ธาตุไอโอดีนคือแร่ธาตุที่จำเป็น ซึ่งนั่นหมายความว่าเป็นสิ่งที่ร่างกายต้องการเพื่อการทำงานที่เหมาะสมและไม่สามารถสร้างขึ้นมาได้ด้วยตนเอง- คุณต้องได้รับผ่านการรับประทานจากอาหารที่มีไอโอดีนหรืออาหารเสริม แม้จะมีอยู่ในอาหารก็จริงแต่ปริมาณนั้นยากที่จะระบุได้ คนส่วนใหญ่ต้องการเกลือที่มีไอโอดีนเพื่อเพียงพอต่อความต้องการ
การพร่องไอโอดีนจะส่งผลทำให้ระดับฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำ ซึ่งก่อให้เกิดโรคไฮโปไทรอยด์ โรคนี้ไม่ใช่ปัญหาทั่วไปเมื่อเกิดขึ้นในทารกและเด็กเล็กมากๆ ภาวะพร่องไอโอดีนสามารถป้องกันได้เพื่อไม่ให้เกิดโรคความบกพร่องทางสติปัญญาและการรู้การเข้าใจในหลายๆส่วนของโลก ไอโอดีนอาจมีบทบาทสำคัญในการทำงานของทางร่างกายอื่นๆนอกเหนือจากเรื่องการผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ แต่ยังไม่มีหลักฐานที่แน่ชัดนัก
ประโยชน์เพื่อสุขภาพที่ได้จากไอโอดีน
ไอโอดีนคือส่วนประกอบที่สำคัญของฮอร์โมนไทรอยด์ ซึ่งเป็นแร่ธาตุที่มีความสำคัญมากที่สุดตัวหนึ่ง ต่อมไทรอยด์จะผลิตไทรอยด์ฮอร์โมนไทรอกซิน (T4) และไตรไอโอไธโรนีน (T3) ซึ่งทั้งสองตัวนี้จะมีไอโอไดด์เป็นส่วนประกอบ (ในรูปของไอโอดีน)
ไอโอดีนบริโภคผ่านการรับประทานและจะถูดดูดซึมอย่างรวดเร็วในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็ก และเดินทางผ่านกระแสเลือด
T4 จะประกอบไปด้วยโมเลกุลไอโอไดด์สี่ตัว ซึ่งเป็นสารตั้งต้นการทำงานของไทรอยด์ฮอร์โมน T3 ซึ่งมีโมเลกุลไอโอไดด์สามตัว ซึ่งนั้นหมายความว่าหลังจากต่อมไทรอยด์ผลิต T4 และปล่อยเข้าสู่กระแสเลือด จากนั้นจะถูกเปลี่ยนไปเป็น T3 ซึ่งจะทำปฏิกิริยากับเซลล์ส่วนใหญ่ของร่างกาย
การทำงานของไทรอยด์ฮอร์โมน T3 จะอยู่ในแทบทุกๆเซลล์และแทบทุกอวัยวะในร่างกายโดยควบคุมการเผาผลาญ การใช้พลังงาน การเจริญเติบโตและการซ่อมแซม
ภาวะพร่องไอโอดีน
ภาวะพร่องไอโอดีนส่วนใหญ่ที่สังเกตเห็นได้มักรวมอยู่ในความผิดปกติการสร้างไทรอยด์ฮอร์โมน ซึ่งจะแสดงอาการมาในโรคไทรอยด์ หากคุณมีระดับไอโอดีนต่ำ อาการที่เกิดจากความผิดปกติของไทรอยด์จะสามารถเกิดขึ้นได้ภายในสองสามสัปดาห์และอาจมีอาการดังต่อไปนี้
ไฮโปไทรอยด์ (ต่อมไทรอยด์ทำงานต่ำ)
ไอโอดีนที่ไม่เพียงพอจะป้องกันร่างกายของเราไม่ให้ได้รับไทรอยด์ฮอร์โมนที่เพียงพอ ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการหลายอย่าง รวมไปถึงน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น พลังงานลดลง นอนไม่หลับ ไม่มีสมาธิ ซึมเศร้า ท้องผูก รู้สึกหนาวตลอดเวลา รอบเดือนผิดปกติและมีปัญหากับระดับน้ำตาลในเลือด
ภาวะไฮโปไทรอยด์ในเด็ก
เด็กที่มีภาวะพร่องไอโอดีนอาจเจออาการเช่นเดียวกันกับผู้ใหญ่ แต่อาจมีอาการเสริมเพิ่มเติม โดยส่งผลต่อการเจริญเติบโตทางร่างกายช้า มีปัญหาด้านอารมณ์ ไม่มีสมาธิและมีปัญหาในการเรียนรู้
ภาวะคอพอก
เมื่อภาวะพร่องไอโอดีนส่งผลทำให้ระดับไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำ ต่อมใต้สมองของเราจะไปกระตุ้นการสร้างฮอร์โมนเพื่อมาทดแทนระดับไทรอยด์ฮอร์โมนที่ต่ำ ต่อมใต้สมองตามปกติจะไปกระตุ้นให้ต่อมไทรอยด์ผลิตและปล่อย T4และ T3 แต่หากมีการไปกระตุ้นต่อมไทรอยด์ที่มากเกินไป เพื่อเป็นการตอบสนองต่อการกระตุ้นนี้จะทำให้ต่อมไทรอยด์เริ่มมีขนาดที่ใหญ่ขึ้น แต่ก็ยังคงไม่สามารถทำงานได้อย่างเหมาะสมเมื่อยังอยู่ในภาวะไอโอดีนไม่เพียงพอ การเปลี่ยนแปลงนี้เองจึงเป็นการทำให้เกิดโรคคอพอก
ภาวะขาดไทรอยด์แต่กำเนิด
ภาวะพร่องไทรอยด์ในทารกคือถูกระบุพบเจอได้ตั้งแต่แรกเกิด โรคนี้อาจเป็นสาเหตุทำให้เด็กทารกมีปัญหาด้านการกิน ความตึงตัวของกล้ามเนื้ออ่อนแอ หรือหัวใจมีปัญหา – บางครั้งอาจไม่ใช่สาเหตุของอาการทั้งหมด ในขณะเดียวกันโรคนี้อาจมีสาเหตุมาจากการที่มารดาบริโภคไอโอดีนต่ำในระหว่างตั้งครรถ์ก็สามารถทำให้เกิดภาวะพร่องไทรอยด์แต่กำเนิดได้ โรคจะดีขึ้นได้หากทารกได้รับไอโอดีนที่เพียงพอจากอาหารหลังการคลอดบุตร แต่หากไม่เป็นเช่นนั้น เด็กก็อาจเกิดความเสี่ยงในการเกิดภาวะการบกพร่องทางการเรียนรู้และการเจริญเติบโตทางร่างกายถูกจำกัดซึ่งเป็นผลมาจากการทำงานของไทรอยด์ที่ไม่มีความเหมาะสม
กอยโตรเจน
ในบางสถานการณ์ ไอโอดีนของคุณอาจไม่ทำงานอย่างที่ควรเป็นหากกอยโตรเจนไปรบกวนการดูดซึมไอโอดีนในต่อมไทรอยด์
กอยโตรเจนคืออาหารและสสารอื่นๆที่ไปรบกวนการดูดซึมในต่อมไทรอยด์ ซึ่งจะไปป้องกันการผลิตไทรอยด์ฮอร์โมนที่เหมะสม
สามารถพบสารกอยโตรเจนได้ในบล็อคโคลี่ กระหล่ำปลี กระหล่ำดอก เคลและสตอเบอรี่ หากคุณมีการทำงานของไทรอยด์ปกติก็ไม่ต้องเป็นกังวลว่าอาหารเหล่านี้จะส่งผลให้เกิดภาวะพร่องไอโอดีน
ผลข้างเคียง
ปกติแล้วการบริโภคไอโอดีนผ่านเกลือผสมไอโอดีนหรือผ่านอาหารนั้นไม่ควรก่อให้เกิดปัญหาใดๆเพราะไอโอดีนที่เกินมาจะถูกขับออกทางปัสสาวะได้อย่างง่ายดาย
แต่อย่างไรก็ตาม คุณสามารถจะมีการบริโภคไอโอดีนเข้าไปมากกว่าที่ร่างกายรับได้ด้วยการใช้อาหารเสริมที่มีไอโอดีนสูงเป็นส่วนนประกอบ การได้รับไอโอดีนเกินเรื้อรังอาจมีส่วนร่วมกับโรคคอพอก โรคไฮเปอร์ไทรอยด์ โรคต่อมไทรอยด์อักเสบและมะเร็งไทรอยด์
ภาวะไทรอยด์เป็นพิษสามารถเกิดขึ้นเป็นผลจากการบริโภคอาหารเสริมไอโอดีนที่มากเกินไป
ภูมิแพ้และความไวต่อไอโอดีน
ภูมิแพ้และความไวต่อการกระตุ้นของไอโอดีนเคยมีรายงานให้พบเห็น การเกิดปฏิกิริยาจากไอโอดีนมีอยู่สามชนิด ความไวต่อผิวหนัง ภูมิแพ้จากการรับประทานไอโอดีน และภูมิแพ้จากการฉีดไอโอดีน
- ความไวต่อผิวหนัง ไอโอดีนชนิดทา (ใช้โดยตรงบนผิวหนัง) อาจเป็นสาเหตุทำให้ผิวหนังเกิดอาการแดงและเจ็บปวด การเกิดปฏิกิริยาจะเกิดขึ้นเองและมักหายไปได้เองภายในไม่กี่ชั่วโมง
- ปฏิกิริยาภูมิแพ้ การเกิดปฏกิริยาภูมิแพ้จากการทานไอโอดีนยังคงเป็นหัวข้อที่ขัดแย้งกันอยู่ การแพ้อาหารทะเลเคยมีคุณลักษณะเป็นไอโอดีนในอดีต แต่ปัจจุบันนี้ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่าการแพ้อาหารทะเลมีสาเหตุมาจากส่วนประกอบอื่นๆในอาหารทะเลไม่ใช่ไอโอดีน
- ไอโอดีนทึบแสง การฉีดสารทึบแสงเพื่อดูภาพในการตรวจมักมีไอโอดีนเป็นส่วนประกอบ บ่อยครั้งจึงพบเห็นคนที่แพ้สารทึบแสงที่ฉีดเข้าร่างกาย แต่อย่างไรก็ตามไอโอดีนที่มีบทบาทสำคัญจากการฉีดสารทึบแสงนังคงเป็นเรื่องที่ไม่ชัดเจน เฉกเช่นเดียวกับเรื่องการกินไอโอดีนจากอาหารทะเล
ปริมาณยาและการเตรียมตัว
ไอโอดีนคือเกลือแกง ที่มีฉลากในชื่อว่า “เกลือผสมไอโอดีน” เด็กและผู้ใหญ่ทุกคนล้วนต้องการการได้รับไอโอดีนเป็นประจำ หญิงตั้งครรภ์มีความต้องการสูงกว่าปกติเพื่อการพัฒนาการของทารก
ปริมาณไอโอดีนที่แนะนำให้บริโภค
- 90-130 ไมโครกรัมต่อวันสำหรับเด็ก (ขึ้นอยู่กับช่วงอายุ)
- 150 ไมโครกรัมต่อวันสำหรับผู้ใหญ่ (และวัยรุ่นอายุ 14-18 ปี)
- 220 ไมโครกรัมต่อวันสำหรับหญิงตั้งครรภ์
การวัดระดับไอโอดีน
ระดีบไอโอดีนไม่สามารถตรวจวัดได้ในเลือด แต่สามารถวัดได้จากในปัสสาวะ
ปัสสาวะที่มีไอโอดีนปกติจะมีไอโอดีนเข้มข้นอยู่ระหว่าง 100 – 200 ไมโครกรัมต่อลิตร หากพบว่าน้อยกว่า 20 ไมโครกรัมต่อลิตรจะถูกจัดว่ามีการบริโภคไอโอดีนที่ไม่เพียงพอ
แหล่งของไอโอดีนคือ:
- เกลือ เกลือผสมไอโอดีนจะมีไอโอดีน 45 ไมโครกรัมต่อหนึ่งกรัม ความเข้ามข้นจะขึ้นอยู่กับโณงงานผู้ผลิต สามารถตรวจสอบได้จากข้อมูลบนฉลากสารอาหาร
- อาหาร ไอโอดีนสามารถพบได้ในอาหารจำพวกอาหารทะเล นม ผักและผลไม้ ปลาและสาหร่ายทะเลก็เป็นแหล่งไอโอดีนที่ดีมากเช่นกัน -ปลาหนึ่งเสริฟ์มีไอโอดีน 90 ไมโครกรัม และสาหร่ายหนึ่งเสร์ฟมีไอโอดีน 200 ไมโครกรัม
- อาหารเสริม วิตามินและสารอาหารหลายชนิดมีไอโอดีนเป็นส่วนประกอบ และคุณสามารถหาปริมาณไอโอดีนได้จากข้อมูลฉลาก หากคุณใช้วิตามินหรืออาหารเสริม ควรแน่ใจว่าแจ้งให้แพทย์ทราบหากคุณมีโรคประจำตัว -ไม่ควรใช้อาหารเสรอมก่อนได้รับคำแนะนำจากแพทย์
การใช้เป็นยา
เมื่อนำมาใช้ในการรักษา แร่ไอโอดีนคือการนำมาใช้ประโยชน์ในจุดประสงค์หลายอย่าง ซึ่งรวมไปถึงการรักษาโรคมะเร็งไทรอยด์หรือคอพอก แร่ไอโอดีนมักถูกนำมาใช้ในการทำลายเนื้อเยื่อไทรอยด์ที่ทำงานมากเกินไปหรือมะเร็งไทรอยด์
การรักษาจะเริ่มด้วยการรับประทานตามใบสั่งแพทย์และต้องมีการเตรียมตัวด้วยการลดการบริโภคไอโอดีนให้ต่ำก่อนการรักษาเป็นเวลาหลายสัปดาห์ แร่ไอโอดีนสามารถเป็นอันตรายต่อผู้อื่นได้ และควรเตรียมการเรื่องป้องกันเพื่อความปลอดภัยของผู้อื่นด้วย ซึ่งรวมไปถึงการปิดช่วงลำคอในระหว่างการรักษาด้วย
สารละลายอโอดีนที่สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายทั่วไปหรือตามแพทย์สั่งมักถูกนำมาใช้เพื่อป้องกันการติดเชื้อ แร่ธาตุชนิดนี้มักถูกนำไปเสริมเพิ่มในยาฆ่าเชื้อใช้ภายนอกและเชื่อว่าสามารถทำลายเชื้อจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดการติดเชื้อด้วยมีความเสี่ยงให้เกิดผลข้างเคียงได้น้อยมาก
ไอโอดีนยังถูกนำมาใช้ในการดูแลก่อนการผ่าตัด ไอโอดีนมีโพวิโดนไอโอดีนเป็นส่วนประกอบ ซึ่งเป็นหนึ่งในการเตรียมตัวล่วงหน้าที่ใช้ในการผ่าตัดเพื่อป้องกันการติดเชื้อ
สิ่งที่ควรระวัง
เพราะว่าเกลือคือแหล่งที่มีไอโอดีนเป็นจำนวนมากและสามารถพบได้ตามธรรมชาติจากอาหารบางชนิด จึงไม่แนะนำให้ใช้อาหารเสริมไอโอดีนเว้นเสียแต่ว่าคุณมีภาวะพร่องไอโอดีนจากการวินิจฉัยจากแพทย์
หากคุณมีความจำเป็นต้องได้รับอาหารเสริมไอโอดีน แพทย์อาจจะสั่งจ่ายให้คุณหรืออาจใช้อาหารเสริมที่สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป และหากเป็นเช่นนั้นให้แน่ใจว่ามีการถามถึงปริมาณที่จำเป็นต้องใช้อย่างแน่นอนจากแพทย์
ภาวะพร่องไอโอดีนพบได้ยากในประะเทศที่มีการใช้เกลือผสมไอโอดีนเป็นประจำ หากคุณมีปัญหาเกี่ยวกับไทรอยด์ คุณอาจต้องทำตามคำแนะนำเพื่อรักษาไอโอดีนต่ำหรือใช้อาหารเสริมไอโอดีน หากคุณเคยมีภาวะพร่องไอโอดีนมาก่อนในอดีต การเฝ้าติดตามระดับไทรอยด์ฮอร์โมนคือวิธีที่ดีที่สุดที่จะรู้ว่าคุณกำลังได้รับไอโอดีนอย่างเพียงพอ
นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา
- https://www.healthline.com/health/iodine-uses
- https://ods.od.nih.gov/factsheets/Iodine-HealthProfessional/
- https://www.webmd.com/vitamins/ai/ingredientmono-35/iodine
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก