

ถ้าหากคุณเป็นคนหนึ่งที่ชอบดื่มชาเขียวร้อนๆ อาจตกใจที่รู้ว่าน้ำชาเขียว และชาดำนั้นมีต้นกำเนิดมาจากพืชชนิดเดียวกัน นั่นคือ Camellia sinensis
มันขึ้นอยู่กับพันธุ์ของต้นชา และวิธีแปรรูปใบชาที่กำหนดว่าชาเขียวกลายเป็น “สีเขียว” และชาดำกลายเป็น “สีดำ”
สายพันธ์ของชา
ต้นชา Camellia sinensis มีสองสายพันธุ์หลักจากการผลิตชาที่เราดื่มทั่วไป
CAMELLIA SINENSIS SINENSIS:
นี่เป็นพันธุ์ใบเล็กที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีนซึ่งมักใช้ทำชาเขียวและชาขาว มันเป็นไม้พุ่มที่เติบโตในบริเวณที่มีแดดจัดซึ่งมีสภาพอากาศที่แห้งและเย็น มีความทนทานต่อความหนาวเย็นและเจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ภูเขา
CAMELLIA SINENSIS ASSAMICA:
และนี่เป็นพันธุ์ใบขนาดใหญ่ที่ค้นพบครั้งแรกในเขตอัสสัมของอินเดียและมักใช้ในการผลิตชาดำที่มาความเข้มข้นมากกว่าชาเขียว ใบของมันจะโตในสภาพอากาศที่อบอุ่นและชื้น และมีความอุดมสมบูรณ์มากในป่ากึ่งเขตร้อน
มีพันธุ์และพืชลูกผสมหลายร้อยชนิดที่วิวัฒนาการมาจากพันธุ์พืช Camellia sinensis เมื่อเวลาผ่านไป โดยในทางเทคนิคแล้ว ไม่ว่าชาชนิดใดก็อาจทำจากใบของต้น Camellia sinensis
การแปรรูปชาเขียว
สำหรับใบชาเขียว ยอดใบชาจะถูกเก็บเกี่ยวจากต้นชาเขียว Camellia sinensis แล้วจึงให้ความร้อนอย่างรวดเร็ว—โดยการเผาในกระทะหรือนึ่ง—และตากให้แห้งเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันมากเกินไปซึ่งจะทำให้ใบสีเขียวเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลและเปลี่ยนรสชาติของความเป็นใบชาสด
โดยทั่วไปแล้ว ชาเขียวที่ชงแล้วจะมีสีเขียว สีเหลือง หรือสีน้ำตาลอ่อน และรสชาติของชาเขียวอาจมีตั้งแต่กลิ่นแบบชาสดและกับแบบชาที่นำไปคั่วแล้ว ไปจนถึงกลิ่นคล้ายพืชผัก หวาน และคล้ายสาหร่าย (นึ่ง) หากชงชาอย่างถูกต้อง ชาเขียวส่วนใหญ่ควรมีสีอ่อนและฝาดเล็กน้อยเท่านั้น
ในทางตรงกันข้าม ใบชาดำจะถูกเก็บเกี่ยวและปล่อยให้ออกซิไดซ์ได้เต็มที่ก่อนที่จะผ่านกรรมวิธีทางความร้อนและตากให้แห้ง ในระหว่างการออกซิเดชัน ออกซิเจนจะทำปฏิกิริยากับผนังเซลล์ของต้นชา ทำให้ใบชามีสีน้ำตาลเข้มเป็นสีดำที่ขึ้นชื่อในชาดำ และทำให้รสชาติของชาเปลี่ยนไปอย่างมีนัยสำคัญ
ชาดำที่ชงแล้วสามารถมีสีได้ตั้งแต่สีเหลืองอำพัน สีแดงไปจนถึงสีน้ำตาลเข้ม และรสชาติของชาดำนั้นมีตั้งแต่กลิ่นคล้ายมอลต์ ผลไม้ ไปจนถึงกลิ่นคั่ว ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับรูปแบบและวิธีการแปรรูป โดยทั่วไปแล้วชาดำจะมีความฝาดและความขมมากกว่า แต่ถ้าชงชาอย่างถูกต้อง ชาดำจะต้องมีความกลมกล่อมและมีรสชาติที่ดี
การแปรรูปชาเขียว: การนึ่ง/การคั่ว → การทำความเย็น → การอบครั้งแรก → การตากครั้งแรก (110°C/70°C) → การอบครั้งสุดท้าย → การตากครั้งสุดท้าย (120°C/80°C)
ชาเขียวจะต้องผ่านการนึ่งฆ่าเชื้อก่อนทำการอบ การนึ่งใช้ความร้อนเบา ๆ กับใบเพื่อช่วยหยุดกระบวนการออกซิเดชั่นก่อนที่ใบจะม้วนเป็นรูปร่าง การนึ่งยังช่วยให้เห็นความสดของใบอีกด้วย ใบชาเขียวนั้นไม่ควรให้มีการออกซิไดซ์หลังการอบ ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ใบชาเขียวมีสีและรสอ่อน
ประโยชน์ของชาเขียว
1. ลดคอเลสเตอรอล
ชาเขียวนั้นมีสรรพคุณในการช่วยลดคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดีอย่าง LDL (Low density lipoprotein) ซึ่งเป็นไขมันชนิดไม่ดีที่อาจนำไปสู่โรคหัวใจและทำการเพิ่ม HDL (High density lipoprotein) ซึ่งถูกจัดอยู่ในไขมันชนิดดี และยิ่งไปกว่านั้นชาเขียวยังมีสารประกอบที่ช่วยป้องกันการดูดซึมของคอเลสเตอรอลในระบบทางเดินอาหารอีกด้วย
2. ควบคุมน้ำหนัก
จากผลการวิจัยพบว่าการดื่มชาเขียวแต่ละแก้วนั้นสามารถช่วยลดไขมันในร่างกายได้ โดยเฉพาะไขมันในส่วนท้องรวมถึงช่วยควบคุมน้ำหนัก นอกจากนี้ชาเขียวยังมีสารแคทิชิน (Catechin) ที่ช่วยสร้างความร้อนในร่างกาย ส่งผลให้เผาผลาญแคลอรี่ได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
3. ป้องกันผมร่วง
การดื่มชาเขียวนั้นสามารถช่วยป้องกันการเกิดผมร่วงได้ เนื่องจากชาเขียวอุดมไปด้วยสารคาเทชิน (Catechin) ที่ช่วยป้องกันการเกิดผมร่วงและมีสาร EGCG (Epigallocatechin gallate) ซึ่งช่วยในการกระตุ้นการทำงานในการงอกของเส้นผม
4. ชะลอความชรา
ชาเขียวมีสารโพลีฟีนอลและสาร OPC ซึ่งจะช่วยปกป้องผิวของคุณจากอนุมูลอิสระ โดยสารชนิดนี้จะต่อสู้กับปัญหาผิวต่างๆที่มาเยือนเมื่อคุณเข้าสู่วัยชรา พบว่าการดื่มชาเขียวนั้นสามารถช่วยป้องกันการเกิดมะเร็งผิวหนังได้
5. ช่วยลดความดันโลหิต
การดื่มชาเขียวเป็นประจำสามารถช่วยลดอาการความดันโลหิตสูง เป็นประจำอย่างน้อย 1 ปีจะมีความเสี่ยงที่จะเกิดความดันโลหิตสูงต่ำลงถึง 46 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่ได้ดื่มชาเขียว
6. ช่วยให้กระดูกแข็งแรง
ชาเขียวนั้นอุดมไปด้วยธาตุฟลูออไรด์ ซึ่งเป็นหนึ่งในสารอาหารที่จำเป็นสำหรับการเสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูก อีกทั้งยังมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระและสารต่อต้านการอักเสบ ที่ช่วยป้องกันการสูญเสียมวลกระดูก และยิ่งไปกว่านั้นการดื่มชาเขียวเป็นประจำ ยังสามารถช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคกระดูกพรุนได้อีกด้วย
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก