ชื่อทางการค้า: ACTICLATE, MONODOX, VIBRA-TABS, VIBRAMYCIN
ชื่อสามัญ: DOXYCYCLINE HYCLATE
เป็นยาที่ใช้ในการรักษาการติดเชื้อแบคทีเรีย เช่นสาเหตุจากการเกิดสิว อีกทั้งยังใช้ป้องกันโรคมาลาเรีย โดยเป็นยาปฏิชีวนะที่รู้จักกันในชื่อ tetracycline ออกฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย จึงใช้รักษาได้เฉพาะการติดเชื้อจากแบคทีเรียเท่านั้น ทั้งนี้การใช้ยาปฏิชีวนะโดยไม่จำเป็นอาจส่งผลให้เกิดการดื้อยาในอนาคตได้
ขนาดและวิธีใช้
ควรอ่านฉลากกำกับยาหรือปรึกษาเภสัชกรก่อนการใช้ยาเสมอ
ยาด็อกซีไซคลินชนิดเม็ดรับประทาน
- รับประทาน 1-2 ครั้งต่อวัน ขึ้นอยู่กับคำสั่งแพทย์
- รับประทานขณะท้องว่าง หรือห่างจากมื้ออาหารอย่างน้อย 1-2 ชม. กรณีมียาตัวอื่นที่ต้องรับประทาน (ยาที่มีส่วนประกอบของ อะลูมิเนียม, แคลเซียม, เหล็ก, แมกนีเซียม, สังกะสี หรือบิสมัทซับซาลิไซเลต:Bismuth subsalicylate เช่น ยาลดกรด, Didanosineชนิดน้ำ, Quinapril, เกลือแร่หรือวิตามิน, ผลิตภัณฑ์จากนม และน้ำผลไม้ที่อุดมไปด้วยแคลเซียม) ควรรับประทานให้ห่างกันอย่างน้อย 1-2 ชม.เพื่อให้ร่างกายดูดซึมยาด็อกซีไซคลินได้อย่างเต็มที่
- ดื่มน้ำตามหลังทานยา 1 แก้ว ประมาณ 240 มล.
- ยาด็อกซีไซคลินจะออกฤทธิ์ได้ไม่ดีหากทานคู่กับอาหารหรือนม
- หากเกิดอาการปวดท้อง การรับประทานอาหารหรือนมก็อาจช่วยได้
- อย่าพึ่งนอนทันทีภายหลังทานยา ควรรออย่างน้อย 10 นาที
- น้ำหนักตัวเป็นตัวกำหนดขนาดยาที่จะได้รับในแต่ละคน
- เพื่อประสิทธิภาพสูงสุด ควรรับประทานในเวลาเดียวกันของทุกๆวัน เพื่อให้คุณไม่ลืมยา
หากใช้ในการป้องกันโรคมาลาเรีย แพทย์มักสั่งให้รับประทานยาด็อกซีไซคลินเพียงวันละครั้ง โดยทานก่อนเดินทางอย่างน้อย 1-2 วัน และรับประทานอย่างต่อเนื่องขณะอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคมาลาเรีย หรืออาจต้องรับปะรทานยาวนานถึง 4 สัปดาห์ คุณสามารถปรึกษาแพทย์ในการรับประทานยาได้
หากรับประทานยาชนิดน้ำ ควรผสมยาและเขย่าให้ยาผสมกันให้ดีเสียก่อนดื่ม
รับประทานยาจนหมดตามที่แพทย์สั่ง ไม่ควรหยุดยาเองแม้อาการของโรคจะดีขึ้นแล้วก็ตาม เพราะตัวยาอาจมีผลในการดื้อยาในอนาคตได้
ผลข้างเคียง
- ปวดท้อง
- ท้องเสีย
- คลื่นไส้ อาเจียน
ในการสั่งการรักษา แพทย์ได้พิจารณาถึงผลดีที่จะเกิดขึ้นกับคุณมากกว่าผลเสียที่อาจจะเกิดขึ้นแล้ว ฉะนั้นอาจเกิดอาการข้างเคียงจากยาได้ หากอาการแย่ลงควรไปพบแพทย์ หรือเกิดผลข้างเคียงที่รุนแรง เช่น อาการปวดท้องมาก หรือกลืนลำบาก รวมไปถึงปัญหาทางไต เช่น ปัสสาวะน้อยลง เป็นต้น
ผลข้างเคียงที่พบได้น้อยแต่มีความรุนแรง ได้แก่
- ความดันในโพรงกะโหลกศีรษะสูง : Tetracycline เป็นยาปฏิชีวนะเช่นเดียวกับ Doxycycline อาจก่อให้เกิดแรงดันภายในโพรงกะโหลกศีรษะสูง ซึ่งเป็นอาการข้างเคียงที่พบได้น้อย (Intracranial hypertension-IH) โดยความเสี่ยงของผลข้างเคียงดังกล่าวมักพบในหญิงวัยเจริญพันธ์ุที่มีน้ำหนักตัวเกิน หรือเคยมีประวัติเป็นความดันในโพรงกะโหลกศีรษะสูงก็มีโอกาสกลับมาเป็นอีกได้ แต่ภาวะที่กล่าวมานี้จะหายไปหลังจากหยุดยาด็อกซีไซคลิน อย่างไรก็ตามอาจเกิดการมองเห็นเปลี่ยนไปหรือตามองไม่เห็นเพียงชั่วคราว หากเกิดอาการที่รุนแรงเป็นเรื้อรัง เช่นอาการปวดศีรษะ การมองเห็นเปลี่ยนไป เช่น เห็นภาพไม่ชัด, มองเห็นภาพซ้อน, การมองเห็นลดลง หรือตาบอดกระทันหัน รวมไปถึงอาการคลื่นไส้อาเจียนตลอดเวลา ควรไปพบแพทย์
- มีปัญหาทางลำไส้ที่รุนแรง (Clostridium difficile-associated diarrhea) : เกี่ยวเนื่องจากการดื้อต่อแบคทีเรียของลำไส้ มักเกิดระหว่างการรักษาหรือหนึ่งสัปดาห์หรือหลายเดือนภายหลังหยุดการรักษา ดังนั้นจึงไม่ควรใช้ยาต้านอาการท้องเสียหรือยาแก้ปวด (Opioid) หากคุณมีอาการตามที่กล่าวมา เนื่องจากตัวยายิ่งจะทำให้อาการที่เป็นแย่ลง ควรปรึกษาแพทย์เพื่อประเมินการรักษาหากท้องเสียตลอด ปวดท้อง รวมไปถึงถ่ายเป็นมูกเลือด
- ปฏิกิริยาการแพ้ยาที่รุนแรง : แม้ว่ายาจะช่วยให้อาการที่เป็นดีขึ้น แต่ก็อาจมีโอกาสเกิดอาการจากการแพ้ยาที่รุนแรงได้ เช่น มีไข้ตลอด ต่อมน้ำเหลืองโต มีผื่น เกิดอาการบวม คัน (โดยเฉพาะบริเวณใบหน้า ลิ้น ภายในลำคอ) เวียนศีรษะรุนแรง และหายใจลำบาก ซึ่งปัจจุบันก็ยังไม่สามารถบอกผลข้างเคียงของยาได้ครบถ้วน ฉะนั้นคุณควรสังเกตตัวเองภายหลังจากที่ได้รับการรักษาด้วยยาดังกล่าว และปรึกษาเภสัชกรหรือแพทย์ประจำตัว
นอกเหนือจากนี้การใช้ยาด็อกซีไซคลินเป็นเวลานาน หรือการกลับมาใช้ซ้ำอาจก่อให้เกิดแผลพุพองในช่องปาก หรือเกิดการติดเชื้อราภายในช่องคลอด ควรปรึกษาแพทย์หากสังเกตพบรอยสีขาวภายในช่องปาก, มีสารคัดหลั่งผิดปกติจากช่องคลอด หรือเกิดอาการอื่นๆ
ข้อควรระวัง
- หากคุณมีประวัติแพ้ยาหรือแพ้สารก่อภูมิแพ้ รวมไปถึงประวัติทางการแพทย์ ควรแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนทำการรักษา เพื่อจะได้เลือกใช้ยาที่มีส่วนประกอบที่ไม่ก่อให้เกิดอาการแพ้หรือผลข้างเคียงต่ำ
- ยาด็อกซีไซคลินอาจเป็นสาเหตุของการฉีดวัคซีนเชื้อเป็นแล้วได้ผลที่ไม่ดีเท่าที่ควร ฉะนั้นขณะรักษาด้วยยาด็อกซีไซคลินควรหลีกเลี่ยงการรับวัคซีนหรือยาต้านภูมิคุ้มกันต่างๆ
- ก่อนการผ่าตัดหรือการทำฟันควรแจ้งให้แพทย์ทราบว่าทานยาด็อกซีไซคลินอยู่
- ระหว่างที่ใช้ยาด็อกซีไซคลินอาจทำให้ผิวหนังไวต่อแสงแดด คุณอาจต้องหลีกเลี่ยงการอยู่กลางแจ้ง หรือใช้ครีมกันแดดหรือสวมเสื้อผ้ามิดชิดเมื่อออกนอกบ้าน เพราะอาจเกิดการไหม้หรือรอบแดงบริเวณผิวหนังได้
- ในเด็กที่อายุต่ำกว่า 8 ปี อาจไวต่อการเกิดผลข้างเคียงจากยาด็อกซีไซคลิน โดยเฉพาะอาการฟันเปลี่ยนสี มักเกิดในเด็กโต ซึ่งสามารถปรึกษาแพทย์ได้
- ในหญิงตั้งครรภ์ หรือกำลังวางแผนที่จะตั้งครรภ์ การใช้ยาด็อกซีไซคลิน อาจเป็อันตรายต่อทารกในครรภ์ได้ ควรปรึกษาแพทย์ถึงความเสี่ยงก่อนการใช้ยา
- ในคุณแม่ที่กำลังให้นมบุตร ยาด็อกซีไซคลิน สามารถผ่านน้ำนมได้ ฉะนั้นควรปรึกษาแพทย์ถึงความเสี่ยงต่อบุตรในการใช้ยาระหว่างที่ให้นม
ปฏิกิริยาต่อกันของยา
ยาบางอย่างอาจเกิดปฏิกิริยาต่อกันกับยาด็อกซีไซคลิน เช่น เรตินอยด์ ชนิดเม็ดรับประทาน (ได้แก่ Acitretin, Isotretinoin) บาบิทูเลท (Barbiturates)(ได้แก่ Phenobarbital) ยาต้านการแข็งตัวของเลือด (Blood thinners) (ได้แก่ Warfarin) Digoxin ยากันชัก (ได้แก่ Phenytoin) และ Strontium เป็นต้น
รวมไปถึงอาจเกิดปฏิกิริยาต่อกันกับผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่นการตรวจหาระดับคาทิโคลามีนในปัสสาวะ(urine catecholamine levels) ทำให้เกิดผลลบลวงได้ ฉะนั้นก่อนการเจาะเลือด, ตรวจปัสสาวะ ครวจแจ้งให้แพทย์ทราบถึงประวัติการรับประทานยาปัจจุบันอย่างครบถ้วน
หมายเหตุ
ไม่ควรแบ่งยา หรือใช้ยาร่วมกับผู้อื่น ในการใช้ยาด็อกซีไซคลินเพื่อเป็นการป้องกันการเกิดโรคมาลาเรีย ก็ควรใช้ยาในขนาดเพื่อการป้องกันโรคเท่านั้น รวมทั้งป้องกันตัวเองจากการถูกยุงกัดขณะที่ใช้ยาหรืออยู่ในพื้นที่ที่เกิดการแพร่ระบาดของโรค
การสั่งจ่ายยาเป็นไปตามดุลยพินิจของแพทย์ตามภาวะการติดเชื้อที่เกิดขึ้นเท่านั้น ไม่ควรใช้ยาไปกับการติดเชื้ออย่างอื่นโดยไม่บอกแพทย์
อาจต้องมีการตรวจทางห้องปฏิบัติการเพิ่มเติมเพื่อติดตามผลข้างเคียงจากการใช้ยาในระยะยาว และให้แพทย์ประเมินเป็นระยะ
การลืมยา
หากลืมยา ให้รับประทานยาทันทีที่นึกขึ้นได้ หากใกล้กับเวลายามื้อถัดไปก็สามารถข้ามไปทานยามื้อถัดไปได้เลยตามเวลาปกติ โดยที่ไม่ต้องเพิ่มขนาดยา
การเก็บรักษา
- เก็บยาไว้ที่อุณหภูมิห้อง ให้พ้นจากแสงแดด และความชื้น
- ยาแต่ละยี่ห้ออาจมีวิธีการเก็บรักษาที่แตกต่างกันไป ควรศึกษาจากใบกำกับยา
- เก็บให้พ้นมือเด็กและสัตว์เลี้ยง
- ไม่ควรทิ้งยาลงในสุขภัณฑ์ หรือในท่อระบายน้ำ
- ส่งคืนบรรจุภัณฑ์ยาที่ชำรุด หรือหมดอายุ
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก