โรคไตวาย (Kidney Failure) คือการที่ไตเกิดภาวะทำงานขัดข้องไม่สามารถกรองของเสียออกจากเลือดได้ และมีสาเหตุหลายอย่างที่ทำให้ไตทำงานผิดปกติซึ่งทำให้ไตเกิดภาวะป้องกันการขับของเสียเเละน้ำส่วนเกินออกจากร่างกายจึงส่งผลทำให้เกิดภายไตวาย ในคนปกติควรมีค่าไตเท่ากับ 90-125 มิลลิลิตร/นาที/1.73 ตารางเมตร กรณีที่ค่าไตต่ำกว่านี้แสดงว่าเกิดภาวะไตเสื่อม
ข้อมูลจากสถาบันโรคเบาหวาน ระบบย่อยอาหารและโรคเกี่ยวกับไต ระบุว่าภาวะไตล้มเหลวเกิดขึ้นเมื่อไตของผู้ป่วยสามารถทำงานได้น้อยกว่า 15% ไตทำหน้าที่ฟอกเลือดและกำจัดของเสียและน้ำส่วนเกินออกจากร่างกาย บางครั้งทำให้ไตสูญเสียประสิทธิภาพในการทำงานจึงนำไปสู่ภาวะไตวายได้
ในบทความนี้เราจะมาเรียนรู้เกี่ยวกับประเภทของภาวะไตวายและระยะของการเกิดไตวายรวมไปถึงอาการและสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะไตวาย ทางเลือกในการรักษาและวิธีการป้องกัน
ประเภทของภาวะไตวาย
ภาวะไตวายมีอยู่ 2 ประเภทได้แก่ภาวะไตวายแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง บทความต่อไปนี้จะอธิบายเกี่ยวกับรายละเอียดเพิ่มเติมต่อไป
ภาวะไตวายชนิดเฉียบพลัน
ภาวะไตวายเฉียบพลัน (AKF) หรือเรียกว่าอาการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นกับไตหรือภาวะไตล้มเหลวเฉียบพลันเป็นอาการที่เกิดขึ้นทันที โดยปกติมักเกิดขึ้นภายในไม่กี่ชั่วโมงหรือไม่กี่วัน
ภาวะไตวายเกิดขึ้นเนื่องจากอาการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นกับไตหรือมีกระเเสเลือดในไตลดลง นอกจากนี้อาการเหล่านี้สามารถเกิดขึ้นเนื่องจากการอุดตันเช่นก้อนนิ่วหรือความดันเลือดในไตที่เพิ่มขึ้นจำนวนมาก
ข้อมูลจากสถาบันการศึกษาเกี่ยวกับการรักษาระบบปัสสาวะระบุว่าการทำงานของไตจะกลับคืนสู่ภาวะปกติเมื่อได้รับการรักษาภาวะไตล้มเหลวเฉียบพลัน
ภาวะไตล้มเหลวชนิดเรื้อรัง
ข้อมูลจากสถาบันโรคเบาหวาน ระบบย่อยอาหารและโรคเกี่ยวกับไต (NIDDK) ระบุว่าภาวะไตล้มเหลวชนิดเรื้อรัง (CKD) หรือเรียกว่าภาวะไตเสียหายเรื้อรังหรือโรคเกี่ยวกับไตเรื้อรังเกิดขึ้นกับประชากรมากกว่า 30 ล้านคนในสหรัฐอเมริกา
เมื่อเกิดภาวะไตล้มเหลวชนิดเรื้อรังเกิดขึ้นหมายความว่าภาวะผิดปกติของไตนี้เกิดขึ้นยาวนานขึ้น โดยการเสียหายที่เกิดขึ้นกับไตจะค่อยๆเกิดขึ้นและนำมาสู่ภาวะไตล้มเหลวในที่สุด
อาการไตวาย
อาการของภาวะไตวายมีลักษณะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับชนิดของการเกิดภาวะไตวายว่าเป็นแบบเฉียบพลันหรือเรื้อรังและระยะของการเกิดไตวายอยู่ที่ระยะเท่าไหร่
แม้ว่าอาการเริ่มต้นของของโรคที่เกี่ยวกับไตในระยะใดก็ตาม โดยปกติมักมีอาการปรากฎขึ้นเมื่อถึงระยะสุดท้ายของโรค
โดยปกติอาการของภาวะไตล้มเหลวได้แก่
- มีอาการบวมที่เท้าและขาเนื่องจากการกักเก็บของเหลวภายในร่างกาย
- มีปัญหาเกี่ยวกับการนอนหลับ
- มีตะคริวที่กล้ามเนื้อ
- มีอาการชาที่นิ้วมือเเละนิ้วเท้า
- สูญเสียความอยากอาหาร
- รู้สึกได้รับรสเมทาลิคภายในปาก
ระยะของอาการภาวะไตล้มเหลว 5 ระยะได้แก่
- มีอาการปวดหัว
- มีการผลิตปัสสาวะเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเลย
- มีปัญหาเกี่ยวกับการหายใจ
- มีอาการคลื่นไส้และอาเจียน
- มีสีผิวเปลี่ยนไป
การรักษาไตวาย
โดยส่วนใหญ่การรักษาภาวะไตวายมีทางเลือกในการรักษาดังต่อไปนี้
การฟอกไต
การฟอกไตด้วยการใช้เครื่องไตเทียมที่ช่วยทำหน้าที่เปรียบเสมือนไตของจริงที่มีสุภาพดี โดยเครื่องฟอกไตเทียมจะทำหน้าที่กรองน้ำและของเสียออกจากเลือด
การฟอกไตชนิดนี้เรียกว่าการฟอกไตทางช่องท้องเป็นการใช้เนื้อเยื่อบริเวณช่องท้องเพื่อกรองเลือด
หลังจากพยาบาลได้สอนวิธีการฟอกไตให้กับคนที่ดูเเลผู้ป่วยเป็นเวลา 1-2 สัปดาห์เเล้ว ผู้ดูแลสามารถทำการฟอกไตให้กับผู้ป่วยได้ที่บ้านและที่ทำงานรวมไปถึงขณะเดินทางท่องเที่ยวได้
อย่างไรก็ตามการฟอกไตไม่สามารถรักษาภาวะไตล้มเหลวได้แต่สามารถช่วยทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยดีขึ้นได้
การผ่าตัดปลูกถ่ายไต
ถ้าหากพบว่าไตสามารถทำงานได้ 20% หรือน้อยกว่านั้น แพทย์อาจจำเป็นต้องทำการผ่าตัดเพื่อปลูกถ่ายไต ซึ่งสามารถรับไตจากผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่หรือผู้ที่เสียชีวิตเเล้วได้
หลังจากได้รับไตใหม่ ผู้ป่วยยังคงจำเป็นต้องทานยาเพื่อทำให้มั่นใจว่าร่างกายไม่เกิดการต่อต้านกับอวัยวะใหม่ที่ถูกปลูกถ่ายเข้าไปในร่างกาย
กระบวนการปลูกถ่ายไตใช้เวลายาวนานและไม่ใช่ทุกคนที่เหมาะสมกับการรักษาด้วยวิธีผ่าตัดเพื่อปลูกถ่ายไต
การรักษาในคลีนิคเฉพาะทาง
นอกจากนี้การรักษาในคลีนิคเฉพาะทางเป็นทางที่เหมาะกับผู้ป่วยเป็นโรคไตวายชนิดเรื้อรัง (CKD)
ซึ่งมีการรักษาหลากหลายประเภทได้แก่การใช้ยารักษาและการป้องกันภาวะไตวาย
การวางเเผนรักษา
การวางแผนการรักษาจะประสบความสำเร็จได้เมื่อผู้ปฏิบัติตนด้วยวิธีดังต่อไปนี้
- ระมัดระวังและตรวจสอบอาการที่เกิดขึ้นกับตนเองอยู่อย่างสม่ำเสมอและค่อยตรวจสอบดูว่ามีสัญญาณอาการใดๆที่ทำให้ทราบว่าการทำงานของไตล้มเหลวลงหรือไม่
- ทานอาหารที่เหมาะสมกับผู้ที่เป็นโรคไตที่ได้รับคำสั่งจากแพทย์หรือนักโภชนาอาหาร
- ลดปริมาณหรือจำกัดการดื่มแอลกอฮลที่ทำให้ไตทำงานหนักมากขึ้น
- พักผ่อนให้เพียงพอ
- ออกกำลังกายเป็นประจำ
นอกจากนี้ผู้ป่วยที่มีภาวะไตวายอาจจำเป็นต้องได้รับการรักษาในกรณีที่เกิดภาวะเเทรกซ้อนเกิดขึ้นเช่นการรักษาภาวะโลหิตจาง แพทย์จะทำการให้ยาทานเสริมอาหารเช่นธาตุเหล็ก วิตามินบีหรือกรดโฟลิค
นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา
- https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/kidney-failure/symptoms-causes/syc-20369048
- https://www.nhs.uk/conditions/kidney-disease/
- https://www.healthline.com/health/kidney-failure
- https://www.urologyhealth.org/urologic-conditions/kidney-(renal)-failure
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก