พยาธิตัวจิ๊ด (Gnathostomiasis) เป็นการติดเชื้อปรสิตที่เกิดจากหนอนพยาธิตัวอ่อนระยะที่สามมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Gnathostoma spp., โดยส่วนใหญ่มักเกิดในภูมิภาคเขตร้อนและเขตกึ่งร้อน เป็นโรคติดเชื้อจากสัตว์สู่คนผ่านการทานเนื้อสัตว์และเป็นโรคเฉพาะถิ่นที่เกิดขึ้นในบริเวณที่ผู้คนดื่มน้ำจากแม่น้ำที่เลี้ยงปลาน้ำจืดหรืออาหารทะเล โดยเฉพาะในประเทศไทยและประเทศอื่นๆในทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ญี่ปุ่นและมีการระบาดของโรคพยาธิตัวจิ๊ดเพิ่มมากขึ้นในทวีปอเมริการใต้โดยเฉพาะในประเทศเม็กซิโก
เมื่อก่อนโรคนี้พบได้ยากนอกประเทศที่เกิดการะบาด อย่างไรก็ตามผ่านมาหลายสิบปี มีหลายประเทศที่ไม่มีการแพร่ระบาดของโรคพยาธิตัวจี๊ดเพิ่มมากขึ้น แพทย์ผู้เชี่ยวชาญนอกประเทศที่เกิดการระบาดยังไม่คุ้นชินกับโรคพยาธิชนิดนี้ ดังนั้นการวินิฉัยจึงมักวินิจฉัยผิดหรือใช้เวลาตรวจหาโรคนานกว่าปกติ รวมถึงอาจทำให้เกิดปัญหาทางสุขภาพร้ายเเรงอื่นๆตามมา
บทความนี้ได้อธิบายเกี่ยวกับการระบาดของเชื้อพยาธิตัวจี๊ด วิธีการวินิจฉัยโรค การรักษารวมถึงวิธีการป้องกันโรคพยาธิตัวจี๊ด
โรคพยาธิตัวจี๊ดเกิดจากพยาธิสกุล Gnathostoma ลำดับ Spirurida เป็นหนึ่งในพยาธิตัวกลมกลุ่ม nematode ที่ใหญ่ที่สุด ซึ่งเป็นพยาธิกลุ่มนี้มีลักษณะทางทางชีวภาพที่ต้องการอาศัยอยู่ในโฮสต์ที่เป็นตัวกลางอย่างน้อย 1-2 ที่ในวงจรชีวิต
มนุษย์สามารถเป็นโฮสต์ของพยาธิตัวจี๊ดโดยอุบัติเหตุ เป็นโรคติดเชื้อจากพยาธิตัวจี๊ดที่อยู่ในวัยเจริญพันธุ์ ซึ่งโฮสต์จำเพาะได้แก่ สุนัข แมว เสือ เสือดาวและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำที่กินปลาเป็นอาหาร ในขณะที่หนอนพยาธิตัวโตเต็มวัยอาศัยอยู่ที่ผนังกระเพาะอาหารและทำให้เกิดก้อนเนื้อที่มีลักษณะคล้ายมะเร็ง
โดยปกติมนุษย์สามารถติดเชื้อพยาธิตัวอ่อนระยะที่สามของ Gnathostoma spp ด้วยการทานอาหารดิบหรืออาหารที่ปรุงไม่สุกและอาหารที่ใช้น้ำจากแม่น้ำมาทำอาหาร รวมถึงโฮสต์ตัวกลางชนิดอื่นเช่นงู กบและไก่ อย่างไรก็ตามมีลักษณะพฤติกรรมที่สามารถทำให้ติดเชื้อพยาธิได้ซึ่งได้แก่การดื่มน้ำที่มีพยาธิปนเปื้อน จึงทำให้พยาธิเข้าสู่ร่างกายมนุษย์และทำให้มนุษย์กลายเป็นโฮสต์ตัวกลาง นอกจากนี้พยาธิยังสามารถเข้าสู่ร่างกายมนุษย์ผ่านเนื้อสัตว์ที่มีเชื้อพยาธิตัวจี๊ด
อาการที่ขึ้นในมนุษย์เกิดขึ้นเมื่อพยาธิตัวจี๊ดเข้าสู่เนื้อเยื่อของร่างกาย จึงทำให้เกิดโรคผิวหนังติดเชื้อที่เกิดจากการเคลื่อนที่ไปตามผิวหนังของตัวอ่อนของพยาธิ โดยจะสามารถสังเกตุเห็นพยาธิตัวจี๊ดเคลื่อนที่ 1 เซนติเมตรต่อชั่วโมง
อาการโรคพยาธิตัวจี๊ด
โรคผิวหนังติดเชื้อที่เกิดจากการเคลื่อนที่ไปตามผิวหนังของตัวอ่อนของพยาธิทำให้เกิดโรคผิวหนังที่มีอาการบวมเปลี่ยนที่ไปเรื่อยๆหมายความว่าตัวอ่อนของพยาธิเข้าไปยังเนื้อเยื่อชั้นลึกและอวัยวะภายในแล้ว ซึ่งได้แก่ ปอด ตา หู ระบบย่อยอาหาร อวัยวะเพศและระบบปัสสาวะ แต่อย่างไรก็ตามพบได้น้อยมากแต่สามารถทำให้เสียชีวิตได้ ถ้าหากตัวอ่อนของพยาธิเข้าสู่ระบบประสาทส่วนกลาง
โดยส่วนใหญ่อาการติดเชื้อทำให้เกิดโรคผิวหนังติดเชื้อจากพยาธิใต้ผิวหนังเท่านั้น ซึ่งเป็นอาการที่เกิดขึ้นภายใน 3-4 วันหลังจากทานอาหารที่มีเชื้อพยาธิตัวจิ๊ดเข้าสู่ร่างกายแต่ระยะเริ่มต้นของอาการอาจเกิดขึ้นช้าเป็นเดือนหรือปี
ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริงของการเกิดโรคพยาธิตัวจี๊ดได้ เนื่องจากมีอาการหลายอย่างเกิดขึ้นรวมถึงผลกระทบที่เกิดจากกลไกการเจริญเติบโตของตัวอ่อนที่เข้าสู่ร่างกายมนุษย์ การขับถ่ายของเสียพยาธิและการตอบสนองของระบบภูมิต้านทานของโฮสต์
ของเสียที่พยาธิขับถ่ายออกมารวมถึงกลไกอื่นที่สร้างความเสียหายให้กับเนื้อเยื่อภายในร่างกาย เป็นผลมากจากเลือดตกในหรือเลือดที่ซึมออกจากอวัยวะภายใน ซึ่งสามารถเห็นได้ที่บริเวณเนื้อเยื่อใต้ผิวหนังของผู้ป่วยหรืออวัยวะภายในต่างๆและระบบประสาทส่วนกลาง
การวินิจฉัยโรค
ผู้ที่ภาวะเม็ดเลือดขาวมากและมีรอยพยาธิเคลื่อนไหวใต้ผิวหนังรวมถึงสัมผัสกับพยาธิโดยตรง แนะนำว่าควรเข้ารับการวินิจฉัยโรคพยาธิตัวจี๊ด
ปัจจัยเสี่ยงที่เกิดจากการกับพยาธิโดยตรงได้แก่ผู้ที่อาศัยอยู่ในประเทศที่มีการระบาดของโรคพยาธิตัวจี๊ดและทานอาหารที่อาจมีตัวอ่อนของพยาธิ เช่น อาหารดิบหรืออาหารกึ่งสุกกึ่งดิบ โดยเฉพาะปลาน้ำจืด ไก่ และกบ
ในทางการแพทย์มีโรคที่เกิดจากการติดเชื้อพยาธิหลายชนิดได้แก่ พยาธิตัวกลมที่ทำให้เยื่อหุ้มสมองอักเสบ โรคพยาธิทริคิเนลลาและโรคผิวหนังติดเชื้อที่เกิดจากการเคลื่อนที่ไปตามผิวหนังของตัวอ่อนของพยาธิ
โดยปกติเซลล์เม็ดเลือดขาว Eosinophilia เป็นเซลล์ที่ทำหน้าที่ป้องกันการติดเชื้อจากพยาธิมักมีจำนวนมากขึ้นเมื่อเริ่มมีหนอนพยาธิเข้าสู่ร่างกาย โดยเฉพาะที่ผิวหนังหรือเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง แต่อยางไรก็ตามเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดนี้ไม่ได้มีอยู่เสมอไปและหากตรวจไม่พบเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดนี้ ไม่สามารถวินิจฉัยโรคพยาธิตัวจี๊ดได้
นักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่นเป็นผู้ริเริ่มคิดค้นวิธีการตรวจพยาธิการตรวจทางน้ำเหลืองที่เรียกว่า serological test ซึ่งเป็นการตรวจพยาธิโดยใช้สารสกัดจากพยาธิตัวจี๊ดโตเต็มวัย
(Gnathostoma doloresi) ในบริเวณที่พบพยาธิในร่างกาย
ปัจจุบันมีการวินิจฉัยโรคพยาธิตัวจี๊ดด้วยวิธี serological test ซึ่งเป็นวิธีที่ใช้อย่างแพร่หลายมากที่สุดในทวีปยุโรป เช่นในประเทศอังกฤษและสวิสเซอร์แลนด์ นอกจากนี้ที่มหาวิทยาลัยมหิดลประเทศไทยก็สามารถตรวจเชื้อพยาธิตัวจี๊ดด้วยวิธีดังกล่าวได้เช่น
วิธีรักษาโรคพยาธิตัวจี๊ด
หลายปีที่ผ่านมาไม่มีการรักษาวิธีไหนที่สามารถรักษาโรคพยาธิตัวจี๊ดได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีเพียงการผ่าตัดก้อนเนื้อที่หนังเท่านั้นที่เป็นวิธีการรักษาที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด การใช้ยาเคยนำมาทดสอบกับทั้งสัตว์และคนพบว่าไม่สามารถรักษาพยาธิตัวจี๊ดได้ ซึ่งได้แก่ยา thiabendazole, ยา praziquantel, ยา metronidazole, ยา diethylcarbamazine, และ ยา quinine
ยา Albendazole และยา benzmidazole เป็นยาขับพยาธิที่มีขอบเขตในการออกฤทธิ์กว้าง ยาเหล่านี้เป็นยาที่ได้รับการพิสูจน์เเล้วว่าสามารถรักษาอาการติดเชื้อที่เกิดจากหนอนพยาธิทั้งในและนอกลำไส้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างเช่นโรคพยาธิใบไม้ในตับและพยาธิตัวตืด รวมถึงโรคติดเชื้อพยาธิใต้ผิวหนัง
ยาเหล่านี้ทำให้พยาธิไม่สามารถกินกลูโคสได้ส่งผลทำให้พยาธิไม่สามารถเคลื่อนตัวได้เเล้วทำให้พยาธิตายในที่สุด ยา Albendazole เป็นยาที่ระบบย่อยอาหารดูดซึมได้น้อย (แม้ว่าจะดูดซึมได้ดีกว่ายา mebendazole)
วิธีป้องกัน
การกำจัดพยาธิในแต่ละพื้นที่บนโลกมีความแตกต่างกันเนื่องจากวิธีการปรุงอาหารและเมนูอาหารประหลาด ดังนั้นการควบคุมการติดเชื้อพยาธิสามารถทำได้ด้วยการให้ความรู้เกี่ยวกับโรคติดเชื้อพยาธิ เพื่อส่งเสริมความตระหนักถึงความสะอาด วิธีป้องกันพยาธิที่ดีที่สุดคือการปรุงอาหารให้สุกเพื่อมั่นใจว่าตัวอ่อนของพยาธิได้ถูกฆ่าด้วยความร้อน นอกจากนี้การแช่อาหารในห้องเย็นที่อุณหภูมิ −20°C เป็นเวลา 3-5 วันยังสามารถช่วยฆ่าพยาธิได้เช่นกัน
นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา
- https://www.cdc.gov/parasites/gnathostoma/
- https://www.cdc.gov/dpdx/gnathostomiasis/index.html
- https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2708391/
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก