การสะอึก (Hiccup) เป็นการหดตัวอย่างกะทันหัน หรือที่เรียกว่า การกระตุกของกล้ามเนื้อกะบังลม เมื่อกล้ามเนื้อกระตุก เส้นเสียงจะได้รับผลกระทบทำให้เกิดเสียงสะอึก
การสะอึกเกิดจากอะไร
อาการสะอึกเป็นการหดตัวของกล้ามเนื้อกะบังลมโดยไม่ได้ตั้งใจ หรือกระตุกอย่างกะทันหัน เมื่อกล้ามเนื้อกระตุก ส่วนใหญ่ไม่มีสาเหตุที่แน่ชัดสำหรับการสะอึก อย่างไรก็ตาม มีสาเหตุทั่วไปบางอย่างที่ทำให้การสะอึกเกิดขึ้น โดยสาเหตุบางอย่างมีดังนี้
- รับประทานเร็วเกินไป
- กลืนอากาศพร้อมกับอาหาร
- ดื่มเครื่องดื่มอัดลม หรือแอลกอฮอล์มากเกินไปทำให้กระเพาะระคายเคือง รวมทั้งกระบังลม ส่งผลให้สะอึกได้
- โรค หรือความผิดปกติใดๆ ที่ทำให้เส้นประสาทที่ควบคุมกระบังลมมีปัญหา (เช่น โรคตับ โรคปอดบวม หรือโรคปอดอื่นๆ)
- การผ่าตัดช่องท้องอาจทำให้เส้นประสาทที่ควบคุมกระบังลมเกิดอาการสะอึก
- โรคหลอดเลือดสมอง หรือเนื้องอกในสมองที่เกี่ยวกับก้านสมอง และความผิดปกติทางการแพทย์เรื้อรัง เช่น ภาวะไตวาย ทำให้เกิดอาการสะอึกได้
- ควันพิษสามารถกระตุ้นให้เกิดอาการสะอึกได้
- อุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงกะทันหัน
- อยู่ในภาวะกลัว หรือตื่นเต้น
ยารักษาโรคบางชนิดที่ทำให้เกิดอาการสะอึกได้แก่
- ยารักษากรดไหลย้อน
- เบนโซไดอะซีพีน เช่น Diazepam (Valium), Alprazolam (Xanax) และ Lorazepam (Ativan)
- Levodopa, Nicotine และ Ondansetron (Zofran)
อาการสะอึกแบบไหนที่ต้องไปหาหมอ
อาการสะอึกส่วนใหญ่สามารถหายได้เองในระยะเวลาอันสั้น และไม่ค่อยจะเป็นกรณีฉุกเฉินทางการแพทย์ แต่ควรไปพบแพทย์หากอาการสะอึกเป็นเวลานานกว่า 3 ชั่วโมงต่อเนื่อง หรือหากอาการสะอึกรบกวนชีวิตประจำวัน เช่น การรับประทานอาหาร และการนอนหลับ เป็นต้น
วิธีแก้สะอึก
เราสามารถแก้สะอึกได้เองที่บ้าน
มีวิธีแก้อาการสะอึกที่บ้านด้วยตัวเองจำนวนมากมาย คุณสามารถลองใช้วิธีการเหล่านี้ที่บ้าน เพื่อกำจัดอาการสะอึก วิธีการที่ทำให้ร่างกายกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ไว้ซึ่งคิดว่าจะผ่อนคลาย และหยุดอาการกระตุกของกระบังลมซึ่งทำให้เกิดอาการสะอึก
- กลั้นหายใจนานๆ
เทคนิคที่กระตุ้นช่องจมูก และเส้นประสาทวากัสที่สามารถลดอาการสะอึกได้มีดังนี้
- ดื่มน้ำ 1 แก้วอย่างรวดเร็ว
- อาจจะข่มขู่เด็กๆ ให้เลิกสะอึก
- ดึงลิ้นออกแรงๆ
- เคี้ยวมะนาว
- กลั้วคอด้วยน้ำมากๆ
- ดมกลิ่นเกลือ
- ใช้น้ำตาล ½ ช้อนชา บนหลังลิ้นของคุณ ทำซ้ำแบบนี้ 3 ครั้ง ห่างกัน 2 นาที ในเด็กสามารถใช้ไซรัปหรือน้ำเชื่อมแทนได้
ยาแก้สะอึกมีไหม
อาการสะอึกส่วนใหญ่จะสามารถหยุดได้เอง การเยียวยาที่บ้านโดยทั่วไปก็เพียงพอแล้ว แต่สำหรับอาการสะอึกอย่างต่อเนื่อง (นานกว่า 3 ชั่วโมง) แพทย์จะทำการวินิจฉัยดังต่อไปนี้
- “การสะอึก” คือ มีอาการสะอึกที่กินเวลานานถึง 48 ชั่วโมง
- “สะอึกเรื้อรัง” คือ มีอาการสะอึกที่กินเวลาต่อเนื่องนานกว่า 48 ชั่วโมง – 1 เดือน
- “สะอึกเรื้อรังรุนแรง” คือ มีอาการสะอึกที่กินเวลานานกว่า 1 เดือน
แพทย์อาจจะสั่งยาสำหรับอาการสะอึกเรื้อรังที่รุนแรง โดย Chlorpromazine (Thorazine) เป็นยาหลักที่กำหนดไว้สำหรับการสะอึก สำหรับยาอื่น ๆ ที่ใช้ในการรักษาอาการสะอึก ได้แก่ Haloperidol (Haldol) และ Metoclopramide (Reglan)
ยาคลายกล้ามเนื้อ ยาระงับประสาท ยาแก้ปวด และยากระตุ้นบางชนิดก็มีสามารถช่วยบรรเทาอาการสะอึกได้
สำหรับกรณีที่รุนแรงมากจำเป็นการผ่าตัดเส้นประสาท Phrenic (เส้นประสาทที่ควบคุมกระบังลม) แต่วิธีนี้จะใช้ก็ต่อเมื่อแพทย์พิจารณาแล้วว่าไม่สามารถรักษาด้วยวิธีอื่นๆ ข้างต้นได้
สรุปอาการสะอึก
อาการสะอึก (Hiccup) ส่วนใหญ่จะสามารถหยุดได้เอง ด้วยการดูแลตัวเองเบื้องต้น แต่หากไม่สามารถหายได้ภายใน 3-4 ชม. ควรไปพบแพทย์ เพื่อรับการรักษาด้วยยา หรือวิธีการอื่นๆ ที่เหมาะสม
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก