ปากแห้ง (Dry Mouth) เป็นอาการที่นำไปสู่สภาวะของการขาดน้ำลาย คนที่ปากแห้งคือคนที่มีน้ำลายไม่มากพอที่จะให้มีความชุ่มชื้นในช่องปาก
สภาวะอย่างนี้จะเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า xerostomia, pasties, cottonmouth, drooth, doughmouth, หรือ des.
บทความนี้จะกล่าวถึงสาเกตุ อาการ การวินิจฉัย และการรักษาอาการปากแห้ง
ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอาการปากแห้ง
ประเด็นสำคัญหลักๆที่ควรรู้เกี่ยวกับอาการปากแห้ง มีดังนี้
- โดยส่วนใหญ่แล้วอาการปากแห้งมักจะเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ
- อาการปากแห้งโดยทั่วไปมักจะเกิดจากผลข้างเคียงจากการใช้ยา
- คนที่มีอาการปากแห้งมักจะมีอาการริมฝีปากแตก มีกลิ่นปาก และน้ำลายเหนียวร่วมด้วย
- คนที่ปากแห้งควรหลีกเลี่ยงอาการที่มีรสจัด และไม่ควรดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของน้ำตาล
สาเหตุที่ทำให้ปากแห้ง
สาเหตุที่อาจทำให้เกิดอาการปากแห้งมีดังนี้:
ยารักษาโรค: ยาตามใบสั่งแพทย์หลายชนิดและยาที่ขายตามร้านขายยาทั่วไป สามารถทำให้เกิดอาการปากแห้งได้ รวมถึงยาแก้แพ้ ยาลดความอ้วน ยาลดความดัน ยาแก้ท้องเสีย ยาคลายกล้ามเนื้อ ยารักษาต่อมปัสสาวะ ยารักษาโรคพาร์คินสันบางตัว และยาอีกหลายชนิดที่นำมาใช้ในการรักษาโรคซึมเศร้า
อายุ: ถึงแม้ว่าอาการปากแห้งจะไม่ได้เกิดขึ้นจากความชรา แต่คนแก่มักจะมีแนวโน้มที่จะใช้ยามากกว่าคนในช่วงวัยอื่น และยาเหล่านั้นก็เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปากแห้งในคนวัยสูงอายุนี้
ผลข้างเคียงจากการรักษามะเร็ง: การฉายแสงหรือฉายรังสีที่ศรีษะหรือที่ลำคอ (อันเนื่องมาจากการรักษาโรคมะเร็ง) ทำให้ต่อมน้ำลายถูกทำลายได้ ซึ่งหากเป็นเช่นนั้น จะทำให้ความสามารถในการผลิตน้ำลายทำได้น้อยลง หากรักษาโดยวิธีเคมีบำบัด ยาเคมีบำบัดก็มีผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงลักษณะเดิมที่เป็นอยู่ตามธรรมชาติของน้ำลาย ตลอดจนปริมาณที่ร่างการจะสามารถผลืตได้ให้น้อยลงอีกด้วย
การบาดเจ็บหรือการผ่าตัด: การบาดเจ็บหรือการผ่าตัดในบริเวณศีรษะหรือลำคอ อาจทำให้เส้นประสาทในบริเวณนี้ได้รับความเสียหาย และเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปากแห้งได้
ยาสูบ: การเคี้ยวหรือสูบบุหรี่ เป็นการเพิ่มภาวะความเสี่ยงที่จะเกิดอาการปากแห้ง
ภาวะขาดน้ำ: เกิดจากการดื่มน้ำไม่เพียงพอ อาจส่งผลให้ปากแห้งได้
การออกกำลังกายหรือการอยู่ในที่มีอากาศร้อนเกินไป: ในสภาวะเช่นนี้จะทำให้ต่อมน้ำลายแห้งอันเนื่องจากของเหลวในร่างกายจะไปรวมตัวในบางจุดในร่างกาย อาการปากแห้งจะมีอาการมากขึ้นเรื่อยๆ หากออกกำลังกายหรือเล่นต่อเนื่องเป็นเวลานานในสภาวะดังกล่าว
เงื่อนไขบางอย่างของสุขภาพ: ความเจ็บป่วย ลักษณะนิสัยบางประการ มีผลทำให้เกิดอาการปากแห้งได้ เช่น:
- โรควิตกกังวล
- โรคซึมเศร้า
- เอชไอวี / เอดส์
- โรคพาร์กินสัน
- โรคเบาหวานที่ควบคุมไม่ดีพอ
- กลุ่มอาการโจเกรน (Sjögren’s syndrome)
- นอนอ้าปาก
- นอนกรน
- โรคหลอดเลือดสมองและโรคอัลไซเมอร์ โรคเหล่านี้มีแนวโน้มทำให้เกิดอาการปากแห้ง ถึงแม้ว่าต่อมน้ำลายจะทำงานได้ดีตามปกติแล้วก็ตาม
อาการปากแห้ง
สัญญาณและอาการ มีดังนี้:
- มีกลิ่นปาก
- ริมฝีปากแห้ง แตก (cheilitis)
- เยื่อบุในช่องปากหรือเยื่อบุบริเวณกระทุ้งแก้ม ฉีกขาด
- อาการแห้งกร้านในปาก
- สูญเสียการรับรู้รส หรือการรรับรู้รสที่ผิดเพื้ยน (dysgeusia)
- การติดเชื้อราในปาก
- ปากพอง (glossodynia)หรือมีอาการเจ็บลิ้น
- กระหายน้ำบ่อยขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเวลากลางคืน
- ลิ้นเป็นแผลและอักเสบ
- ทำลิปสติกติดฟัน
- มีปัญหาเกี่ยวกับเหงือกบ่อยขึ้น
- ฟันผุและมีคราบจุลินทรีย์ในปากมากขึ้น
- มีปัญหาในการพูด
- มีปัญหาในการกลืนหรือเคี้ยว โดยเฉพาะกับอาหารแห้งหรือร่วนเช่น แครกเกอร์หรือซีเรียล
- ปัญหาเกี่ยวกับการใส่ฟันปลอม ยึดฟันปลอม เป็นแผลเนื่องมาจากฟันปลอม มีอาการลิ้นติดที่เพดานปาก
- มีการติดเชื้อที่ต่อมน้ำลาย (sialadenitis)
- เจ็บคอ
- น้ำลายเหนียว
การรักษาอาการปากแห้ง
การรักษาอาการปากแห้งขึ้นอยู่กับปัจจัยที่ทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการเหล่านี้ เช่นอาจจะเกิดจากโรคประจำตัว หรือเกิดจากการใช้ยาบางชนิด ซึ่งหากพบสาเหตุที่แท้จริงแล้วก็จะสามารถรักษาได้จากสาเหตุนั้นๆ โดยจะสามารถลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการรักษาได้
ยา: หากพบว่าอาการปากแห้งเกิดขึ้นจากการใช้ยาบางตัว แทพย์อาจจะทำการลดขนาดยาให้น้อยลงหรือเปลี่ยนชนิดของยาเพื่อให้ให้มีผลน้อยต่อการทำให้เกิดอาการปากแห้ง
การกระตุ้นการผลิตน้ำลาย: แพทย์อาจจะมีการสั่งยาเพิ่มการผลิตน้ำลายให้แก่ผู้มีอาการ เช่น pilocarpine (Salagen) หรือ cevimeline (Evoxac).
ผู้เชี่ยวชาญได้กล่าวว่า การรักษาอาการปากแห้งมีโดยทั่วไปแล้วมี 4 ส่วนใหญ่ๆ ดังนี้:
- เพิ่มการไหลของน้ำลาย
- เพิ่มเติมสารคัดหลั่งที่หายไป
- ควบคุมโรคฟันผุ
- มีการวัดผลเฉพาะอย่างหรือมีมาตรการเฉพาะ เช่น การรักษาอาการติดเชื้อ
ผู้ที่มีอาการปากแห้งควรให้ความสำคัญกับสุขอนามัยของช่องปากและฟันเป็นพิเศษ ซึ่งรวมถึงการกำจัดคราบหินปูนและดูแลรักษาอาการเหงือกอักเสบและโรคฟันผุ การแปรงฟันและใช้ไหมขัดฟันเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้มีอาการปากแห้งควรทำอย่างสม่ำเสมอ
นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา
- https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/dry-mouth/symptoms-causes/syc-20356048
- https://www.webmd.com/oral-health/guide/dental-health-dry-mouth
- https://www.nhs.uk/conditions/dry-mouth/
- https://www.healthline.com/health/dry-mouth
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก