การแพ้ยา (Drug Allergy) : อาการ สาเหตุ การรักษา

การแพ้ยา (Drug Allergy) : อาการ สาเหตุ การรักษา

30.10
1714
0

อาการแพ้ยา (Drug Allergy) คือความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันภายในร่างกายที่มีต่อยา อาจเกิดขึ้นได้กับยาทุกชนิด แต่จะพบได้บ่อยกับยาบางกลุ่ม

สัญญาณและอาการที่เห็นได้ชัดในการแพ้ยา คือ อาการลมพิษ เป็นผื่นหรือมีไข้ การแพ้ยาอาจมีอาการที่รุนแรงและส่วผลต่อระบบต่างๆในร่างกายจนเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

การแพ้ยาจะมีอาการไม่เหมือนกับผลข้างเคียงของยาที่ได้บอกไว้บนฉลากยา และอาการแพ้ยาจะไม่เหมือนกับยาเป็นพิษเนื่องจากได้รับปริมาณยากมากเกินไป

การแพ้ยา

อาการของการแพ้ยา

สัญญาณและอาการของการแพ้ยาอย่างรุนแรง มักจะแสดงให้เห็นภายในหนึ่งชั่วโมงหลังจากที่ร่ายกายได้รับยาเข้าไป อาการต่างๆเช่น ผื่นคันสามารถเกิดขึ้นเป็นชั่วโมง วัน หรือยาวนานถึงสัปดาห์

อาการของการแพ้ยาอาจรวมไปถึง :

  • ผื่นที่ผิวหนัง
  • ลมพิษ
  • อาการคัน
  • มีไข้
  • อาการบวม
  • หายใจถี่
  • หายใจติดขัด
  • คัดจมูก
  • คันตาหรือมีน้ำตาไหล

ปฏิกริยาภูมิแพ้อย่างรุนแรง Anaphylaxis

เป็นอาการที่พยได้ยาก และเป็Anaphylaxis is a rare, นอันตรายถึงชีวิต เพราะจะทำให้เกิดความผิดปกติของระบบภายในร่างกายเป็นวงกว้าง โดยมีสัญญาณและอาการดังนี้ : 

  • หลอดลมตีบทำให้หายใจได้ไม่สะดวก
  • มีอาการคลื่นไส้หรือปวดท้อง
  • อาเจียนหรือท้องเสีย
  • วิงเวียนศรีษะ
  • การเต้นของชีพจรไม่คงที่
  • ความดันต่ำ
  • เป็นลมชัก
  • หมดสติ

อาการต่างๆจากการแพ้ยา

การแพ้ยามักเกิดขึ้นได้หลายวันหรือหลายสัปดาห์หลังจากที่ร่างกายได้รับยา และอาจจะยังคงมีอาการต่อเนื่องหลังจากที่หยุดใช้ยาแล้ว โดยมีอาการดังนี้ :

  • ความผิดปกติของน้ำเหลือง ซึ่งอาจทำให้มีไข้ ปวดตามไขข้อ ผื่นคัน บวมและคลื่นไส้
  • โรคโลหิตจางจากยา เม็ดเลือดแดงมีจำนวนลดลง ทำให้เกิดความเมื่อยล้า หัวใจเต้นผิดปกติ หายใจถี่และอาการอื่นๆ 
  • ผื่นคันจากความผิดปกติของเม็ดเลือดขาวและระบบภายในร่างกาย (DRESS) เป็นผื่นที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของจำนวนเม็ดเลือดขาวในร่างกาย มีอาการบวม รวมไปจนถึงต่อมน้ำเหลืองบวม สามารถทำให้มีอาการติดเชื้อของไวรัสตับอักเสบได้ด้วย
  • ไตอักเสบ (nephritis) ทำให้มีไข้ มีเลือดออกในกระเพาะปัสสาวะ มีอาการบวม รวมไปถึงอาการอื่นๆ

สาเหตุการแพ้ยา

อาการแพ้ยาจะเกิดขึ้นเมื่อ ระบบภูมิคุ้มกันภายในร่างกายมีความผิดพลาดในการระบุบว่า ยาที่ได้รับเข้าไปเป็นอันตรยต่อร่างกายเช่น ไวรัสหรือแบคทีเรีย  เมื่อระบบภูมิคุ้มกันค้นพบว่ายาเป็นอันตราย ก็จะสร้างแอนติบอดี้สำหรับยาชนิดนั้นขึ้นมา ซึ่งอาจมีอาการได้ตั้งแต่ครั้งแรกที่ได้รับยา หรือหลังจากได้รับยาไปหลายครั้งแล้วก็ได้

เมื่อมีการรับยาอีกในครั้งต่อไป แอนติบิดี้เหล่านี้จะทำการกำจัดสารเคมีออกไปทันที ทำให้ร่างกายแสดงอาการที่เกี่ยวข้องกับการแพ้ออกมา

ร่างกายอาจจะยังไม่แสดงออกในครั้งแรกที่ได้รับยา แต่มีหลักฐานบางอย่างกล่าวว่า ปริมาณยาในแห่งอาหารเข่น ยาปฏิชีวนะ  ก็อาจทำให้ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายสร้างแอนติบอดี้ได้เช่นกัน

อาการแพ้บางอย่าง เกิดจากกระบวนการที่แตกต่างกันไป นักวิจัยเชื่อว่า ยาบางชนิดสามารถรวมตัวเข้ากับเม็ดเลือดขาวของระบบภูมิคุ้มกันได้ เรียกว่า T-cell ซึ่งจะทำให้เกิดอาการแพ้ยาได้ ตั้งแต่ครั้งแรกที่ได้รับยาเข้าไป

ยาที่เกี่ยวข้องเกิดอาการแพ้

ยาบางชนิดอาจทำให้เกิดอาการแพ้ แต่ยาบางชนิดอาจจะเกี่ยวจ้องกับอาการแพ้มากกว่า เช่น :

  • ยาปฏิชีวนะ เช่น เพนนิซิลลิน
  • ยาแก้ปวด เช่น แอสไพริน ไอบูโพรเฟน (Advil, Motrin IB) หรือ นาพรอกเซนโซเดียม (Aleve)
  • ยาคีโมที่ใช้ในการรักษามะเร็ง
  • ยาที่ใช้สำหรับรักษาโรคภูมิแพ้ตัวเอง เช่น โรครูมาตอยด์

ยาที่ไม่ก่อให้เกิดอาการแพ้แบบไม่จำเพาะ

บางครั้งยาอาจทำให้ร่างกายแสดงสัญญาณหรืออาการที่คล้ายกับการแพ้ยา  แต่ไม่ได้เป็นเพราะการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย gเรียกว่าการแพ้ยาแบบไม่จำเพาะ หรือ pseudoallergic drug reaction.

ยาส่วนมากที่ทำให้เกิดอาการแพ้เหล่านี้ ได้แก่ : 

  • แอสไพริน
  • ยาที่ใช้ในการเกิดสี
  • ยาขับปัสสาวะที่ใช้รักษาอาการปวด
  • ยาชา
  • การแพ้ยากลุ่มซัลฟ่า

ความเสี่ยง

นอกจากอาการแพ้ยาที่สามารถเกิดได้ทั่วไปแล้ว อาจมีสาเหตุบางอย่างที่ทำให้มีความเสี่ยงมากขึ้น เช่น :

  • ประวัติการแพ้อื่นๆเช่น แพ้อาหาร หรือไข้ละอองฟาง
  • ประวัติการแพ้ยาของคนในครอบครัว
  • การได้รับยาชนิดเดิมซ้ำๆ ในริมาณมาก หรือเป็นเวลานาน
  • อาการเจ็บป่วยบางชนิดที่เกี่ยวข้องกับการแพ้ยา เช่น HIV หรือ ไวรัส Epstein-Barr

การป้องกัน

ถ้าหากคุณมีอาการแพ้ยา วิธีการป้องกันที่ดีที่สุดคือ หลีกเลี่ยวการใช้ยาชนิดนั้น หรือใช้วิธีอื่นๆดังนี้ :

  • แจ้งให้กับพยาบาลหรือผู้ที่ดูแลทราบ ตรวจสอบให้แน่ใจว่า อาการแพ้ยาของคุณอยู่ในประวัติการรักษาโรค แล้วแต่งกับสถาบริการสุขภาพเช่น ทันตแพทย์หรือแพทย์เฉพาะทางต่างๆ
  • สวมใส่กำไลสำหรับผู้แพ้ยา สวมใส่กำไลที่มีข้อมูลอาการแพ้ยา เผื่อในกรณีที่จำเป็นต้องมีการรักษาฉุกเฉิน

นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *