ชีส (Cheese) คือ แหล่งของแคลเซียมและโปรตีนที่ดีเยี่ยม แต่ก็มีไขมันอิ่มตัวและโซเดียมสูงเช่นกัน ดังนั้นควรรีบประทานชีสมากหรือน้อยอย่างไรดี
ชีสถูกเสนอให้เป็นอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ แต่อย่างไรก็ตามตัวเลือกเพื่อสุขภาพนี้ก็ขึ้นอยู่กับชนิดและปริมาณของชีสแต่ละประเภทที่บริโภคด้วย
ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับชีส:
- ชีสมีเป็นพันชนิด กลิ่นผสมอาหารชีสไม่ถือว่าเป็นหนึ่งในชีส
- ชีสหลายชนิดมีปริมาณโซเดียมและไขมันสูง ซึ่งอาจมากเกินไปและเป็นข้อเสีย
- ชีสที่โซเดียมต่ำ ไขมันต่ำ เป็นแบบธรรมชาติสามารถเป็นอาหารที่ดีต่อโภชนาการ
- คนที่แพ้แลคโตสไม่ควรทานชีสทุกชนิด แต่ก็อาจมีบางชนิดที่เหมาะสมสำหรับคนแพ้แลคโตส
ชนิดของชีส
ชีสคือส่วนประกอบยอดนิยมหลักในการประกอบอาหารเช่นเบอร์เกอร์ พิซซ่า อาหารจานเม็กซิกัน สลัดและแซนวิช
ตัวชีสอย่างเดียวก็สามารถนำมาทานเป็นอาหารว่างเป็นขนมได้ด้วย อาจนำไปเติมใส่ในซอส ซุป พาสตรี้และอาหารจานอื่นๆ
ชีสมีมากมายหลายพันชนิด มีตั้งแต่รสชาติอ่อนๆไปจนถึงเข้มข้น มีส่วนประกอบของไขมันตั้งแต่ต่ำไปจนถึงไขมันสูง บางชนิดทำมาจากนมวัว นมแกะ นมแพะหรือจากสัตว์ชนิดอื่นๆ
ชีสสดคือชีสที่ไม่ได้ผ่านการบ่ม มักมีความชุ่มชื้นสูง มีเนื้อสัมผัสที่นุ่มกว่าและมีรสชาติอ่อนกว่าชีสบ่ม ยกตัวอย่างเช่น ริคอตต้า ครีมชีส และมาสคาโปน
ชีสบ่มจะมีเนื้อสัมผัสที่แข็งกว่าและมักมีการบ่มนานถึง 6 เดือนหรือมากกว่านั้น ด้วยกระบวนการบ่มที่ยาวนานนี่เองจะทำให้ชีสมีรสชาติและความเข้มข้นสูง เชดดาร์ชีส สวิส พาเมซานและกรูเย่คือตัวอย่างของชีสบ่ม
ชีสแปรรูปเช่น ชีสสเปรด อเมริกันชีส อาหารชีสและชีสปรุงรสไม่จัดอยู่ในอาหารจำพวกชีส
ชีสที่ไม่ได้มาจากผลิตภัณฑ์นม เช่นชีสถั่วเหลือง เหมาะสำหรับคนที่ไม่ทานผลิตภัณฑ์จากนม
สารโภชนาการ
ชีสคือแหล่งอาหารชั้นเยี่ยมของแคลเซียม โภชนาการหลักของชีสนั้นดีต่อสุขภาพประโยชน์ของชีสมีต่อกระดูกและฟัน การละลายลิ่มเลือด ช่วยรักษาบาดแผลและช่วยทำให้ระดับความดันเลือดเป็นปกติ
แต่กระนั้น ชีสก็มีแคลลอรี่ โซเดียมและไขมันอิ่มตัวสูง สารอาหารหลักในชีสมีความหลากหลายมากขึ้นอยู่กับชนิดของชีส
ยี่ห้อชีสเชดด้าครีมชีสสเปรดหนึ่งออนด์ (28 กรัม) มีส่วนประกอบดังนี้:
- แคลลอรี่ 80 calories
- ไขมัน 7 กรัม ซึ่งรวมกรดไขมันอิ่มตัว 5 กรัม
- คาร์โบไฮเดรต 1 กรัม
- โปรตีน 0 กรัม
- แคลเซียม 150 มก. ฃ
- วิตามินเอ 750 IU
- คอเรสเตอรอล 15 มก.
- โซเดียม 380 มก.
ยี่ห้อเชดด้าชีสหนึ่งออนด์ (28 กรัม)มีส่วนประกอบคือ:
- แคลลอรี่ 120
- ไขมัน 10 กรัมรวมกรดไขมันอิ่มตัว 6 กรัม
- คาร์โบไฮเดรต 0 กรัม
- โปรตีน 7 กรัม
- แคลเซียม 200 มก.
- วิตามินเอ 400 IU
- คอเรสเตอรอล 30 มก.
- โซเดียม 190 มก.
8 ประโยชน์เพื่อสุขภาพ
ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากนมคือหนึ่งในอาหารที่เต็มไปด้วยแคลเซียมและสารอาหารอื่นๆ ต่อไปนี้คือประโยชน์ที่ได้รับจากชีส
1. ดีต่อสุขภาพกระดูก
แคลเซียม โปรตีน แมกนีเซียม สังกะสีและวิตามินเอ ดีและเค คือส่วนประกอบที่อยู่ในชีส ซึ่งนั้นหมายความว่าชีสสามารถมีส่วนร่วมในการทำให้กระดูกมีสุขภาพที่ดีขึ้นได้ทั้งในเด็กและวัยรุ่น อีกทั้งยังช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุน
2. ดีต่อสุขภาพฟัน
ชีสสามารถช่วยเรื่องสุขภาพฟันได้ แคลเซียมมีบทบาทที่สำคัญในฟัน และชีสก็เป็นแหล่งที่อุดมไปด้วยแคลเซียม การรับประทานชีสสามารถเพิ่มระดับค่าพีเอชในคราบฟันได้ ซึ่งเท่ากับเป็นการป้องกันการเกิดฟันผุ
3. ความดันเลือด
จากสถิติแสดงให้เห็นว่าคนที่รับประทานชีสมากจะมีความดันเลือดต่ำลง ถึงแม้ว่าชีสจะมีไขมันและโซเดียมมากก็ตาม
แคลเซียมสามารถช่วยลดความดันเลือด แนะนำให้บริโภคชีสไขมันต่ำและโซเดียมต่ำ
ชีสไขมันต่ำเช่นคอทเทจชีส ริคอตต้าชีส พาเมซาน เฟต้าและชีสจากแพะ ครีมชีสไขมันต่ำ
4. ดีต่อหลอดเลือด
ชีสบางชนิดมีระดับคอเรสเตอรอลและโซเดียมสูงเป็นส่วนประกอบ ซึ่งอาจส่งผลทำให้เกิดปัญหาต่อระบบหลอดเลือดหัวใจ
จากการวิจัยเมื่อปี 2014 ได้ข้อสรุปว่าผลิตภัณฑ์จากนมเป็นแหล่งที่ดีเยี่ยมของสารต้านอนุมูลอิสระ กลูตาไธโอน สารต้านอนุมูลอิสระนี้คือสารสำคัญต่อสุขภาพของสมองและช่วยป้องกันการเสื่อมของระบบประสาทในผู้สูงอายุ
คุณสมบัติของสารต้านอนุมูลอิสระจากชีสอาจช่วยป้องกันผลกระทบทางลบของโซเดียมได้ อย่างน้อยก็ได้ในระยะสั้น
5. จุลินทรีย์ในลำไส้และคอเรสเตอรอล
อาหารที่ผ่านกระบวนการหมัก ชีสจะช่วยเสริมสร้างให้จุลินทรีย์ในลำไส้มีสุขภาพที่ดี ซึ่งส่งผลดีต่อระดับคอเลสเตอรอลในเลือด
6. ช่วยเรื่องน้ำหนักตัวที่มีสุขภาพ
จากการศึกษาพบว่าคนที่มีค่าดัชนีมวลกายสูงคือคนที่มีแนวโน้มจะมีระดับแคลเซียมต่ำ ชีสคือแหล่งของแคลเซียมที่เยี่ยมยอด จึงอาจมีประโยชน์สำหรับคนที่ต้องการลดน้ำหนักตัว
7. กรดไขมันโอเมก้า 3
กรดไขมันโอเมก้า 3 พบได้ในชีสบางชนิด โดยเฉพาะชนิดที่ทำมาจากผลิตภัณฑ์นมที่ได้จากวัวที่กินหญ้าอัลไพน์ กรดโอเมก้า 3 เชื่อว่ามีประโยชน์ต่อระบบหมุนเวียนเลือดและสมอง
8. สุขภาพเซลล์ที่ดี
เซลล์ต้องการโปรตีนในการเสริมสร้างและซ่อมแซม เชดด้าชีสหนึ่งออนด์มีโปรตีน 7 กรัม ปริมาณโปรตีนที่ต้องการในแต่ละคนขึ้นอยู่กับอายุ ขนาดและระดับการทำกิจกรรม
ความเสี่ยง
การบริโภคโซเดียมและกรดไขมันอิ่มตัวในปริมาณสูงอาจเพิ่มความเสี่ยงให้ความดันเลือดสูง โรคหลอดเลือดและหัวใจและโรคเบาหวานชนิดที่ 2
เชดด้าชีสหนึ่งออนด์มีแคลลอรี่ราว 120 แคลลอรี่และมีกรดไขมันอิ่มตัว 6 กรัม
การบริโภคไขมันอิ่มตัวในปริมาณสูงอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวาน โรคอ้วนและมีปัญหาต่อระบบหมุนเวียนเลือด
โซเดียมที่มาคู่กับไขมัน โซเดียมพบได่สูงในชีสบางชนิด โดยเฉพาะชีสแปรรูปและผลิตภัณฑ์ “ชีสปรุงรส”
ภูมิแพ้ การต้าน ความไวต่อการกระตุ้นและการเกิดปฏิกิริยา
การแพ้น้ำตาลแลคโตส คนที่แพ้แลคโตสคือการขาดเอมไซม์ที่จำเป็นในการสลายและย่อยน้ำตาลที่พบได้ในนม การบริโภคนมและผลิตภัณฑ์นมอาจทำให้เกิดอาการท้องอืดท้องเฟ้อหรือท้องเสีย
ระดับการแพ้ขึ้นอยู่กับแต่ละคน คนที่แพ้บางคนอาจสามารถทานนมบ่มที่มีระดับแลคโตสต่ำได้ เช่นโยเกิร์ตและชีสแข็ง ในขณะที่บางคนอาจมรปฏิกิริยาแม้จะบริโภคเพียงน้อยนิดก็ตาม
ชีสสด ชีสนุ่มเช่นมอสเซลเรลลาอาจกระตุ้นการเกิดปฏิกิริยาในเกิดการแพ้แลคโตสได้ ชีสแข็งเช่นเชดด้าและพาเมซานมีระดับแลคโตสต่ำ คนที่แพ้แลคโตสอาจสามารถปริโภคในปริมาณน้อยได้อย่างปลอดภัย
อาการแพ้รวมไปถึงการมีเสมหะในคอ หายใจมีเสียงวี๊ด ท้องเสียและอาเจียน ในรายที่มีอาการรุนแรงอาจไปก่อให้เกิดหอบหืด โรคผิวหนังอักเสบ เลือดออก ปอดอักเสบและการแพ้รุนแรงหรือช็อค ซึ่งอาจมีความรุนแรงและอาจทำให้ถึงขั้นเสียชีวิตได้
คนที่ไวต่อการกระตุ้นจากเคซีน เป็นโปรตีนที่พบได้ในนม สามารถไปกระตุ้นให้เกิดการอักเสบทั่วร่างกาย ก่อให้เกิดอาการคัดจมูก สิวเห่อ ผิวขึ้นผื่นและปวดหัวไมเกรน
ฟอสฟอรัสที่มีอยู่ในชีสบางชนิด อาจทำอันตรายให้กับคนที่เป็นโรคเกี่ยวกับไต หากไตไม่สามารถกำจัดฟอสฟอรัสส่วนเกินออกจากเลือดได้ก็อาจทำให้เกิดอาการรุนแรงได้
การบริโภคแคลเซียมในปริมาณสูงอาจมีส่วนเกี่ยวข้องในการเพิ่มความเสี่ยงการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมากได้
เคล็ดลับ
ชีสอาจมีประโยชน์ต่อสุขภาพ แต่ก็มีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดหรือน้ำหนักตัวที่เพิ่มมากขึ้นได้ ดังนั้นจึงควรเลือกชีสชนิดโซเดียมต่ำและไขมันต่ำ
บทสรุป
ชีสเป็นแหล่งของแคลเซียมที่เยี่ยมยอดสำหรับคนที่ไม่แพ้หรือมีปฏิกิริยา แต่ควรเลือกด้วยความระมัดระวังและบริโภคแต่พอประมาณ
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก