ไวรัสตับอักเสบ ซี (Hepatitis C) คือ โรคตับที่เกิดจาก ไวรัสตับอักเสบ ซี HCV เป็นโรคติดเชื้อไวรัสที่ติดจากเลือด ที่พบบ่อยในสหรัฐอเมริกา
ไวรัสตับอักเสบ ซี คืออะไร
ไวรัสหลายชนิดทำให้ตับอักเสบ ที่พบบ่อยคือ ชนิด เอ บีและ ซี
ไวรัสเหล่านี้จะโจมตีเซลล์ตับ ทำให้บวมและเสียหน้าที่ การอักเสบนานๆทำให้ตับเสียหาย
ไวรัสตับอักเสบ ซีเกิดอย่างเฉียบพลันหรือเรื้อรังก็ได้ หากผู้ป่วยเป็นตับอักเสบเฉียบพลัน อาการจะคงอยู่ได้ถึง 6 เดือน
การติดเชื้อเฉียบพลัน กลายเป็นเรื้อรังได้ หากร่างกายไม่สามารถกำจัดไวรัสได้หมด ซึ่งเกิดบ่อย การอักเสบเฉียบพลันกลายเป็นเรื้อรังได้ถึง 50%
อาการของไวรัสตับอักเสบ ซี
อาการของไวรัสตับอักเสบ ซีมีตั้งแต่เล็กน้อยเป็นเวลาสองสามสัปดาห์ จนถึงอาการหนักและเรื้อรัง
คนทั่วไปป่วยเป็นไวรัสตับอักเสบ ซีโดยไม่มีอาการเลยก็ได้ โดยเฉพาะการป่วยแบบเฉียบพลัน และอาจไม่รู้ตัวเลย จึงติดต่อไปสู่ผู้อื่นได้ง่าย
ไวรัสตับอักเสบ ซี แบบเฉียบพลัน
คนที่เป็นไวรัสตับอักเสบ ซี จะไม่แสดงอาการเลย หรือหากมี อาการจะเริ่มมากขึ้นภายใน 2-12 สัปดาห์หลังได้รับเชื้อ
คนจำนวนน้อยมาก ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นไวรัสตับอักเสบ ซี เนื่องจากไม่ค่อยแสดงอาการ แพทย์จึงมักเรียกโรคนี้ว่า โรคติดต่อเงียบ
อาการจะเหมือนการติดเชื้อไวรัสทั่วไป เช่น:
- มีไข้
- อ่อนเพลีย
- ปวดท้อง
- เบื่ออาหาร
- คลื่นไส้ หรืออาเจียน
- ปัสสาวะสีเข้ม
- อุจจาระสีโคลน
- ปวดข้อ
- ตัวเหลือง ตาเหลือง (พบน้อยมาก)
พบว่าน้อยกว่าครึ่งของผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบ ซี เฉียบพลัน ที่สามารถขับไวรัสออกจากร่างกายได้โดยไม่ต้องรักษาและไม่เกิดอาการเรื้อรัง
ไวรัสตับอักเสบ ซี เรื้อรัง
อาการเรื้อรังเกิดขึ้นเมื่อร่างกายไม่สามารถกำจัดไวรัสออกไปได้
ในผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ ซีมักไม่มีอาการ หรืออาจมีอาการทั่วๆไปเช่น อ่อนเพลียหรือซึมเศร้า จึงมักจะพบเมื่อตรวจเลือดตามปกติหรือตรวจเพื่อบริจาคโลหิต
การวินิจฉัยและรักษาให้เร็ว จะช่วยป้องกันความเสียหายของตับได้ หากไม่รักษา ตับอักเสบเรื้อรังจะนำไปสู่ :
- โรคตับเรื้อรัง ซึ่งจะค่อยเป็นค่อยไป ใช้เวลาเป็นสิบๆปีโดยไม่มีอาการใดๆ
- ตับแข็ง ซึ่งจะเกิดได้ในผูป่วยราว 20% เมื่อเวลาผ่านไป 20-30 ปี
- ตับวาย Liver failure
- มะเร็งตับ
สาเหตุและปัจจัยเสี่ยง
สาเหตุเกิดจากไวรัสตับอักเสบ C
การติดต่อ ติดต่อจากเลือดที่มีเชื้อไวรัสสู่เลือดของผู้รับ เลือดปริมาณน้อยมากจนมองไม่เห็น มีเชื้อไวรัสหลายร้อยตัว และฆ่าไม่ได้ง่ายๆ
การต้ม เผาและฆ่าเชื้อด้วยแอลกอฮอล์อาจช่วยลดจำนวนไวรัส แต่ยังทำให้เกิดการติดเชื้อได้ ไม่แนะนำให้ใช้หลอดฉีดยาและเข็มฉีดยาซำ้
ไวรัสชนิดนี้ไม่ติดต่อทางการสัมผัส หายใจรดกัน จูบ กินอาการจากภาชนะเดียวกัน หรือถูกยุงกัด
ปัจจัยเสี่ยง เช่น:
- ใช้ยาเสพติดชนิดฉีด
- ได้รับเลือดหรือการปลูกถ่ายอวัยวะ ก่อนปี 1992 (ก่อนเริ่มการตรวจไวรัสไวรัสตับอักเสบ ซีในเลือดหรืออวัยวะที่ได้รับจากผู้บริจาค)
- ถูกเข็ม(ที่ใช้แล้ว)แทง ซึ่งพบบ่อยในผู้ที่ทำงานในโรงพยาบาล
- เกิดจากมารดาที่ติดเชื้อตับอักเสบ C
แม้ว่าความเสี่ยงจะน้อย แต่คนอาจติดเชื้อได้จาก:
- การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน โดยเฉพาะเพศสัมพันธ์ที่รุนแรงและทางทวารหนัก ทำให้มีโอกาสที่จะติดเชื้อจากเลือดสู่เลือด
- ใช้สิ่งของ(ที่อาจมีเลือดติด)ร่วมกัน เช่น มีดโกน หรือแปรงสีฟัน
- การฉีดยา (ที่ใช้เครื่องมือไม่สะอาด)
- การสักผิวหนังที่ไม่ได้มาตรฐาน
ผู้ที่คิดว่าตนมีความเสี่ยง ควรไปตรวจเลือด
การรักษาไวรัสตับอักเสบ ซี
การรักษาสมัยใหม่ ช่วยรักษาไวรัสตับอักเสบ ซีได้เกือบทุกราย การรักษาใช้ยาต้านไวรัสชนิดผสมผสาน นาน 8-24 สัปดาห์
การใช้ยาต้านไวรัสที่ออกฤทธิ์โดยตรง (DAAs) สามารถรักษาได้ทั้งชนิดเฉียบพลันและเรื้อรัง โดยการออกฤทธิ์ไม่ให้ไวรัสสืบพันธุ์ เช่น:
- Elbasvir/grazoprevir (Zepatier)
- Glecaprevir and pibrentasvir (Mavyret)
- Ledipasvir/sofosbuvir(Harvoni)
- Peginterferon alfa-2a (Pegasys)
- Sofosbuvir (Sovaldi)
การเลือกใช้ยาและเวลาที่ใช้รักษา ขึ้นกับสายพันธุ์ของไวรัส
คนติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ ซีได้มากกว่าหนึ่งครั้งในชีวิต หากรักษาหายดีแล้ว ผู้นั้นควรต้องมีการป้องกันการติดเชื้อซ้ำ
ป้องกันการติดต่อ
ด้วยมาตรการดังนี้:
- ผู้ที่ใช้ยาเสพติดชนิดฉีด ไม่ควรใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน
- ใส่ถุงมือเมื่อจะสัมผัสแผลเปิดของผู้อื่น
- หากท่านมีเชื้อไวรัสไวรัสตับอักเสบ ซีและจะสักหรือเจาะผิวหนัง ต้องบอกให้ผู้สักหรือเจาะใช้เครื่องมือที่ฆ่าเชื้อแล้ว และใช้หมึกสักขวดใหม่
- ไม่ใช้ แปรงสีฟัน มีดโกน และกรรไกรตัดเล็บร่วมกัน
- แจ้งให้คู่นอนทราบว่าท่านมีเชื้อไวรัสไวรัสตับอักเสบ ซีและมีเพศสัมพันธ์โดยใช้ถุงยางอนามัย
นี่คือที่มาในแหล่งบทความของเรา
- https://www.cdc.gov/hepatitis/hcv/index.htm
- https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/hepatitis-c/symptoms-causes/syc-20354278
- https://www.nhs.uk/conditions/hepatitis-c/
- https://www.healthline.com/health/hepatitis-c
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก