โรคไขมันพอกตับ (Fatty liver) คือการที่ตับมีไขมันมาเกาะสะสมที่ตับมากจนเกินไป ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว ตับมักมีไขมันสะสมในบางส่วน แต่อย่างไรก็ตามถ้ามีไขมันในตับเพิ่มมากขึ้นจะก่อให้เกิดโรคไขมันพอกตับได้ ซึ่งหมายความว่าตับไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ
โรคไขมันพอกตับสามารถเกิดขึ้นได้เมื่อมีไขมันในตับมากกว่า 5%
บทความนี้จะครอบคลุมถึงอาการ สาเหตุ การรักษา การป้องกัน และอื่นๆสำหรับโรคไขมันพอกตับ
ประเภทของโรคไขมันพอกตับ
โรคไขมันพอกตับแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ภาวะไขมันพอกตับที่ไม่ได้เกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์และภาวะไขมันพอกตับที่เกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์
ภาวะไขมันพอกตับที่ไม่ได้เกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์
รูปแบบหลักของภาวะไขมันพอกตับที่ไม่ได้เกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์
ในสหรัฐอเมริกามีคนประมาณ80-100ล้านคนมีภาวะไขมันพอกตับที่ไม่ได้เกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์
โรคไขมันพอกตับนั้นมีอยู่ 2 แบบที่สามารถแยกแยะอาการของโรคNAFLD:ระยะsimple fatty liver หรือ ภาวะไขมันพอกตับที่ไม่ได้เกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์ (NAFL) และ ภาวะไขมันพอกตับที่ไม่ได้เกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์ที่มีภาวะตับอักเสบ(NASH)
ระยะอาการ simple fatty liver
ระยะนี้จะเกิดเมื่อมีไขมันในตับ แต่จะมีความเสียหายเล็กน้อยหรืออาจไม่เกิดความเสียหายกับเซลล์ตับ
ระยะ simple fatty liverโดยทั่วไปจะไม่มีการพัฒนาไปสู่อาการที่ร้ายแรงมากขึ้นเท่าไหร่นัก
โรคไขมันพอกตับที่ไม่ได้เกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์ที่มีภาวะตับอักเสบ(Nonalcoholic steatohepatitis)
คนที่มีอาการไขมันพอกตับที่ไปสู่ระยะNASH จะมีอาการอักเสบและการทำลายเซลล์ตับ รวมถึงไขมันในตับด้วย
ระยะอาการNASHสามารถพัฒนาไปสู่สภาวะที่รุนแรงยิ่งขึ้น เช่น โรคมะเร็งตับ หรือ โรคตับแข็ง
ภาวะไขมันพอกตับที่เกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์
ผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป อาจก่อให้เกิดภาวะไขมันพอกตับที่มีสาเหตุมาจากแอลกอฮอล์ เมื่อตับเกิดความเสียหายจากการด่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ จะสามารถสร้างสารที่เป็นอันตรายต่อตับได้
ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดความรุนแรงจนเกิดการอักเสบในเซลล์ตับได้
นี่คือระยะแรกของอาการไขมันพอกตับจากการดื่มแอลกอฮอล์ และถ้าหยุดดื่มแอลกอฮอล์ พวกเขาก็สามารถหายจากอาการไขมันพอกตับได้
ภาวะไขมันพอกตับที่เกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์สามารถพัฒนานำไปสู่ภาวะตับอักเสบเฉียบพลัน หรือ โรคตับแข็งได้
โรคตับแข็ง
โรคตับแข็งนั้นเป็นระยะที่ร้ายแรงที่สุดของโรคตับ ซึ่งมันมักจะเกิดขึ้นเมื่อมีแผลเป็นของเนื้อเยื่อแทนที่เนื้อเยื่อตับที่มีสุขภาพดี ซึ่งมันสามารถนำไปสู่โรคตับวายได้
อาการของโรคตับแข็งได้แก่
- คันตามผิวหนัง
- ช้ำหรือมีเลือดออก
- มีปัญหาเกี่ยวกับความจำและมีอาการสับสน
- มีอาการบวมที่เท้าหรือบริเวณขาส่วนล่าง
- ท้องอืด
- อาการโรคดีซ่าน เช่น มีผิวและตาเป็นสีเหลือง
โรคตับแข็งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ และหากมีอาการที่รุนแรงควรจะพบแพทย์
อาการไขมันพอกตับ
ไขมันพอกตับอาการมีดังนี้
- ความอยากอาหารลดลง
- รู้สึกไม่สบายหรืออาเจียน
- น้ำหนักลดผิดปกติ
- เหนื่อยหรืออ่อนเพลีย
สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของไขมันพอกตับ
ตอนนี้สาเหตุของโรคไขมันพอกตับยังไม่สามารถพบสาเหตุที่ชัดเจนได้ แต่อย่างไรก็ตาม ทางพันธุกรรมอาจมีส่วนเกี่ยวข้องที่ทำให้เป็นโรคไขมันพอกตับได้
ซึ่งได้การอ้างอิงจากบทความในWorld Journal of Gastroenterology พบว่า ยีนหรือโครโมโซมที่จำเพาะเจาะจงสามารถเพิ่มโอกาสการพัฒนาไปสู่โรคNAFLDได้สูงถึง 27 %
เงื่อนไขสุขภาพบางอย่างก็สามารถเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคNAFLDได้แก่:
- มีน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วน
- ความดันโลหิตสูง
- เป็นโรคเบาหวานประเภทที่ 2
- ภาวะเมแทบอลิซึ่มซินโดรม ซึ่งเป็นเกี่ยวข้องกับโรคอ้วน
- ภาวะดื้อต่อฮอร์โมนอินซูลิน
การที่มีไขมันในเลือดในระดับสูง เช่น มีระดับคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์สูง ก็สามารถนำไปสู่อาการโรคไขมันพอกตับได้อีกด้วย
ผู้เชี่ยวชาญได้พิจารณาถึงระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดของคนทั่วไปที่มีระดับสูงนั้นคือ การที่มีค่าไตรกลีเซอไรด์ที่มีค่ามากกว่า 150-199 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร(mg/dL)
สาเหตุที่พบได้น้อยของโรคไขมันพอกตับนั้น ได้แก่ การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี การลดน้ำหนักอย่างรวดเร็ว และการใช้ยาบางชนิดซึ่งรวมถึงการใช้ยาดิลเทียเซ็มและกลูโคคอร์ติคอยท์
การดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไปก่อให้เกิดภาวะไขมันพอกตับจากการดื่มแอลกอฮอล์
ตับจะทำงานเพื่อสลายและกำจัดแอลกอฮอล์ออกจากร่างกาย เมื่อแอลกอฮอล์แตกตัว ก็จะปล่อยสารพิษที่สามารถทำลายเซลล์ตับจนทำให้ตับอักเสบได้
การรักษาไขมันพอกตับ
ในขณะนี้ยังไม่มีวิธีรักษาโรคไขมันพอกตับ(NAFLD)ได้ ซึ่งการรักษานั้นขึ้นอยู่กับระยะของโรคไขมันพอกตับ แต่อย่างไรก็ตาม บางคนก็สามารถรักษาอาการไขมันพอกตับได้
การลดน้ำหนักอย่างค่อยเป็นค่อยไปให้ได้อย่างน้อย 7-10 % สามารถแก้ไขอาการไขมันพอกตับให้ลดลงได้
แต่อย่างไรก็ตาม การลดน้ำหนักที่รวดเร็วเกินไปอาจทำให้อาการ NAFLD นั้นแย่ลง ซึ่งวิธีลดน้ำหนักที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายคือการรับประทานอาหารที่สมดุลต่อร่างกายและออกกำลังกายเป็นประจำ
ผู้ป่วยโรคไขมันพอกตับที่เกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์สามารถทำให้ตับได้รับความเสียหายหรืออักเสบน้อยลง หรือป้องกันไม่ให้อาการแย่ลง โดยการไม่ดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งการทำตามสิ่งเหล่านี้จะไม่ทำให้กลับไปเป็นโรคตับแข็งได้
บางคนอาจคิดว่าการเลิกดื่มแอลกอฮอล์เป็นเรื่องที่ยากมาก แต่แพทย์ก็สามารถให้คำแนะนำวิธีการรักษาโรคไขมันพอกตับได้
ภาวะแทรกซ้อนจากโรคNASHและโรคไขมันพอกตับที่เกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์ ทำให้เกิดเป็นโรคตับแข็งและตับวายได้
วิธีการรักษาโรคไขมันพอกตับโดยการใช้ยาและการผ่าตัดเป็นทางเลือกที่ใช้ในการรักษาในระยะเริ่มแรกของโรคไขมันพอกตับ
โรคตับวายนั้นอาจจะแนะนำให้การผ่าตัดโดยการปลูกถ่ายตับ
แนวทางในการรักษาโรคไขมันพอกตับ
ปัจจัยเสี่ยงที่พบบ่อยที่สุดของโรคไขมันพอกตับ มีความเกี่ยวข้องกับโรคอ้วนและมีน้ำหนักเกิน
การทำตามขั้นตอนในการลดน้ำหนักโดยการควบคุุมอาหารและออกกำลังกาย สามารถลดความเสี่ยงการพัฒนาเป็นโรคไขมันพอกตัว ซึ่งอาจจะเป็นวิธีการรักษาโรคไขมันพอกตับที่ช่วยลดความเสียหายของตับหรอชะลอกระบวนการของโรคไขมันพอกตับ
เมื่ออาการไขมันพอกตับพัฒนาไปอีกขั้น แพทย์พบว่าการรักษานั้นมีความท้าทายมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม ตับก็สามารถซ่อมแซมตัวมันเองได้ดีมาก ซึ่งการใช้ยาหรือการผ่าตัดก็เป็นทางเลอกที่ดีในการรักษาอาการไขมันพอกตับ
ส่วนสาเหตุของโรคไขมันพอกตับนั้น ยังไม่มีสาเหตุที่แน่ชัด แต่สภาวะสุขภาพบางอย่างอาจจะนำไปสู่การพัฒนาของโรคไขมันพอกตับได้
วิธีการรักษาโรคไขมันพอกตับนั้นไม่ได้ตรงไปตรงมา แต่ก็สามารถช่วยรักษาโรคไขมันพอกตับโดยการรักษาน้ำหนักให้คงที่เอาไว้ ออกกำลังกายเป็นประจำ และไม่ดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป
หากมีอาการของโรคไขมันพอกตับ ควรพบแพทย์ให้เร็วที่สุดเพื่อทำการรักษาต่อไป
สถิติผู้ป่วยโรคไขมันพอกตับในประเทศไทย
สถิตินี้มาจากงานวิจัยที่มีชื่อว่า อุบัติการณ์ของภาวะไขมันเกาะตับและความสัมพันธ์กับกลุ่มภาวะเมตะบอลิกในประชากรไทย ที่รับการตรวจร่างกายที่โรงพยาบาลพญาไท 2 กรุงเทพฯ ซึ่งพบว่า ความชุกของภาวะไขมันพอกตับในประชากรไทยเป็นร้อยละ 39.56 แยกเป็นเพศ ชาย ร้อยละ 32.17 เพศหญิงเป็นร้อยละ 7.39 ซึ่งสรุปได้ว่า โรคไขมันพอกตับนั้นพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง
นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา
- https://medlineplus.gov/fattyliverdisease.html
- https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/nonalcoholic-fatty-liver-disease/symptoms-causes/syc-20354567
- https://www.nhs.uk/conditions/non-alcoholic-fatty-liver-disease/
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก