

โรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง (Inflammatory Bowel Disease :IBD) คือ ภาวะความผิดปกติเรื้อรัง รวมถึงการอักเสบของทางเดินอาหาร หรือลำไส้
บทความนี้กล่าวถึงประเภทของโรคลำไส้อักเสบ และความแตกต่างระหว่างโรคลำไส้แปรปรวนกับโรคนี้ รวมทั้ง อาการ สาเหตุ และการรักษา
ประเภทของลำไส้อักเสบเรื้อรัง
โรคลำไส้อักเสบเรื้อรังที่พบบ่อยมีสองประเภทคือ โรคลำไส้ใหญ่อักเสบ และ โรคโครห์น
โรคลำไส้ใหญ่อักเสบ
โรคนี้เกิดจากการอักเสบในลำไส้ใหญ่ มีหลายระดับขึ้นอยู่กับส่วนของลำไส้ใหญ่ที่อักเสบและความรุนแรง
- ลำไส้ตรงอักเสบ เกิดเมื่อมีการอักเสบที่ลำไส้ตรง เป็นอาการลำไส้อักเสบที่รุนแรงน้อยที่สุด
- Universal colitis, or pancolitis: เกิดเมื่อการอักเสบลามไปทั้งลำไส้ใหญ่
- Proctosigmoiditis: เกิดเมื่อลำไส้ตรงและส่วนปลายล่างของลำไส้ใหญ่มีการอักเสบ
- Distal colitis: เกิดเมื่อมีการอักเสบจากลำไส้ตรงขึ้นไปถึงลำไส้ใหญ่ฝั่งซ้าย
- Acute severe ulcerative colitis: เกิดจากการอักเสบทั้งลำไส้ ใหญ่ ทำให้เกิดอาการรุนแรงและปวดมาก พบไม่บ่อยนัก
โรคโครห์น
โรคโครห์น (Cohrn’s disease) สามารถเกิดได้ทุกที่ในทางเดินอาหารระหว่างปากไปจนถึงรูทวาร แต่มักเกิดบ่อยที่ส่วนท้ายของลำไส้เล็กต่อกับลำไส้ใหญ่ มักเกิดเมื่ออายุ 20 -29 ปี
ประเภทอื่นๆ
หานแพทย์ไม่สามารถแยกประเภททั้งสองได้ จะเรียกเป็น “indeterminate colitis” (ไม่แน่นอน)
ลำไส้อักเสบเรื้อรังชนิดอื่นๆ เช่น lymphocytic colitis and collagenous colitis.
สาเหตุของโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง
อาจมีหลายสาเหตุที่ก่อให้เกิดโรค เช่น ระบบภูมิคุ้มกันตอบสนองผิดปกติต่อแบคทีเรีย ไวรัส หรืออาหาร กระตุ้นให้เกิดอาการอักเสบในลำไส้
งานวิจัยพบว่าเอสเชอริเชีย โคไล (Escherichia coli or E.Coli) มีส่วนเกี่ยวข้องกับโรคลำไส้อักเสบ
แม้ว่ายังไม่พบสาเหตุแน่ชัด แต่มีปัจจัยบางอย่างที่ทำให้เกิดความเสี่ยงสูงในการเกิดโรค
อาการของโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง
อาการจะต่างไปขึ้นอยู่กับประเภท จุดที่เกิด และความรุนแรง
ผู้ป่วยอาจรู้สึกว่าบางช่วงอาการเลวลง และบางช่วงที่ไม่มีอาการหรือมีน้อย ช่วงที่อาการเลวลงจะแตกต่างกันไปตามปริมาณ ความรุนแรง และช่วงเวลาที่เกิด
อาการของลำไส้อักเสบสองประเภทหลักมีดังต่อไปนี้
อาการอื่นๆที่เกิดขึ้นนอกเหนือจากระบบย่อยอาหาร
- ไข้
- ปวดตามข้อ
- โรคผิวหนัง
โรคลำไส้อักเสบอาจทำให้ผลกระทบจากประจำเดือนหนักขึ้น และอาการของโรคอาจแย่ลงในช่วงมีประจำเดือน ทั้งยังเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะขาดธาตุเหล็กในเพศหญิงอีกด้วย
การรักษาโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง
ปัจจุบันยังไม่มีแนวทางรักษาให้หายขาด แนวทางการรักษาคือ บรรเทาอาการและป้องกันภาวะแทรกซ้อน
การรักษาที่นิยมใช้คือ ใช้ยา และ ผ่าตัด
ยา
แพทย์อาจสั่งยาบางชนิดเพื่อรักษาโรค เริ่มจากยาที่ไม่รุนแรงจนถึงยาที่แรงขึ้น มีดังนี้
- ยาต้านอาการอักเสบ: มักเริ่มด้วย 5-ASA เพื่อลดอาการอักเสบในลำไส้ อาจช่วยทำให้โรคบรรเทาลงด้วย
- คอร์ติโคสเตอรอยด์ : แพทย์อาจสั่งยาต้านอาการอักเสบที่ออกฤทธิ์เร็ว หากยาที่อ่อนกว่าไม่ได้ผล ผู้ป่วยควรใช้ยาแค่ในช่วงระยะสั้นเพื่อรักษาในช่วงที่อาการเลวลง หากใช้ยาต้านอักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์เป็นเวลานานอาจทำให้อาการแย่ลงเช่นกัน
- ยากดภูมิคุ้มกัน: ทำงานโดยหยุดภูมิคุ้มกันไม่ให้ทำร้ายเซลล์ลำไส้ ทำให้อาการอักเสบลดลง แต่ใช้เวลาประมาณสามเดือนกว่าจะออกฤทธิ์และอาจทำให้เกิดผลข้างเคียง เช่น มีโอกาสติดเชื้อเพิ่มขึ้น
- รักษาทางชีวภาพ ใช้แอนตี้บอดี้เพื่อจัดการกับสารที่ทำให้เกิดการอักเสบในร่างกาย
ยาอื่นๆที่ช่วยบรรเทาอาการ มีดังนี้
- ยาปฏิชีวนะ
- ยาแก้ท้องเสีย
- ยาถ่าย
- วิตามินและเกลือแร่เสริม ในกรณีที่เกิดจากการขาดวิตามิน
การผ่าตัด
ในบางกรณีผู้ป่วยอาจต้องได้รับการผ่าตัด เช่น ผ่าตัดเพื่อให้ขยายลำไส้ หรือ ปิดรูในลำไส้
ผู้ป่วยลำไส้อักเสบอาจต้องเข้ารับการผ่าตัดเพื่อเอาลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรงออก ผู้ป่วยโรคโครห์นอาจต้องผ่าเอาบางส่วนของลำไส้ออก
วิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป
อาหารบางอย่างหรือแนวทางการใช้ชีวิตอาจทำให้อาการแย่ลง แต่หากเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตสามารถช่วยให้จัดการกับอาการได้ ไม่ทำให้แย่ลง และทำให้โรคสงบ
อาหาร
อาหารบางอย่างมีประโยชน์ต่อผู้ป่วย เช่น
- ทำบันทึกอาหารที่รับประทาน เพื่อสังเกตว่ามีอาหารชนิดใดทำให้เกิดอาการ
- ลดการกินผลิตภัณฑ์จากนม
- ลดอาหารที่มีไขมันสูง
- หลีกเลี่ยงหรือลดอาหารที่มีรสจัด มีคาเฟอีน และแอลกอฮอล์
- ลดอาหารที่มีไฟเบอร์สูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากลำไส้ตีบแคบ
- รับประทานอาหารมื้อเล็กๆ บ่อยๆ แทนอาหารมื้อใหญ่
- ดื่มน้ำมากๆ
- รับประทานวิตามินและเกลือแร่เสริมเพื่อป้องกันการขาดสารอาหาร
สรุป
ถึงแม้ว่าปัจจุบันยังไม่มีแนวทางการรักษาหายขาด แต่สามารถจัดการกับอาการโดยวิธีการทางการแพทย์และเปลี่ยนแปลงแนวทางการใช้ชีวิต
พบว่า 50 เปอร์เซ็นต์ของผู้ที่ป่วยเป็นโรคโครห์น หากรักษาได้ผล โรคจะสงบลงหรือมีอาการเพียงเล็กน้อย ภายใน 5 ปี
หากโรคสงบลงได้ ผู้ป่วย 45 เปอร์เซ็นต์ จะไม่กลับไปป่วยอีกในปีถัดไป
อาการแทรกซ้อนที่ทำให้ถึงแก่ชีวิตนั้นเกิดขึ้นยาก ผู้ที่ป่วยเป็นโรคโครห์นมีอัตราการเสียชีวิตมากกว่าผู้ที่ไม่เป็นโรคเพียงนิดเดียว ผู้ที่มีอาการน้อยหรือปานกลางไม่ได้มีอัตราการเสียชีวิตมากกว่าผู้ที่ไม่ป่วยเลย
ควรปรึกษาแพทย์ หากมีการเปลี่ยนแปลงของระบบลำไส้หรือมีอาการของโรคลำไส้อักเสบ
นี่คือที่มาในแหล่งบทความของเรา
- https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/inflammatory-bowel-disease/symptoms-causes/syc-20353315
- https://www.healthline.com/health/inflammatory-bowel-disease
- https://www.webmd.com/ibd-crohns-disease/inflammatory-bowel-syndrome
- https://www.nhs.uk/conditions/inflammatory-bowel-disease/
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก