โรคจอประสาทตาเสื่อม (Macular Degeneration) : อาการ สาเหตุ การรักษา

โรคจอประสาทตาเสื่อม (Macular Degeneration) : อาการ สาเหตุ การรักษา

19.11
2528
0

โรคจอประสาทตาเสื่อม (Macular Degeneration) คือการที่จุดรับภาพของตาเสื่อมเป็นโรคที่ส่งผลต่อจอประสาทตา ซึ่งเป็นบริเวณชั้นตาที่อยู่ด้านหลังของลูกตา โดยชั้นนี้จะประกอบด้วยเซลล์รับแสง (light-sensitive cells) ที่ทำให้สามารถมองเห็นภาพของสิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัวเราได้

ประเภทของโรคจอประสาทตาเสื่อม

โรคจอประสาทตาเสื่อมแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่ชนิดแห้งและชนิดเปียก

  • โรคจอประสาทตาเสื่อมชนิดแห้ง ผู้ป่วยด้วยโรคจอประสาทตาชนิดนี้จะมีอาการเกิดขึ้นของโรคอย่างช้าๆ ซึ่งยังไม่มีการรักษาแต่มีหลายๆสิ่งที่ผู้ป่วยควรจะเรียนรู้เพื่อรับมือกับโรคที่จะเกิดขึ้น โดยมีผู้ป่วยโรคจอประสาทตาเสื่อมชนิดแห้งคิดเป็นร้อยละ 85 ถึง 90 
  • โรคจอประสาทตาเสื่อมชนิดเปียกหรือที่รู้จักกันคือชนิดที่มีหลอดเลือดงอกผิดปกติ (neovascular AMD) เป็นการเกิดหลอดเลือดงอกใหม่ขึ้นใต้บริเวณ macular ที่เป็นจุดตรงกลางจอตาที่ทำหน้าที่รับภาพเป็นสาเหตุทำให้มีเลือดและสารน้ำภายในลูกตารั่วออกมา โรคจอประสาทตาเสื่อมชนิดเปียกมีความรุนแรงมากกว่าชนิดแห้งเนื่องจากอาการของโรคนี้ทำให้สูญเสียการมองเห็นในท้ายที่สุด เมื่อผู้ป่วยเริ่มป่วยด้วยโรคนี้ อาการของโรคจะพัฒนาขึ้นรวดเร็วมากดังนั้นจำเป็นต้องได้รับการรักษาโดยทันที 

สาเหตุโรคจอประสาทตาเสื่อม

ปัจจุบันยังสาเหตุที่แท้จริงของการเกิดอาการจอประสาทตาเสื่อมไม่ได้แน่ชัด มีแต่ปัจจัยเสี่ยงที่มีความสัมพันธ์กัน ได้แก่ ผู้ที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์และมีความดันโลหิตสูง รวมไปถึงการสูบบุหรี่และประวัติของคนในครอบครัวที่เคยป่วยเป็นโรคจอประสาทตาเสื่อม 

อาการโรคจอประสาทตาเสื่อม

อาการของโรคจอประสาทตาเสื่อมชนิดแห้งมักจะเกิดขึ้นแบบค่อยเป็นค่อยไป คนส่วนมากจะไม่ได้ตระหนักว่าตนป่วยเป็นโรคนี้จนกระทั่งมีอาการอยู่ในระยะสุดท้ายของโรคคือผู้ป่วยเริ่มสูญเสียการมองเห็น

อาการหลักๆคือผู้ป่วยจะมองเห็นภาพมัวบริเวณตรงกลางภาพโดยไม่มีผลต่อวิสัยทัศน์การมองเห็นรอบข้าง แม้ว่าผู้ป่วยจะแก้ปัญหาด้วยการใส่แว่นสายตาก็ยังมองเห็นภาพที่ตรงกลางพร่ามัวเหมือนเดิมอยู่ดี 

อาการของโรคจอประสาทตาเสื่อมชนิดแห้ง 

อาการจอประสาทตาเสื่อมชนิดแห้งผู้ป่วยมักจะไม่มีอาการแสดงจนกระทั่ง 10 ปีผ่านไปหรือนานกว่านั้นหากตาเพียงแค่ 1 ข้างเกิดความผิดปกติของโรคนี้ขึ้น 

อาการของโรคจอประสาทตาเสื่อมที่เกิดขึ้น มีดังต่อไปนี้ 

  • ต้องการแสงสว่างมากขึ้นขณะอ่านหนังสือ
  • เห็นข้อความที่เขียนหรือพิมพ์เป็นภาพมัว
  • เมื่อสัมผัสกับแสงสว่างที่มากเกินดวงตาจะกลับมามองเห็นภาพได้เป็นปกติช้ากว่าเดิม 
  • มองเห็นภาพที่มีสีสันสดใสมากกว่าที่เคย
  • การจดจำใบหน้ายากขึ้นกว่าปกติ
  • มองเห็นภาพมัว หรือวิสัยทัศน์ในการมองเห็นลดลง

อาการของโรคจอประสาทตาเสื่อมชนิดเปียก

การมองเห็นภาพของคนสองคนในขณะที่มีสายตปกติ

นอกจากอาการดังกล่าวนี้ยังสามารถพบอาการอื่นๆ ได้ดังต่อไปนี้

  • การมองเห็นภาพบิดเบี้ยว โดยมองเห็นเส้นตรงมีลักษณะคดเคี้ยวหรือเป็นคลื่น
  • เห็นจุดบอดตรงกลางภาพ (ดวงมืดกลางลานตา) โดยจุดบอดนี้จะมีขนาดใหญ่ขึ้นเมื่อไม่รักษา

อาการของโรคจอประสาทตาเสื่อมชนิดเปียกจะเกิดขึ้นได้เร็วกว่าชนิดแห้ง 

ข้อมูลจากสถาบันโรคตาแห่งชาติ (NEI) ระบุว่าอาการของโรคจอประสาทตาเสื่อม (AMD) เบื้องต้นไม่พัฒนาไปจนถึงระยะสุดท้ายเสมอไป

  • ในผู้ป่วยที่มีอาการของโรคจอประสาทตาเสื่อมระยะเเรกที่ตาข้างหนึ่ง อาการของโรคนี้จะเกิดขึ้นที่ตาข้างเดียวโดยจะไม่ติดต่อกับตาอีกข้างหนึ่ง ผู้ป่วย 1 ใน 20 รายจะมีอาการของโรคนี้พัฒนาขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป 10 ปี
  • มีผู้ป่วยโรคจอประสาทตาเสื่อมประมาณ 14 เปอร์เซ็นต์ที่มีอาการของโรคจอประสามเสื่อมเกิดขึ้นกับตาทั้งสองข้างเมื่อเวลาผ่านไป 10 ปี 

การทดสอบดวงตาทั่วไปสามารถตรวจหาอาการของโรคจอประสาทตาเสื่อม (AMD) ระยะเเรกได้ เมื่อตรวจพบโรคเเล้วขั้นตอนต่อไปคือการรักษาเพื่อลดความเสี่ยงเพื่อไม่ให้โรคพัฒนาขึ้น

การรักษาโรคจอประสาทตาเสื่อม

วิธีรักษาจอประสาทตาเสื่อม แนะนำให้เข้ารับการตรวจดวงตาทั่วไปเพื่อตรวจหาความผิดปกติของจุดรับภาพก่อนเริ่มสูญเสียการมองเห็น

การรักษาไม่สามารถฟื้นฟูการมองเห็นให้กลับมาเป็นเหมือนเดิมได้แต่สามารถช่วยชะลอการสูญเสียการมองเห็นได้

โรคจอประสาทตาเสื่อมชนิดแห้ง

โดยปกติโรคจอประสาทตาเสื่อมชนิดเเห้งไม่ได้ทำให้สูญเสียการมองเห็นทั้งหมดและยังคงสามารถมองเห็นภาพรอบนอก (Peripheral Vision) ได้ตามปกติ 

การเปลี่ยนแปลงวิธีการใช้ชีวิตเป็นวิธีที่ง่ายและสามารถช่วยป้องกันภาวะการสูญเสียการมองเห็น โดยพยายามการรักษาการมองเห็นให้ได้มากที่สุด

เคล็ดลับได้แก่ 

  • การใช้เเว่นขยาย
  • การอ่านหนังสือที่มีตัวอักษรขนาดใหญ่
  • การใช้แสงที่เพียงพอในการอ่านหนังสือ

โรคจอประสาทตาเสื่อมชนิดแห้ง

การรักษาบางประเภทสามารถยับยั้งการพัฒนาของโรคจอประสาทตาเสื่อมชนิดเปียกหรือภาษาอังกฤษเรียกว่า neovascular แต่ทั้งนี้ผู้ป่วยต้องเข้ารับการรักษาทันทีเพื่อประสิทธิภาพของการรักษาเนื่องจากภาวะสูญเสียการมองเห็นไม่สามารถรักษาให้กลับมาเป็นปกติได้

การผลิตสารต้าน VEGF

การระงับแฟกเตอร์ซึ่งโปรโหมตการเติบโตของเส้นเลือดที่เนื้อเยื่อบุโพรงหรือการผลิตสารต้าน VEGF เป็นการใช้สารเคมีที่ทำให้เกิดเส้นเลือดใหม่ในดวงตาของผู้ที่เป็นโรคจอประสาทตาเสื่อมเเบบเปียก โดยยาที่เป็นสารต้าน VEGF จะเข้าไปขัดขวางการทำงานของสารเคมีนี้ดังนั้นจึงไม่เกิดการสร้างเส้นเลือดใหม่ขึ้นอีกต่อไป 

ยาชนิดนี้ที่ใช้ได้แก่ ยา ranibizumab (Lucentis) และ ยา bevacizumab (Avastin)

ในการฉีดยาเข้าที่ลูกตาเเพทย์จะใช้ยาชาก่อนการฉีดยา ดังนั้นจึงไม่เกิดอาการเจ็บตาเมื่อฉีดยาเข้าไปที่ดวงตา

โดยการรักษาด้วยวิธีฉีดยาจำเป็นต้อทำซ้ำทุกสัปดาห์

ในบางกรณีการใช้สารต้าน VEGF สามารถฟื้นฟูการมองเห็นบางส่วนได้แต่ขึ้นอยู่กับอาการของแต่ละบุคคล

โดยปกติการรักษาด้วยการใช้สารต้าน VEGF ไม่ก่อให้เกิดผลข้างเคียงใดๆ แต่อาการเจ็บปวด บวม ตาเเดงและการมองเห็นภาพที่ไม่ชัดเจนอาจเกิดขึ้นหลังจากการฉีดยาเข้าลูกตา

ในบางกรณีซึ่งเกิดขึ้นน้อยมากที่การรักษาด้วยวิธีนี้จะก่อให้เกิดภาวะเเทรกซ้อนเช่นจอประสาทตาถูกทำลาย เลนส์ตาเกิดความเสียหายเเละเกิดการติดเชื้อ

การรักษาด้วยเเสง

ยา Verteporfin เป็นยาที่ใช้เพื่อเพิ่มความไวของแสง โดยยาชนิดนี้จะถูกฉีดเข้าที่เเขนของผู้ป่วย ยVeteporfin จะเข้าไปติดอยู่ในโปรตีนของเส้นเลือดดำและคอยตรวจจับความผิดปกติที่เกิดขึ้นในเส้นเลือดภายในจอประสาทตา     

เมื่อมีลำเเสงเลเซอร์ฉายเข้าไปในดวงตาประมาณ 1 นาที ยา verteporfin จะถูกกระตุ้นให้ทำงานด้วยเเสงเลเซอร์ ทำให้ความผิดปกติที่เกิดขึ้นในเส้นเลือดจอประสาทตาถูกทำลายโดยปราศจากการทำลายเนื้อเยื่อรอบดวงตาเพราะถ้าหากเส้นเลือดไม่ถูกทำลาย เลือดหรือของเหลวจะไม่สามารถรั่วไหลออกมากและทำลายจอประสาทตาในอนาคตได้    

ผู้ป่วยบางรายจำเป็นต้องรักษาด้วยการใช้แสงบำบัดทุกเดือน แต่อย่างไรก็ตามการรักษาด้วยวิธีนี้ใช้เมื่อสามารถระบุตำแหน่งของเส้นเลือดเป้าหมายได้และระดับความเสียหายที่เกิดขึ้นกับจอประสาทตา 

โดยปกติการรักษาด้วยวิธีนี้นำมาใช้น้อยกว่าการด้วยการใช้สารต้าน VEGF

การรักษาด้วยเลเซอร์

บางครั้งจักษุแพทย์อาจนำการรักษาด้วยเเสงเลเซอร์มาแก้ไขปัญหาความผิดปกติที่เกิดขึ้นในเส้นเลือดของจอประสาทตา แต่การรักษาด้วยวิธีนี้อาจไม่ได้นำมาใช้รักษาบ่อยเท่าการรักษาด้วยวิธีอื่น เเต่ในบางกรณีการรักษาด้วยวิธีนี้จำเป็นต้องใช้

นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *