โรคเก๊าต์ (Gout) : อาการ สาเหตุ การรักษา

โรคเก๊าต์ (Gout) : อาการ สาเหตุ การรักษา

04.10
4389
0

โรคเกาต์เป็นอาการทั่วไปของภาวะติดเชื้อในข้อต่อที่ทำให้เกิดอาการปวดข้ออย่างรุนเเรงทำให้เกิดอาการบวมรวมไปถึงอาการข้อติดขัด โดยปกติโรคเกาต์มักเกิดในข้อของนิ้วหัวเเม่เท้า

โรคเกาต์สามารถเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วและหายไปเองได้เมื่อเวลาผ่านไปนอกจากนี้ยังเกิดการแพร่เชื้อในบริเวณที่ติดเชื้อได้ช้าและทำให้เกิดอาการเจ็บปวดอย่างรุนเเรงได้ในภายหลัง ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคเกาต์ได้แก่โรคความดันสูง โรคหัวใจและโรคอ้วน 

โรคนี้เกิดจากการติดเชื้อในข้อต่อของผู้ชาย แม้ว่าโดยส่วนใหญ่โรคนี้เกิดขึ้นกับผู้ชายแต่ผู้หญิงมักมีความอ่อนไหวกับโรคนี้มากกว่าโดยเฉพาะเมื่อโรคเกาต์เกิดขึ้นกับผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน 

สถาบันป้องกันเเละควบคุมโรค (CDC) รายงานว่าในระหว่างปี 2007 ถึง 2008 พบว่ามีประชากรชาวอเมริกาประมาณ 8.3 ล้านคนเป็นโรคเกาต์

ประเภทของโรคเกาต์

อาการของโรคเกาต์มีหลายประเภทและมีระยะของการเกิดโรคที่หลากหลายซึ่งหมายความว่าโรคเกาต์มีหลายประเภทเเตกต่างกันดังต่อไปนี้ 

โรคเกาต์แบบที่มีภาวะกรดยูริกในเลือดสูงโดยที่ไม่มีอาการ

มีความเป็นไปได้สำหรับผู้ที่มีระดับกรดยูริกสูงเเต่ไม่มีอาการเเสดงออก ในระยะนี้ยังไม่จำเป็นต้องทำการรักษาซึ่งอาจมีผนึกของกรดยูเรทเกิดขึ้นเเละค่อยๆเกิดการสะสมตัวเพิ่มขึ้นในเนื้อเยื่อและค่อยทำลายเนื้อเยื่อไปทีละเล็กที่ละน้อย  

ผู้ที่มีระดับกรดยูริกในเลือดสูงแต่ไม่แสดงอาการอาจจะต้องเข้ารับการปรึกษาจากเเพทย์เพื่อหาสาเหตุของการเกิดภาวะกรดยูริกในเลือดสูง

โรคเกาต์แบบเฉียบพลัน

การเกิดโรคเกาต์ในระยะนี้มักเกิดขึ้นเมื่อมีการสะสมของผนึกยูเรทเกิดขึ้นและทำให้เกิดอาการอักเสบโดยเฉียบพลันและอาการเจ็บปวดอย่างรุนเเรง

การเกิดอาการติดเชื้ออย่างเฉียบพลันนี้ทำให้เกิด “ผื่นไหม้สีแดง” และโดยปกติอาการนี้จะหายไปภายใน 3 ถึง 10 วัน ซึ่งบางครั้งอาการผื่นไหม้สีแดงนี้เกิดจากสิ่งที่กระตุ้นดังต่อไปนี้ได้แก่ความเครียด การดื่มแอลกอฮอลและการใช้ยารวมไปถึงอากาศที่หนาวเย็น  

โรคเกาต์ระยะที่ไม่มีข้ออักเสบหรือหายจากข้ออักเสบ

ระยะของการเกิดโรคเกาต์นี้เกิดขึ้นระหว่างการเกิดโรคเกาต์แบบเฉียบพลัน ซึ่งอาการผื่นไหม้สีแดงอาจไม่เกิดขึ้นเป็นเวลาหลายเดือนหรือหลายปีดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องรักษาแต่เมื่อเวลาผ่านไปอาการของโรคเกาต์สามารถเกิดขึ้นได้นานขึ้นเเละเกิดขึ้นบ่อยมากขึ้น ในช่วงระยะสงบของโรคเกาต์นี้ผนึกของกรดยูเรทอาจมีการสะสมเพิ่มขึ้นในเนื้อเยื่อเรื่อยๆ  

 โรคเกาต์ระยะเรื้อรังที่มีก้อนโทฟัส

ระยะเรื้อรังของโรคเกาต์ที่มีก้อนโทฟัสนี้โดยส่วนใหญ่มักทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการอ่อนเพลียและอ่อนเเรง โดยโรคเกาต์ชนิดนี้เกิดการทำลายเนื้อเยื่อในระยะยาวซึ่งมักเกิดขึ้นในข้อต่อหรือไต ผู้ป่วยที่เป็นโรคเกาต์ระยะนี้จะมีอาการข้อต่ออักเสบเรื้อรังและมีก้อนโทฟัสเกิดขึ้นรวมไปถึงมีก้อนผนึกยูเรทขนาดใหญ่สะสมอยู่ในส่วนที่เย็นของร่างกายเช่นบริเวณข้อต่อของนิ้วมือ   

หากมีโรคเกาต์ที่ไม่ได้รับการรักษาเกิดขึ้นเป็นเวลานานจะทำให้โรคเกาต์พัฒนามาถึงระยะเรื้อรังที่มีก้อนโทฟัสได้โดยอาการนี้จะเกิดขึ้นภายในระยะเวลา 10 ปี ซึ่งแตกต่างกับผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาโรคเกาต์ก่อนที่จะเกิดโรคเกาต์ระยะเรื้องรัง 

โรคเกาต์เทียม

เป็นอาการของโรคที่ผู้ป่วยมักเกิดความสับสนระหว่างโรคเกต์คือโรคเกาต์เทียมเพราะอาการของโรคเกาต์เทียมคล้ายกับโรคเกาต์จริงมากแม้ว่าโดยปกติการเกิดผื่นไหม้สีแดงมีอาการรุนเเรงน้อยกว่า

โดยส่วนใหญ่ความแตกต่างระหว่างโรคเกาต์จริงเเละโรคเกาต์เทียมคือการสะสมของผลึกแคลเซียมไพโรฟอสเฟทไดฮัยเดรท (calcium pyrophosphate dihydrate) ส่วนโรคเกาต์เเท้นั้นเกิดจากการสะสมของผนึกยูเรทดังนั้นโรคเกาต์เทียมจำเป็นได้รับการรักษาที่แตกต่างกัน 

อาการของโรคเกาต์

โดยปกติอาการโรคเกาต์มักเป็นอาการที่เกิดขึ้นโดยเฉียบพลันไม่มีสัญญาณเตือนมาก่อนและมักเกิดขึ้นในเวลากลางคืน

อาการหลักของโรคเกาต์ได้แก่อาการเจ็บปวดในข้อต่ออย่างรุนเเรงซึ่งทำให้เกิดอาการระคายเคืองและการติดเชื้อรวมไปถึงผื่นสีเเดง

บ่อยครั้งที่โรคเกาต์มักเกิดขึ้นที่บริเวณข้อต่อขนาดใหญ่ของนิ้วหัวเเม่เท้าและยังสามารถเกิดขึ้นได้ที่ปลายเท้า ข้อเท้า หัวเข่า ข้อศอก ข้อมือและนิ้วมือได้

อาการปวดของโรคเกาต์เกิดขึ้นได้อย่างรุนเเรง ผู้ป่วยเป็นโรคเกาต์ที่เข้ารักษาในโรงพยาบาลเบอร์มิงเเฮมกล่าวว่า

“ฉันมีอาการเจ็บปวดเเบบสั้นๆ ตุบๆ และเจ็บปวดอย่างรุนเเรงกะทันหันเหมือนกระโดดออกจากเฮลลิคอปเตอร์แต่ไม่มีอาการเจ็บปวดเเบบไหนที่สามารถเปรียบเทียบกับโรคเกาต์ได้,”

ภาวะเเทรกซ้อน

ในบางกรณีโรคเกาต์สามารถทำให้เกิดโรคร้ายเเรงได้เช่น

  • โรคนิ่วในไต เกิดขึ้นเมื่อมีการสะสมของผนึกกรดยูเรทมากเกินไปเเละค้างอยู่ที่ไตจึงทำให้ตกตะกอนกลายเป็นนิ่วในไตได้
  • การเกิดโรคเกาต์ซ้ำ สำหรับผู้ที่เคยมีอาการผื่นไหม้สีแดงเพียงหนึ่งครั้งอาจทำให้โรคเกาต์เกิดขึ้นได้อีกครั้งซึ่งทำให้ค่อยๆเกิดความเสียหายภายในข้อต่อหรือเนื้อเยื่อทีละเล็กน้อย

วิธีรักษาโรคเกาต์

โรคเกาต์ส่วนใหญ่ได้รับการรักษาด้วยการใช้ยา การใช้ยาสามารถรักษาอาการที่เกิดจากโรคเกาต์ได้และป้องกันการลุกลามของเชื้อในอนาคตรวมถึงลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะเเทรกซ้อนจากโรคเกาต์เช่นนิ่วในไตและเกิดการรวมตัวของกรดยูริกเกิดเป็นก้อนที่ข้อเรียกว่า Tophi

โดยปกติยาที่ใช้รักษาได้แก่ยาต้านการอักเสบชนิดที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) เช่นยาโคชิซิล ( colchicine) หรือยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ (corticosteroids) ยาเหล่านี้สามารถช่วยลดอาการติดเชื้อและอาการเจ็บปวดบริเวณที่ถูกทำลายด้วยโรคเกาต์ได้และเป็นยาที่ใช้รับประทานเป็นส่วนใหญ่

การใช้ยาสามารถใช้เพื่อลดการสร้างกรดยูริก (โดยการยับยั้งเอนไซม์ด้วยการใช้ยากลุ่ม xanthine oxidase inhibitorsเช่นยาอัลโลพูรินอล ) หรือเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของไตเพื่อกำจัดกรดยูริกออกจากร่างกายเช่นการใช้ยาโพเบเนซิด (probenecid)

หากไม่รักษาโรคเกาต์ที่เกิดขึ้นเฉียบพลันอาการของโรคนี้สามารถเกิดความรุนเเรงขึ้นได้เมื่อเวลาผ่านไปภายใน 12 และ 24 ชั่วโมงหลังจากเริ่มต้นมีอาการของโรคเกาต์ โดยส่วนใหญ่เเล้วผู้ป่วยสามารถหายจากโรคเกาต์ได้ภายในเวลา 1 ถึง 2 อาทิตย์โดยไม่ต้องรักษาแต่ในระยะที่มีอาการของโรคเกาต์เกิดขึ้นมักทำให้เกิดอาการเจ็บปวดอย่างมาก

การทดสอบเเละการวินิจฉัยโรค 

การวินิจฉัยโรคเกาต์ทำได้ง่ายเพราะอาการของโรคนี้มักปรากฎขึ้นให้เห็นได้อย่างชัดเจน โดยภาวะกรดยูริกในเลือดสูง (Hyperuricemia) มักเกิดขึ้นกับผู้ที่เป็นโรคเกาต์ซึ่งภาวะนี้อาจจะไม่เกิดขึ้นในขณะที่เกิดการลุกลามของโรคเกาต์ แต่ในขณะเดียวกันผู้ที่มีภาวะกรดยูริกในเลือดสูงส่วนใหญ่ไม่ได้ทำให้เกิดโรคเกาต์  

หนึ่งในวิธีวินิจฉัยของเเพทย์สามารถทำได้ด้วยการทดสอบของเหลวในข้อต่อซึ่งทำโดยการใช้เข็มเจาะและดูดน้ำในข้อที่เกิดการอักเสบออกมาทดสอบว่ามีการสะสมของสาร urate crystals หรือผนึกยูเรทอยู่หรือไม่  

เมื่อการติดเชื้อในข้อต่อทำให้เกิดอาการที่คล้ายกับโรคเกาต์ แพทย์สามารถตรวจสอบแบคทีเรียที่อยู่ในของเหลวของข้อต่อได้เช่นกันเพื่อดูว่าการอักเสบที่เกิดขึ้นในข้อต่อเกิดจากแบคทีเรียหรือไม่ ซึ่งของเหลวที่ได้มาจากข้อต่อนี้สามารถส่งให้ทดสอบตรวจสอบได้และอาจจะต้องใช้เวลาหลายวันในการวิเคราะห์หาสาเหตุ 

นอกจากนี้แพทย์สามารถเจาะเลือดของผู้ป่วยเพื่อนำมาตรวจสอบระดับของกรดยูริกในเลือดได้เช่นกัน แต่อย่างที่ได้กล่าวไปผู้ที่มีกรดยูริกในเลือดสูงไม่ได้เป็นโรคเกาต์เสมอไป เช่นเดียวกับผู้ที่เป็นโรคเกาต์ส่วนใหญ่มักไม่มีการเพิ่มระดับของกรดยูริกในเลือดสูง  

วิธีสุดท้ายแพทย์จะทำการตรวจสอบหาผนึกของกรดยูเรทรอบๆข้อต่อที่เกิดการติดเชื้อหรือตรวจหาการรวมตัวของกรดยูริกเกิดเป็นก้อนที่ข้อเรียกว่าก้อนผลึกข้อต่อด้วยการอัลตร้าซาวด์ ทั้งนี้การเอ็กซ์เรย์ไม่สามารถตรวจหาโรคเกาต์แต่สามารถใช้วิธีนี้เพื่อตรวจหาโรคอื่นๆได้ 

โรคเกาต์เริ่มต้นจากภาวะการเกิดกรดยูริกเกินในเลือดหรือที่เรียกว่าอาการ hyperuricemia โดยกรดยูริกถูกสร้างขึ้นในร่างกายเพื่อทำลายสารประกอบทางเคมีพิวรีนที่พบในปริมาณที่เข้มข้น โดยพบในอาหารเช่นเนื้อหมู สัตว์ปีกและอาหารทะเล สาเหตุของโรคเกาต์

โดยปกติกรดยูริกสามารถดูดซึมเข้าไปในกระเเสเลือดหรือกรดยูริกส่วนเกินมักถูกส่งไปที่ไตเพื่อขับออกจากร่างกายผ่านปัสสาวะ ถ้าหากกรดยูริกถูกสร้างขึ้นมากเกินไปหรือมีไม่เพียงพอต่อการขับออกผ่านทางปัสสาวะ กรดยูริกเหล่านี้อาจเกิดการรวมตัวกันเป็นผนึกซึ่งเป็นการกระตุ้นทำให้เกิดการติดเชื้อเเละความเจ็บปวดในข้อต่อรอบเนื้อเยื่อที่เกิดการอักเสบติดเชื้อขึ้น  

นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *