โรคลมแดด (Heatstroke) : อาการ สาเหตุ การรักษา

โรคลมแดด (Heatstroke) : อาการ สาเหตุ การรักษา

12.12
1258
0

โดยปกติลมแดดเป็นเป็นอาการที่เกิดขึ้นเมื่อคนเราตากแดดร้อนเป็นเวลานานมากเกินไปหรือทำงาน ออกกำลังกายหรือนั่งอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ร้อนอบอ้าวเกินไป

ลมแดด (Heatstroke) หรือโรคแพ้ลมแดดเป็นอาการที่อันตรายและจำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างรวดเร็วที่สุด เนื่องจากในบางกรณีอาการลมแดดที่เกิดขึ้นสามารถทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้

Heatstroke

ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับโรคลมแดด

นี่คือข้อสรุปใจความสำคัญของโรคลมแดด ส่วนรายละเอียดเพิ่มเติมรวมถึงข้อมูลอื่นๆอยู่ในบทความหลัก

  • โรคลมแดดเป็นโรคที่รุนเเรงและทำให้เสียชีวิตได้ ซึ่งอาการที่เกิดขึ้นได้แก่วิงเวียนศีรษะ อารมณ์เปลี่ยนแปลงและคลื่นไส้อาเจียน 
  • ถ้าหากร่างกายมีอุณหภูมิสูงขึ้นมากกว่า 40 องศาเซลลเซียสและร่างกายไม่สามารถปรับตัวให้มีอุณหภูมิลดลงได้เองหมายถึงเป็นโรคลมแดดได้
  • ผู้ที่มีโอกาสเป็นโรคลมแดดได้แก่เด็กอายุน้อย ผู้ใหญ่และผู้ที่มีน้ำหนักเกิน
  • ผู้ที่มีอาการลมแดดเป็นผู้ที่มีความร้อนในตัวเองหรืออยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีอากาศร้อนมากเกินไป
  • หลักการรักษาอาการลมแดดคือการพยายามทำให้อุณหภูมิของร่างกายลดลง

อาการโรคลมแดด

ถ้าหากผู้ป่วยเกิดรู้สึกร้อนและมีการสูญเสียน้ำและเกลือเเร่ออกจากร่างกายมากเกินไปจนทำให้รู้สึกเหนื่อยและอ่อนเเรงรวมถึงกล้ามเนื้อเป็นตะคริว อาการเหล่านี้หมายถึงโรคเพลียแดด

ถ้าหากร่างกายไม่สามารถรักษาอุณหภูมิร่างกายให้เป็นปกติและมีอุณหภูมิร่างกายสูงขึ้นจนเป็นอันตราย อาการดังกล่าวหมายถึงโรคลมแดด

อาการของโรคลมแดดได้แก่

  • อุณหภูมิร่างกายสูง : ร่างกายมีอุณหภูมิสูงมากขึ้น ซึ่งเป็นอาการหลักของโรคลมแดด
  • อารมณ์เปลี่ยนแปลง : เกิดอาการสับสน ภาวะลมชัก (โดยเฉพาะเด็ก) มีอาการเพ้อ พูดไม่ชัดเพราะลิ้นเเข็ง หงุดหงิด
  • เหงื่อออกผิดปกติ : ภาวะลมแดดเกิดจากอากาศร้อนทำให้ผิวแสบร้อน ซึ่งโรคลมแดดเกิดจากกิจกรรมที่ต้องออกเเรงมากที่ทำให้ผิวสูญเสียความชุ่มชื้น
  • คลื่นไส้และอาเจียน : รู้สึกป่วยหรือต้องการอาเจียน
  • อาการปวดหัว : อาการปวดหัวตุ๊บๆเป็นอาการทั่วไปของโรคลมแดด
  • สีผิวเปลี่ยน : สีผิวเปลี่ยนเป็นสีแดงเมื่อร่างกายมีอุณหภูมิสูงขึ้น
  • มีอาการหายใจสั้นและเร็วขึ้น
  • อัตราการเต้นของหัวใจเร็ว : เมื่ออุณหภูมิของร่างกายเย็นลงแต่หัวใจขยายมากขึ้นจึงทำให้อัตราการเต้นของหัวใจเร็วขึ้น

วิธีการรักษาโรคลมแดด

ผู้ที่เป็นโรคลมแดดจำเป็นต้องทำให้อุณหภูมิภายในร่างกายลดลงให้เร็วที่สุด

หลักการสำหรับการรักษาโรคลมแดดคือการทำให้อุณหภูมิร่างกายของผู้ป่วยลดลงและป้องกับภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ

วิธีการทำให้อุณหภูมิร่างกายลดลงมีหลายวิธีได้แก่

  • การแช่ตัว : ผู้ที่เป็นโรคลมแดดสามารถรับการรักษาที่ทำให้อุณหภูมิร่างกายลดลงได้ด้วยการเช็ดตัวด้วยผ้าชุบน้ำเย็นหรือแช่ตัวในอ่างน้ำเย็น
  • ทำให้ความร้อนระเหยออกจากร่างกายด้วยการใช้น้ำเย็นเช็ดตัวและเปิดพัดลมเย็นเพื่อทำให้ความร้อนระเหยออกจากร่างกาย
  • ใช้ผ้าชุบน้ำเย็นและถุงน้ำแข็ง : ใช้ผ้าชุบน้ำเย็นพันรอบตัวผู้ที่เป็นโรคลมแดด นำถุงน้ำเเข็งวางไว้บริเวณที่เส้นเลือดดำอยู่ใกล้กับผิวหนังมากที่สุดเช่นขาหนีบ รักแร้ คอและหลัง เพื่อทำให้มั่นใจว่าอุณหภูมิของร่างกายสามารถลดลงได้อย่างรวดเร็ว
  • การผ่อนคลายกล้ามเนื้อ : การใช้ยาเช่นกลุ่มยาเบนโซไดอะซีปีนไม่สามารถทำให้อุณหภูมิร่างกายลดลงได้แต่ยาในกลุ่มนี้ช่วยป้องกันอาการหนาวสั่นจากการรักษาด้วยความเย็นได้

โรคลมแดดเป็นอาการที่รุนเเรงและจำเป็นต้องได้รับการรักษานากทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทันที

ในขณะที่รอเข้ารับการรักษาสามารถทำการปฐมพยาบาลคนที่เป็นลมแดดด้วยการเช็ดตัวด้วยน้ำเย็นหรือนำน้ำเย็นให้ดื่มแต่ต้องหลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล

สาเหตุโรคลมแดด

สาเหตุหลักของโรคลมแดดแบ่งออกเป็น 2 ประเภทได้แก่

โรคลมร้อนจากการออกกำลังกาย

หมายถึงโรคลมร้อนที่เกิดจากการทำกิจกรรมที่ต้องออกแรงมากท่ามกลางอากาศร้อนรวมถึงการออกกำลังกาย

โดยส่วนใหญ่โรคลมร้อนจากการออกกำลังกายมักเกิดขึ้นจากร่างกายของผู้ที่เป็นโรคลมร้อนเอง ซึ่งไม่ได้เกิดจากอุณหภูมิที่สูงขึ้น อาการลมแดดที่ทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายเฉียบพลันในระหว่างเล่นกีฬาเป็นอาการที่เป็นอันตรายต่อร่างกายมากกว่าโรคที่เกี่ยวกับหัวใจสิบเท่า 

โรคลมร้อนหรือโรคลมแดดทั่วไป

โรคลมแดดประเภทนี้เป็นอาการที่เกิดขึ้นเมื่อมีการสัมผัสกับสภาพแวดล้อมที่มีอากาศร้อนมากเท่านั้น โรคลมแดดทั่วไปส่วนใหญ่เกิดขึ้นเมื่อสัมผัสกับอากาศที่ความร้อนชื้นสูงเป็นเวลานาน สำหรับผู้ที่กำลังป่วยหรือผู้สูงอายุมีโอกาสเป็นโรคลมร้อนธรรมดาได้มากที่สุด

โรคลมแดดทั้ง 2 ประเภทสามารถมีอาการแย่ลงถ้าหากคนที่เป็นลมแดดสวมเสื้อหลายตัวเกินไปและไม่ดื่มน้ำทดเเทนน้ำที่สูญเสียไปหรือดื่มแอลกอฮอลแทนน้ำ ซึ่งเป็นการทำให้ร่างกายมีอุณหภูมิสุดขึ้น

การฟื้นตัวของร่างกาย

แม้ว่าจุดเริ่มต้นที่เชื่อว่าโรคลมแดดสามารถรักษาได้ ต้องใช้ระยะเวลายาวนานแต่โรคนี้ก็ไม่ได้ทำให้ร่างกายเสียหายในระยะยาว หลังจากการค้นพบคลื่นความร้อนในชิคาโกเมื่อปี 1995 วิธีการรักษาโรคลมแดดอาจไม่จำเป็นสำหรับกรณีนี้

ในช่วงที่เกิดคลื่นความร้อนมีประชากรมากกว่า 600 คนเสียชีวิตภายในเวลาเพียง 9 วันและมีผู้ป่วยมากกว่า 3,000 รายเข้ารับการรักษาในแผนกฉุกเฉิน ทีมนักวิจัยค้นพบว่าผู้ที่ป่วยเป็นโรคลมแดดอย่างรุนเเรงมีโอกาสสูญเสียการทำงานของร่างกายในระยะยาวได้

นอกจากนี้นักวิจัยยังค้นพบว่าจากผู้เข้าร่วมงานวิจัยภายในหนึ่งปี 21 % เสียชีวิตก่อนถึงโรงพยาบาลและผู้ป่วยอีก 28% เสียชีวิตหลังจากถอดเครื่องช่วยหายใจ

หนึ่งในสามของผู้ที่รอดชีวิต “เกิดการสูญเสียการทำงานของอวัยวะภายในร่างกายตั้งแต่ระดับปานกลางไปจนถึงระดับรุนเเรง” ซึ่งไม่มีอาการดีขึ้นหลังจากผ่านไป 12 เดือน

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *