ผู้ชายมีนม (Gynecomastia) : อาการ สาเหตุ การรักษา

ผู้ชายมีนม (Gynecomastia) : อาการ สาเหตุ การรักษา

30.03
9197
0

ผู้ชายมีนม (Gynecomastia) คือภาวะที่พบบ่อยในผู้ชายและเด็กผู้ชาย โดยมีอาการเต้านมบวมใหญ่ผิดปกติ ผู้ชายและผู้หญิงทุกคนมีต่อมเต้านม แต่ไม่สามารถสังเกตเห็นได้ในผู้ชายเพราะมักจะมีหน้าอกขนาดเล็กและอวัยวะส่วนี้ไม่มีการพัฒนา

การขยายตัวของต่อมเต้านมในเพศชายอาจเกิดได้ทั้งในทารกแรกเกิด, เด็กชายในช่วงวัยแรกรุ่น และชายที่มีอายุมาก

เมื่อเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ กว่า 90 เปอร์เซ็นต์ของภาวะดังกล่าวจะหายไปเอง และจะเกิดขึ้นอีกครั้งตามอายุที่มากขึ้น

ผู้ชายมีนมไม่ได้เกิดกับผู้ที่มีไขมันส่วนเกินอันเนื่องมาจากมีน้ำหนักเกินมากเกินไป ซึ่งสาเหตุเกิดจากปัจจัยต่าง ๆ ต่อเนื้อเยื่อเต้านม การออกกำลังกายหรือลดน้ำหนักจะไม่ทำให้เนื้อเยื่อเต้านมลดลง

ภาวะที่มีไขมันปริมาณมากบริเวณเต้านม (Pseudogynecomastia) เป็นภาวะที่แยกออกจากเงื่อนไขดังกล่าว ซึ่งไขมันสะสมที่หน้าอกอาจเกิดจากการมีน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วน

การศัลยกรรมสำหรับผู้ชายมีนม

เต้านมประกอบด้วยเนื้อเยื่อต่อมต่าง ๆ ซึ่งมีเนื้อแน่นและกระชับ และยังมีเนื้อเยื่อไขมันซึ่งจะมีลักษณะอ่อนนุ่ม

ซึ่งทั้งสองเนื้อเยื่อจะอัตราส่วนแตกต่างกันไปในแต่ละคน ผู้ชายที่เป็นภาวะเต้านมโตอาจมีเนื้อเยื่อทั้งสองชนิดมากเกินไป

การดูดไขมัน (Liposuction) สามารถขจัดเนื้อเยื่อไขมันส่วนเกินได้ ซึ่งงจะต้องสอดท่อขนาดเล็กผ่านรอยผ่าตัด 3 ถึง 4 มิลลิเมตร

การตัดออก (Excision) หมายถึงการตัดเนื้อเยื่อออกด้วยมีดผ่าตัดเพื่อเอาเนื้อเยื่อต่อมส่วนเกินออก โดยปกติจะทิ้งรอยแผลเป็นไว้บริเวณขอบหัวนม

หากจำเป็นต้องลดขนาดเนื้อเยื่อและผิวหนังลงมาก รอยผ่าตัดและแผลก็จะมีขนาดใหญ่ตามไปด้วย

ในผู้ป่วยบางรายจำเป็นต้องทำทั้งวิธีดูดไขมันและการตัดออก

โดยหลังการผ่าตัดหน้าอกจะฟกช้ำและบวม ผู้ป่วยอาจต้องสวมเสื้อผ้ายืดหยุ่นพิเศษเป็นเวลา 2 สัปดาห์เพื่อช่วยลดอาการบวม

โดยปกติจะใช้เวลาประมาณ 6 สัปดาห์ในการกลับสู่ภาวะปกติ ภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดเกิดขึ้นได้ยาก ซึ่งรวมถึงการตัดเนื้อเยื่อเต้านมออกไม่เพียงพอ, รูปร่างหน้าอกที่ไม่เท่ากันและความรู้สึกของหัวนมข้างเดียวหรือทั้งสองข้างลดลง

การตัดออกอาจเสี่ยงต่อการเกิดลิ่มเลือด ซึ่งจำเป็นทำการระบายออก

ทางเลือกในการรักษา

โดยปกติผู้ชายมีนมมักจะหายได้เองโดยไม่ต้องรักษาใด ๆ แต่หากมีอาการผิดปกติอาจต้องได้รับการรักษา

หากอาการเกิดจากยา ผู้ป่วยอาจต้องเปลี่ยนไปใช้ยาอื่น และหากผู้ป่วยใช้ยาในช่วงเวลาสั้นๆ อาการจะเกิดขึ้นเพียงแค่ชั่วคราว

และหากอาการไม่หายภายใน 2 ปีหรือเกิดอาการเจ็บปวดอาจจำเป็นต้องได้รับการรักษา

ซึ่งปกติกรณีต้องได้รับการรักษาเกิดขึ้นได้ยาก โดยตัวเลือกในการรักษามีวิธีต่างๆ ได้แก่ การผ่าตัดลดขนาดหน้าอก หรือการรักษาด้วยฮอร์โมนเพื่อป้องกันผลกระทบจากฮอร์โมนเอสโตรเจน

ยารับสำหรับรักษาผู้ชายมีนม

ทาม็อกซิย์เฟน (Tamoxifen) เป็นยาที่ขัดขวางการทำงานของฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกาย ใช้สำหรับรักษาและป้องกันมะเร็งเต้านม แต่ยังสามารถลดอาการปวดเต้านมและผู้ชายมีนม

สารยับยั้งอะโรมาเทส (Aromatase inhibitors) ที่ใช้ในการรักษามะเร็งเต้านมและมะเร็งรังไข่ในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน สามารถใช้เพื่อป้องกันหรือรักษาผู้ชายมีนม

การเปลี่ยนฮอร์โมนเพศชาย (Testosterone) สามารถรักษาภาวะเต้านมโตในผู้สูงอายุที่มีระดับฮอร์โมนเพศชายต่ำ

สาเหตุของผู้ชายมีนม

มีปัจจัยหลายประการที่นำไปสู่ภาวะดังกล่าว

ซึ่งอาจเกิดจากความไม่สมดุลระหว่างฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนและเอสโตรเจน โดยฮอร์โมนเอสโตรเจนเป็นฮอร์โมนเพศหญิงทำให้เนื้อเยื่อเต้านมเติบโต ในขณะที่ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศชายจะหยุดเอสโตรเจนไม่ให้สร้างเนื้อเยื่อเต้านม

เพศชายและหญิงทุกคนมีทั้งฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนและเอสโตรเจน แต่ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนเกิดขึ้นในสัดส่วนที่สูงกว่าในผู้ชาย ขณะที่ผู้หญิงมีระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนสูงกว่า

อาการหน้าอกบวมเป็นเรื่องปกติในผู้ชายเมื่อเข้าสู่วัยกลางคนและวัยสูงอายุ ผู้ชายที่มีอายุมากกว่าจะสร้างฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนน้อยกว่าและมักมีไขมันมากกว่าผู้ชายที่อายุน้อยกว่า ซึ่งสิ่งนี้อาจส่งผลให้ร่างกายมีการผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนสูงขึ้น

ปัจจัยเสี่ยงอาจรวมถึง:

โดยร้อยละ 10 ถึง 20 ของผู้ป่วยถูกคาดว่าเกิดจากการใช้ยาหรือผลิตภัณฑ์สมุนไพร และร้อยละ 25 เกิดขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุ

ซึ่งนักวิจัยได้พบความเชื่อมโยงที่เป็นไปได้ระหว่างการเกิดของผู้ชายมีนมกับยาผิดกฎหมายหลายชนิด

ยาที่อาจทำให้เต้านมในผู้ชายขยายใหญ่ขึ้น ได้แก่ :

  • อะนาโบลิกสเตียรอยด์ (Anabolic steroids)
  • ยาปฏิชีวนะบางชนิด
  • ยารักษาแผลบางชนิด
  • เคมีบำบัด
  • ยาแก้อาการซึมเศร้า (Tricyclic anti-depressants)
  • ไดอะซีแพม (แวเลียม) [Diazepam (Valium)] และยาอื่น ๆ สำหรับรักษาโรควิตกกังวล
  • ยารักษา HIV บางชนิด รวมถึง เอฟฟาไวเร็นซ์ (Efavirenz) หรือที่เรียกว่า ซุสติว่า (Sustiva)
  • ยาต้านแอนโดรเจน ที่ใช้โดยทั่วไปสำหรับผู้ป่วยมะเร็งหรือต่อมลูกหมากโต
  • ยาสำหรับโรคหัวใจบางชนิด รวมถึงกลุ่มของยาที่มีผลต่อกล้ามเนื้อหัวใจ (Calcium Channel Blockers) และดิจอกซิน (Digoxin)
Gynecomastia

น้ำมันจากต้นชาและผลิตภัณฑ์จากลาเวนเดอร์ซึ่งใช้ในครีมและแชมพูอาจส่งผลกระทบเช่นกันอย่างไรก็ตามการวิเคราะห์และตั้งข้อสังเกตนี้ไม่มีหลักฐานที่สนับสนุนอย่างชัดเจน

สัญญาณและอาการของผู้ชายมีนม

ภาวะดังกล่าวไม่ใช่ปัญหาร้ายแรง แต่การวิจัยแสดงให้เห็นว่าอาจส่งผลต่อความมั่นใจในตนเองซึ่งอาจทำให้เกิดความอับอาย

ซึ่งสิ่งนี้สามารถนำไปสู่ “การขาดสมดุลย์อย่างมีนัยสำคัญในด้านสุขภาพ, สมดุลย์เชิงสังคม, สุขภาพจิต, การนับถือตนเอง, พฤติกรรมการกิน”

ซึ่งหากภาวะอาการยังคงอยู่สามารถทำการรักษาได้

โดยอาการต่างๆ ได้แก่ บวมและกดเจ็บในเนื้อเยื่อบริเวณต่อมเต้านมของข้างเดียวหรือทั้งสองข้าง

ฐานหัวนมซึ่งเป็นบริเวณของผิวหนังที่มีเม็ดสีรอบหัวนมอาจมีเส้นผ่านศูนย์กลางเพิ่มขึ้นและบริเวณหน้าอกอาจมีลักษณะไม่สมส่วน

หากมีอาการบวม, เจ็บ, หรือหัวนมผิดปกติ แหรือมีอาการเหล่านี้ร่วมกันควรไปพบแพทย์

การวินิจฉัยผู้ชายมีนม

แพทย์จะถามเกี่ยวกับอาการ, ประวัติทางการแพทย์, ประวัติการใช้ยา และประวัติครอบครัว ซึ่งอาจต้องตรวจเนื้อเยื่อเต้านม รวมถึงอวัยวะเพศและช่องท้อง

หากสาเหตุที่ปรากฎเกิดจากความไม่สมดุลของฮอร์โมน เช่นในวัยแรกรุ่น แพทย์มักจะแนะนำให้ผู้ป่วยทราบว่าอาการดังกล่าวน่าจะหายเองภายในหนึ่งปี

หากก้อนเนื้อมีขนาดใหญ่ผิดปกติ, กดเจ็บ, แข็ง หรือมีการหลั่งของเหลวออกบริเวณหัวนม อาจสั่งให้มีการตรวจชิ้นเนื้อเพื่อตรวจหามะเร็งเต้านม

การทดสอบเพิ่มเติมเพื่อพยายามกำจัดสาเหตุอื่น ๆ เช่น:

  • ซีสต์

  • ฝีหรือฝีเนื้อร้าย

  • เนื้องอก เช่น เนื้องอกลิโปมา (Lipoma) หรือ เนื้องอกฮามาโตมา (Hamartoma)

  • โรคเต้านมอักเสบ ซึ่งเป็นการอักเสบของเนื้อเยื่อเต้านม

  • ห้อเลือด (Hematoma) บวมเป็นก้อนแข็ง

  • เนื้องอกที่แพร่กระจายซึ่งเป็นมะเร็งที่แพร่กระจายมาจากที่อื่นในร่างกาย

  • การตายของเซลล์ไขมัน (Fat necrosis) หรือก้อนที่เกิดจากความเสียหายของเนื้อเยื่อไขมันที่เต้านม

อาจจำเป็นต้องตรวจเลือด

รวมถึงการทดสอบเพื่อแสดงผลภาพ:

  • แมมโมแกรม (Mammogram) หรืออัลตร้าซาวด์เต้านม

  • เอกซเรย์ทรวงอก

  • CT หรือ MRI สแกน

  • การอัลตร้าซาวด์อัณฑะ

หากจำเป็นต้องตรวจเนื้อเยื่อ จะนำตัวอย่างเซลล์หรือเนื้อเยื่อบริเวณเป้าหมายไปตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์

แนวโน้ม

บ่อยครั้งที่กรณีของผู้ชายมีนมจะหายไปโดยไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษา และหากต้องรักษาก็มักจะประสบความสำเร็จ โดยทั่วไปแล้วภาวะดังกล่าวไม่ได้เชื่อมต่อโยงหรือเกี่ยวข้องกับด้านปัญหาสุขภาพ อย่างไรก็ตามมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในการเป็นมะเร็งเต้านมในผู้ชายที่เป็นภาวะเต้านมโต

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *