ภาวะกระเพาะอาหารบีบตัวช้า (Gastroparesis) : อาการ สาเหตุ การรักษา

ภาวะกระเพาะอาหารบีบตัวช้า (Gastroparesis) : อาการ สาเหตุ การรักษา

27.03
8003
0

ภาวะกระเพาะอาหารบีบตัวช้า (Gastroparesis) เป็นภาวะทางการแพทย์ที่มีผลต่อการเคลื่อนที่ของอาหารจากกระเพาะอาหารไปยังลำไส้เล็ก

โดยเกิดขึ้นเมื่อการหดตัวของกระเพาะอาหารทำงานไม่สมบูรณ์ ซึ่งบางครั้งถูกเรียกว่ากระเพาะอาหารอัมพาต

ในระหว่างกระบวนย่อยอาหารการหดตัวของกระเพาะจะช่วยเคลื่อนย้ายอาหารที่ย่อยแล้วจากกระเพาะไปยังลำไส้เล็ก ซึ่งในช่วงนี้จะเกิดการกระบวนย่อยและการดูดซึมสารอาหาร แต่สำหรับผู้ป่วยที่เป็นภาวะดังกล่าวกระบวนการที่เกิดขึ้นจะไม่สมบูรณ์

ภาวะนี้จะรบกวนการทำงานของกระเพาะ อาจทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน น้ำตาลในเลือดและภาวะทางโภชนาการผิดปกติ

ภาวะนี้เกิดขึ้นในผู้ชายประมาณ 10 คนและผู้หญิง 40 คนในทุก ๆ 100,000 คน แต่ในสหรัฐ ฯ ผู้ใหญ่ 1 ใน 4 คนมีอาการคล้ายกับภาวะดังกล่าว

สาเหตุของกระเพาะอาหารบีบตัวช้า

อาการของภาวะกระเพาะอาหารบีบตัวช้าอาจส่งผลอาการทั้งแบบรุนแรงและไม่รุนแรง

แต่ในผู้ป่วยบางรายยังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริง แต่ทั้งนี้ก็มีปัจจัยบางอย่างที่สามารถเพิ่มความเสี่ยงได้

ซึ่งได้แก่:

  • เส้นประสาทวากัสได้รับความเสียหาย หรือการผ่าตัด

  • โรคเบาหวานที่ไม่มีการควบคุม

  • ยาบางชนิด เช่น ยาแก้โรคซึมเศร้า (Tricyclic Antidepressants), สารสกัดกั้นแคลเซียม (Calcium Channel Blockers), โคลนิดีน (Clonidine), โดปามีนอะโกนิสต์ (Dopamine Agonists), ลิเทียม (Lithium), นิโคติน (Nicotine) และโปรเจสเตอโรน (Progesterone)

  • ปัจจัยจากโรคต่าง ๆ เช่น โรคพาร์กินสัน (Parkinson’s disease) , โรคระบบประสาทส่วนกลางเสื่อม (MS), โรคอะไมลอยโดซิส (Amyloidosis) และ โรคสเคลอโรเดอร์มา (Scleroderma)

  • การผ่าตัดกระเพาะอาหาร

  • การติดเชื้อไวรัส

  • การรักษาทางการแพทย์ เช่น การฉายรังสี

  • ภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมน (Hypothyroidism)

  • ความผิดปกติทางจิตใจ

  • ความผิดปกติด้านการรับประทานอาหาร

  • โรคมะเร็ง

  • เคมีบำบัด

  • การใช้ยาบรรเทาอาการปวด เช่น โคเดอีน (Codeine)

  • ยาที่มีฤทธิ์ต้านโคลีเนอร์จิค (Anticholinergic) ซึ่งปิดกั้นกระแสประสาท

ในบางครั้งที่ไม่ทราบสาเหตุของการเกิดภาวะ กรณีนี้เรียกว่าภาวะกระเพาะอาหารบีบตัวช้าแบบไม่ทราบสาเหตุ (Idiopathic Gastroparesis) ซึ่งผู้ที่มีความเสี่ยงสูงที่สุดที่จะเกิดภาวะนี้ ได้แก่ ผู้หญิงช่วงวัยรุ่นและผู้หญิงวัยกลางคน

Gastroparesis

อาการของกระเพาะอาหารบีบตัวช้า

สำหรับอาการที่เกิดขึ้นได้แก่:

  • อาการเสียดแสบร้อนบริเวณหน้าอก หรือ กรดไหลย้อน (GERD)
  • คลื่นไส้ หรืออาเจียนจากกรณีอาหารไม่ย่อย
  • รู้สึกอิ่มเร็วกว่าปกติ
  • ปวดท้องหรือท้องอืด
  • ความอยากอาหารลดลง
  • น้ำหนักลดเนื่องจากปริมาณแคลอรี่ที่ได้รับต่ำ

อาการที่เกิดมักจะแย่ลงเมื่อรับประทาน เช่น อาหารที่มีลักษณะแข็ง อาหารที่มีไขมันสูงและอาหารที่มีเส้นใยสูง หรือ เครื่องดื่มที่มีไขมันสูงหรือมีฟอง

ภาวะแทรกซ้อน

ภาวะกระเพาะอาหารบีบตัวช้าไม่เพียงแค่เป็นภาวะที่ทำให้รู้สึกไม่สบายตัวเท่านั้น แต่ยังอาจนำไปสู่การเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ

เช่น:

  • การขาดน้ำอย่างรุนแรงเนื่องจากอาเจียน

  • การขาดสารอาหาร เป็นผลมากระบวนการดูดซึมที่ไม่สมบูรณ์

  • ระดับน้ำตาลในเลือดผิดปกติ

  • อาหารที่ไม่ผ่านกระบวนการย่อยหรือย่อยไม่สมบูรณ์ ซึ่งสามารถรวมตัวกันเป็นก้อนแข็ง ในบางครั้งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

  • การเจริญเติบโตของแบคทีเรียในกระเพาะอาหาร เป็นผลมาจากอาหารที่ไม่ย่อย

  • คุณภาพชีวิตลดลง

การรักษาหรือการเยียวยาตามธรรมชาติ

การบำบัดทางเลือกอาจช่วยบรรเทาได้

ซึ่งรวมถึงการฝังเข็ม (Acupuncture), การกดจุด(Acupressure), การตอบสนองทางชีวะ (Biofeedback), การสะกดจิต (Hypnotherapy), การใช้ขิงและยาป้องกันอาการคลื่นไส้ทางผิวหนัง

เคล็ดลับการรับประทานอาหาร

การปรับเปลี่ยนการรับประทารอาหารเป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้ป่วยที่เป็นภาวะกระเพาะอาหารบีบตัวช้า ซึ่งมีวิธีการดังนี้:

  • รับประทานอาหารแต่ละมื้อในปริมาณน้อย ๆ แต่ถี่ขึ้น

  • หลีกเลี่ยงผักและผลไม้ดิบ

  • หลีกเลี่ยงผักและผลไม้ที่มีเส้นใยสูง

  • รับประทานอาหารที่มีลักษณะเหลว เช่น ซุปหรืออาหารบด

  • รับประทานอาหารที่มีไขมันต่ำ

  • ดื่มน้ำระหว่างมื้ออาหาร

  • ออกกำลังกายเบา ๆ หลังมื้ออาหาร เช่น การเดิน

  • หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีฟอง การสูบบุหรี่ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

  • ไม่ควรนอนภายใน 2 ชั่วโมงหลังรับประทานอาหาร

การปรับเปลี่ยนเพียงเท่านี้ก็จะสามารถช่วยผู้ป่วยที่เป็นภาวะกระเพาะอาหารบีบตัวช้าได้

การรักษาภาวะกระเพาะอาหารบีบตัวช้า

การรักษามักจะรวมถึงการหาสาเหตุที่แท้จริงของโรค ซึ่งการรักษาทางการแพทย์บางครั้งทำได้เพียงบรรเทาอาการของโรคได้ เช่น ทำให้ท้องว่าง

  • ยาแก้อาการคลื่นไส้ เช่น โปรคลอเปอราซีน (Prochlorperazine), ไดเฟนไฮดรามีน (Diphenhydramine) และ ไธเอธิลเปอราซีน (Thiethylperazine) หรือ ออนแดนเซทรอน (Ondansetron)

  • ยาเพิ่มการหดตัวของกระเพาะอาหาร เช่น เมโตคลอปราไมด์ (Metoclopramide)

  • บางครั้งอาจแนะนำให้ใช้ยาปฏิชีวนะ เช่น อีริย์โธรมัยซิน (Erythromycin)

  • การฉีดโบทูลินั่มท็อกซิน (Botulinum Toxin)

  • การกระตุ้นกระเพาะอาหารด้วยไฟฟ้า ซึ่งเป็นขั้นตอนการผ่าตัดขั้วไฟฟ้าซึ่งติดอยู่กับกระเพาะอาหารเพื่อให้เกิดกระตุ้นทำให้เกิดการหดตัว

  • ในบางกรณีอาจจำเป็นต้องใช้หลอดให้อาหาร หรือ ให้สารอาหารทางหลอดเลือดดำ

หากท่านใดคิดว่าตัวเองกำลังมีอาการของภาวะนี้ ควรปรึกษากับแพทย์เพื่อประเมินและรับการรักษา

การวินิจฉัย

ภายหลังการตรวจสอบอาการและการตรวจร่างกาย แพทย์อาจแนะนำการทดสอบและขั้นตอนบางอย่างเพื่อยืนยันการวินิจฉัย

ซึ่งขั้นตอนและการทดสอบได้แก่ :

  • การส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนบน (Upper GI): โดยใช้ท่ออ่อนพร้อมกล้องส่อง เพื่อตรวจสอบระบบทางเดินอาหารส่วนบนและเพื่อค้นหาบริเวณที่ผิดปกติ

  • การถ่ายภาพรังสี ซึ่งรวมถึงการใช้ CT สแกน, MRI สแกน และอัลตราซาวนด์

  • การตรวจระบบทางเดินอาหารด้วยการกลืนแป้ง (Upper GI series): เรียกอีกอย่างว่าการเอกซเรย์แบเรียม หรือการกลืนแบเรียม ซึ่งการทดสอบนี้รวมถึงการดื่มของเหลวที่เคลือบทางเดินอาหารแล้วทำการเอกซเรย์ วิธีนี้ช่วยให้แพทย์สามารถเห็นบริเวณที่ผิดปกติ เช่น การอักเสบ, การติดเชื้อ, มะเร็ง และไส้เลื่อน

  • การศึกษาการการเคลื่อนไหวของกระเพาะอาหาร (Gastric Emptying Study): เป็นขั้นตอนการตรวจทางเวชศาสตรนิวเคลียร ช่วยให้สามารถประเมินอัตราการเคลื่อนไหวของกระเพาะอาหารเมื่อมีอาหารในลักษณะแข็งหรือของเหลว

  • การทดสอบการหายใจ (Breath Test): หลังจากดื่มน้ำที่มีน้ำตาล ปริมาณของก๊าซที่ร่างกายเผาผลาญจะถูกวัดค่าจากตัวอย่างของลมหายใจ

  • ตรวจวัดการทำงานของทางเดินอาหารส่วนต้น (Gastric manometry:): การทดสอบนี้จะประเมินค่าไฟฟ้า การเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อเรียบของกระเพาะอาหารและลำไส้เล็ก ซึ่งกระบวนการจะอาศัยท่อบาง ๆ ส่งผ่านปากและเข้าไปในกระเพาะอาหาร

  • การบันทึกไฟฟ้าในกระเพาะอาหาร (Electrogastrography): เป็นการทดสอบที่วัดกิจกรรมไฟฟ้าในกระเพาะอาหารโดยใช้ขั้วไฟฟ้าที่วางอยู่บนผิวหนัง

  • ยาเม็ดอัจฉริยะ (The smart pill): เป็นแคปซูลไร้สายเพื่อทดสอบและประเมินการเคลื่อนไหวของกระเพาะอาหารและความเร็วในการย่อยอาหาร โดยจะทดสอบค่า pH, อุณหภูมิและการเปลี่ยนแปลงความดัน

  • การตรวจ Scintigraphic Gastric Accommodation: เป็นการวัดปริมาณกระเพาะอาหารทั้งก่อนและหลังรับประทานอาหารโดยใช้สารกัมมันตภาพรังสี ซึ่งการมีอาหารตกค้างในกระเพาะมากกว่าร้อยละ 10 หลังการย่อยใน 4 ชั่วโมง ก็จะเป็นไปตามเกณฑ์สำหรับผู้ที่เป็นภาวะกระเพาะอาหารบีบตัวช้า

  • การเอกซเรย์ลำไส้เล็ก: โดยทั่วไปแล้วการทดสอบนี้จะใช้เพื่อตรวจหาการอุดตันของลำไส้ ซึ่งอาจทำให้เกิดการย่อยในกระเพาะอาหารล่าช้า โดยอาการนี้อาจทำให้เกิดความสับสนกับภาวะกระเพาะอาหารบีบตัวช้า

ขอเท็จจริงเกี่ยวกับภาวะกระเพาะอาหารบีบตัวช้า

  • ในบางครั้งยังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริงของภาวะนี้ แต่ปัจจัยเสี่ยงที่พบบ่อย ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคระบบประสาทส่วนกลางเสื่อม (MS) และเคมีบำบัด

  • เกิดอาการต่าง ๆ ได้แก่ อาการเสียดท้องหรือกรดไหลย้อน และท้องอืด

  • เกิดภาวะแทรกซ้อน ได้แก่ การขาดน้ำและสารอาหาร

  • สามารถดูแลตัวเองจากภาวะนี้โดยทั่วไป ได้แก่ การจำกัดอาหารแต่ละมื้อให้มีปริมาณน้อยแต่รับประทานให้ถี่ขึ้น และหลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้ท้องอืด

  • มีการรักษาสามารถช่วยบรรเทาอาการได้ แต่ทางเลือกขึ้นอยู่กับอาการ และเงื่อนไขอื่น ๆ

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *