แผลพุพองคืออะไร
แผลพุพอง สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน แต่มักพบในเด็กและทารกมากกว่าผู้ใหญ่ที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่ผิวหนังอย่างรุนแรง โดยสัญญาณ อาจจะเป็นตุ่มคันเล็กๆ หรือตุ่มน้ำใส โดยตุ่มใสนี้อาจจะเกิดได้ตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น ใบหน้า มือ และเท้า เมื่อเกิดพุพองขึ้น แผลพุพองจะแตกออกในที่สุด และหลังจากนั้นจะตกสะเก็ดสีน้ำตาลหรือสีเหลือง
เมื่อเกิดแผลพุพองตามร่างกายอาจดูน่ากลัว และไม่สวยงามนัก แต่ก็ไม่ได้ทำให้เกิดอาการเจ็บปวดเสมอไป และหากได้รับการรักษาที่ถูกวิธี
อาการของโรคแผลพุพอง
อาการของโรคแผลพุพองจะแตกต่างกันไปตามประเภทที่เกิดขึ้น ดังนี้
แผลพุพองแบบไม่นูน
- มีแผลที่ผิวหนังอย่างน้อยหนึ่งแผลและแพร่กระจายไปยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกายได้
- มีอาการคัน แสบ แดง
- บวม
- สะเก็ดแผลจะเป็นสีเหลือง หรือสีน้ำตาล
แผลพุพองเป็นน้ำใส ๆ
- ตุ่มน้ำพองขนาดใหญ่ โดยเฉพาะที่ลำตัวและก้น
- เปลือกผิวสีเข้ม
แผลพุพองชนิด Ecthyma
- แผลพุพองที่มีอาการเจ็บปวด
- สะเก็ดหนา
- ทิ้งแผลเป็นภายหลัง
แม้ว่าพุพองจะหายไปเองภายในสองถึงสี่สัปดาห์ แต่ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการรักษาเนื่องจากแผลพุพองเป็นโรคติดต่อทางผิวหนัง
เป็นแผลพุพองหรืออย่างอื่น
แพทย์ผิวหนังสามารถวินิจฉัยโรคแผลพุพองได้ด้วยการดูผิวหนัง การเก็บตัวอย่างยังสามารถช่วยแยกแยะแผลพุพองกับโรคอื่น ๆ ได้
แผลหรือพุพองบางครั้งอาจเป็นรอยโรคอื่น ๆ
แต่รอยโรคเหล่านี้อาจเกิดจากปัญหาผิวอื่นๆเช่น
- หิด
- โรคอีสุกอีใส
- แผลเย็น
- ภูมิแพ้ผิวหนัง
- กลาก
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ โรคกลากเกลื้อน
สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของแผลพุพอง
แผลพุพองมีสาเหตุมาจากทั้ง เชื้อ Staphylococcus aureus เชื้อแบคทีเรียซึ่งอาจทำให้เกิด การติดเชื้อ Staph หรือโรคคออักเสบ แบคทีเรียกลุ่ม Streptococcus
แบคทีเรียสามารถเข้าสู่ผิวหนังผ่านการบาดเจ็บและติดเชื้อที่ผิวหนังชั้นนอกได้
การบาดเจ็บที่ผิวหนังทุกประเภททำให้คุณเสี่ยงต่อการเป็นแผลพุพอง ซึ่งรวมถึงการบาดเจ็บเล็กน้อย เช่น รอยถลอกหรือบาดแผล มีแมลงกัดยังเพิ่มความเสี่ยงของการพุพองได้อีกด้วยเช่นกัน
โรคนี้ติดต่อได้ง่ายโดยการสัมผัสทางผิวหนัง หรือใช้ของเล่น ผ้าปูที่นอน และผ้าขนหนูร่วมกัน ดังนั้นหากลูกบ้านไหนมีแผลพุพอง ควรงดให้ไปโรงเรียนหรือสถาณรับเลี้ยงเด็ก
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ แมลงสัตว์กัดต่อย
การรักษาแผลพุพอง
การรักษาโรคแผลพุพองจะขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค
ครีมทาเฉพาะที่
กรณีที่อาการไม่รุนแรงมากนักสามารถใช้ครีมที่มีส่วนผสมของยาปฎิชีวนะเฉพาะที่ทาบริเวณแผลพุพอง เช่น
- Bactroban (Mupirocin )
- Altabax (Retapamulin)
- Ozenoxacin
Retapamulin สามารถใช้ได้ในเด็กตั้งแต่อายุ 9 เดือน
Mupirocin สามารถใช้ได้ในผู้ใหญ่และเด็กอายุ 12 ปีขึ้นไป Ozenoxacin สำหรับผู้ใหญ่และเด็กอายุ 2 เดือนขึ้นไป
ยาปฏิชีวนะชนิดรับประทาน
เด็กหรือผู้ใหญ่ที่มีแผลพุพองลุกลามและแพร่กระจาย อาจต้องใช้ยาปฏิชีวนะชนิดรับประทานร่วมด้วย
ยาปฏิชีวนะที่ใช้รักษาโรคพุพองได้แก่:
- Augmentin
- Dycill (Dicloxacillin)
- Keflex (Cephalexin)
- Cleocin (Clindamycin)
- Oracea, Doryx, Monodox, Periostat หรือ Vibramycin (Doxycycline)
- Minocin, Solodyn หรือ Dynacin (minocycline)
- Bactrim (Trimethoprim และ Sulfamethoxazole)
- Macrolides
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก