อาการเสียงแหบ (Hoarseness) คืออาการอย่างหนึ่งซึ่งไม่ใช่โรคภัยไข้เจ็บแต่อธิบายถึงลักษณะของเสียงที่ผิดปกติไป เมื่อเกิดอาการเสียงแหบ เสียงอาจฟังดูแหบพร่า เหมือนมีเสียงหายใจแทรกหรือระดับเสียง (ความดัง) หรือระดับเสียง (เสียงสูงหรือต่ำ) เปลี่ยนแปลงไป การเปลี่ยนแปลงของเสียงมักเกิดจากความผิดปกติของเส้นเสียงซึ่งเป็นอวัยวะที่สร้างเสียงในกล่องเสียง
อาการเสียงแหบเกิดจากหลายสาเหตุ กรณีส่วนใหญ่ไม่ร้ายแรงและมักหายไปเองในช่วงเวลาสั้น ๆ หากเสียงแหบยังเกิดขึ้นนานกว่าสองสัปดาห์ แนะนำให้พบแพทย์ทันที อาการเสียงแหบอย่างต่อเนื่องอาจเป็นสัญญาณเตือนของมะเร็งกล่องเสียง แต่อย่างไรก็ตาม อาจจะไม่เป็นเช่นนั้นเสมอไป
อาการเสียงแหบมีสาเหตุมาจากอะไร
-
โรคหวัดหรือการติดเชื้อไวรัสทางเดินหายใจส่วนบน
-
การใช้เสียงมากเกินไป: เมื่อใช้เสียงมากเกินไปหรือดังเกินไปบ่อย ๆ และเป็นระยะเวลานาน
-
กรดไหลย้อนในกระเพาะอาหาร: เมื่ออาการกรดในกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นมาที่หลอดอาหารและทำให้เส้นเสียงเกิดการระคายเคือง
-
การสูบบุหรี่
-
โรคภูมิแพ้ ปัญหาต่อมไทรอยด์ ความผิดปกติของระบบประสาท โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์และการบาดเจ็บที่กล่องเสียง
แพทย์วินิจฉัยอาการเสียงแหบอย่างไร
แพทย์จะทำการซักประวัติผู้ป่วยโดยละเอียด โดยเฉพาะเรื่องอาการเสียงแหบและสุขภาพโดยทั่วไป
จากนั้น แพทย์จะทำการตรวจกล่องเสียงและเนื้อเยื่อรอบ ๆ โดยใช้กระจกหรือเครื่องส่องตรวจกล่องเสียง ซึ่งเป็นเครื่องมือที่มีความยืดหยุ่นขนาดเล็กส่องบริเวณด้านในลำคอ
จากนั้น แพทย์จะประเมินคุณภาพเสียง:
-
เสียงพูดมีลมหายใจแทรกอาจบ่งบอกถึงการทำงานของสายเสียงที่ไม่ดีซึ่งอาจเกิดจากการมีเนื้องอกชนิดไม่รุนแรงอยู่หรือมีมะเร็งกล่องเสียง
-
เสียงแหบพร่าอาจบ่งบอกถึงความหนาของสายเสียงเนื่องจากเกิดการบวม การอักเสบจากการติดเชื้อ สารเคมีระคายเคือง การใช้เสียงมากเกินไปหรือเส้นเสียงเป็นอัมพาต
-
เสียงสูงและสั่น หรือเสียงเบาอาจบ่งบอกถึงปัญหาในการหายใจเอาอากาศเข้าไม่พอ
แพทย์อาจให้ผู้ป่วยเข้ารับการทดสอบในห้องปฏิบัติการ เช่น การตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจ การเอ็กซเรย์หรือการตรวจการทำงานของต่อมไทรอยด์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับผลการตรวจร่างกาย
การรักษาอาการเสียงแหบ
การรักษาอาการเสียงแหบจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับภาวะที่ทำให้เกิดอาการเสียงแหบ
-
เสียงแหบส่วนใหญ่สามารถรักษาให้หายได้โดยการหยุดใช้เสียงหรือปรับเปลี่ยนวิธีใช้เสียง
-
หากการสูบบุหรี่เป็นสาเหตุของอาการเสียงแหบ แพทย์อาจแนะนำให้หยุดสูบบุหรี่ รวมทั้ง งดใช้เสียง
-
สำหรับผู้ป่วยทุกราย แพทย์จะแนะนำให้เลี่ยงการสูบบุหรี่หรือสัมผัสกับควันบุหรี่มือสอง และแนะนำให้ดื่มของเหลวมาก ๆ
-
นอกจากนี้ แพทย์อาจแนะนำให้ทำการผ่าตัดหากมีก้อนหรือติ่งที่เส้นเสียง
อาการเสียงแหบป้องกันได้อย่างไร
-
ถ้าสูบบุหรี่อยู่ ให้เลิกสูบบุหรี่
-
เลี่ยงการใช้สารที่ทำให้ร่างกายขาดน้ำ เช่น แอลกอฮอล์และคาเฟอีน
-
หลีกเลี่ยงสัมผัสกับ “ควันบุหรี่มือสอง”
-
ดื่มน้ำมาก ๆ
-
ทำให้บ้านให้ชื้น
-
ระวังเรื่องอาหาร เช่น เลี่ยงอาหารรสจัดและแอลกอฮอล์
-
พยายามอย่าใช้เสียงนานเกินไปหรือดังเกินไป
-
ขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญหากเกิดอาการเสียงแหบ
นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก