ไม่มีการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
- ความดันโลหิตสูง
- คอเลสเตอรอลสูง
- กำลังตั้งครรภ์
- สูบบุหรี่
- เป็นผู้ป่วยโรคเบาหวานมานาน
ความเสียหายต่อเส้นเลือดที่หล่อเลี้ยงจอประสาทตาเป็นอาการสำคัญของเบาหวานขึ้นจอประสาทตา
ระดับน้ำตาลในเลือดสูงจะทำลายเส้นเลือดเหล่านี้ และ ทำให้การไหลเวียนของเลือดที่จอเรตินาแย่ลง และอาจมีการรั่วของเลือดทำให้ส่งผลต่อการมองไม่เห็น
อย่างไรก็ตามในระยะลุกลามการไหลเวียนของเลือดจะยังมีอยู่แต่ก็แย่ลง เพราะเส้นเลือดที่สร้างมาใหม่นันอ่อนแอ และรั่วได้ง่าย เมื่อเกิดการรั่วทำให้เกิดการสูญเสียการมองเห็นเป็นบางจุด และอาจทำให้เกิดรอยแผลที่แยกจอประสาทตาออก ทำให้สูญเสียการมองเห็นโดยสิ้นเชิง
วิธีการรักษาเบาหวานขึ้นจอประสาทตา DR
การรักษา DR ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง รวมไปถึงความรุนแรง และประเภทของ DR และวิธีการรักษาที่ตอบสนองต่อผู้ป่วยนั้นๆ ในระยะไม่ลุกลามแพทย์จะไม่ทำการรักษาโดยทันที แต่จะทำการติดตามอาการอย่างใกล้ชิดเป็นระยะ ผู้ป่วยต้องให้ความร่วมมือในการควบคุมโรคเบาหวานกับแพทย์ ด้วยการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดเพื่อลดโอกาสการพัฒนาความรุนแรง แต่หากผู้ป่วยมีอาการุนแรงจำเป็นต้องเข้ารับการผ่าตัด
โดยการผ่าตัดมีดังนี้
การรักษาด้วยการฉายแสงหรือเลเซอร์
เป็นการรักษาภายใต้การควบคุมของแพทย์ด้วยเลเซอร์ไปยังเป้าหมายที่จะปิดผนึกรอยรั่วจากเส้นเลือดที่ผิดปกติ โดวสามารถหยุดหรือชะลอการรั่วไหลของเลือดผู้คนมักจะมองเห็นไม่ชัดเป็นเวลา 24 ชั่วโมงหลังการรักษาด้วยเลเซอร์ หรืออาจมองเห็นจุดเล็กๆ ในสายตาเป็นเวลานาน 2-3 สัปดาห์หลังการรักษา
การรักษาด้วยเลเซอร์แบบกระจาย
การใช้เลเซอร์แบบกระจายจะถูกนำไปใช้กับบริเวณของจอประสาทตาที่อยู่ห่างจากจุดดำที่อยู่ตรงกลางของจอประสาทตา การเลเซอร์ช่วยให้เส้นเลือดที่หล่อเลี้ยงจอประสาทตาที่เกิดใหม่นั้นมีความแข็งแรง หลังการรักษาผู้ป่วยอาจจะมองไม่เห็นนาน 24 ชม
การผ่าตัดเพื่อเอาบางส่วนออก
เป็นการกำจัดเนื้อเยื่อบางส่วนออกจากดวงตา ศัลยแพทย์จะแทนที่ของเหลวใสแทน ดวงตาจะดูดซึมของเหลวเหล่านั้น และได้รับการฟื้นฟูจอประสาทตา
แผลจากเนื้อเยื่อที่แยกจอประสาทตาออกจะถูกผ่าตัดออกโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ จากนั้นจอประสาทตาจะแข็งแรงขึ้น หลังการผ่าตัดผู้ป่วยจำเป็นต้องสวมผ้าปิดตา และค่อยๆ ใช้สายตาอีกครั้ง อย่างค่อยเป็นค่อยไป
หากใช้แก๊สแทนของเหลวใสในการรักษาผู้ป่วยไม่ควรเดินทางโดยเครื่องบินจนกว่าแก๊สจะถูกดูดซึมแล้ว หลังการผ่าตัดอาจมีอาการตาพร่ามัวไปสักระยะก่อนที่การมองเห็นจะกลับมาอีกครั้ง การผ่าตัดนั้นไม่ใช่วิธีการรักษาแต่เป็นการกำจัดเพื่อชะลอการลุกลาม
นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา
- https://www.aao.org/eye-health/diseases/what-is-diabetic-retinopathy
- https://www.diabetes.co.uk/diabetes-complications/diabetic-retinopathy.html
- https://www.healthline.com/health/type-2-diabetes/retinopathy
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก