ไข้กาฬหลังแอ่น (Meningococcal Meningitis) หรือโรคติดเชื้อแบคทีเรียที่บริเวณเยื่อหุ้มสมอง ปัจจุบันโรคนี้เป็นโรคที่พบได้ยาก สำหรับสาเหตุของโรคนี้เกิดจากการติดเชื้อของแบคทีเรียบริเวณเยื่อหุ้มสมองและกระดูกสันหลัง
โรคไข้กาฬหลังแอ่นชนิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบเป็นโรคที่อันตรายเเละทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ ถ้าหากไม่ทำการรักษาทันที เนื่องจากผู้ที่ป่วยด้วยโรคชนิดนี้จะเกิดการติดเชื้ออย่างรุนแรงและมีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้น ข้อมูลจากสถาบันควบคุมโรคระบุว่าผู้ป่วยที่หายจากโรคนี้ 15% พบว่ากลายเป็นผู้พิการ ซึ่งได้แก่หูหนวก สมองเสื่อมและมีปัญหาเกี่ยวกับระบบประสาท
ดังนั้นจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ควรทราบเกี่ยวกับลักษณะอาการของโรคไข้กาฬหลังแอ่นชนิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
โรคไข้กาฬหลังแอ่นชนิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบคืออะไร
เชื้อแบคทีเรียเเละไวรัสที่เป็นสาเหตุหลักของการเกิดโรคไข้สมองอักเสบได้แก่ เชื้อแบคทีเรีย Neisseria meningitidis เป็นเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคไข้กาฬหลังแอ่นชนิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบในเด็กและวัยรุ่น โดยเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้สามารถพบในผู้ใหญ่ที่เป็นโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบได้เช่นกัน
โดยเชื้อแบคทีเรียชนิด Meningococcal เป็นสาเหตุทำให้เกิดการติดเชื้อในระบบต่างๆทั่วร่างกายได้อย่างเช่น ผิวหนังอักเสบและการติดเชื้อในทางเดินอาหารหรือระบบทางเดินหายใจเป็นต้น ปัจจุบันผู้เชี่ยวชาญยังไม่ทราบสาเหตุของการแพร่กระจายของเชื้อแบคทีเรียที่เข้าสู่กระแสเลือดและระบบประสาทจนทำให้เกิดโรคไข้กาฬหลังแอ่นชนิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบ นอกจากนี้เชื้อแบคทีเรียยังสามารถเข้าสู่ระบบประสาทโดยตรงหลังจากเกิดบาดแผลที่ศีรษะอย่างรุนเเรง การผ่าตัดหรือการติดเชื้อ
ผู้ที่มีความเสี่ยงติดเชื้อแบคทีเรียที่ส่งผลทำให้เกิดโรคไข้เยื่อหุ้มสมองอักเสบได้แก่ผู้ที่สัมผัสกับเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคดังกล่าว นอกจากนี้ผู้ที่มีอาการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจส่วนต้นยังเป็นผู้ที่มีความเสี่ยงติดเชื้อสูงเช่นกัน สำหรับเด็กทารกและเด็กเล็กรวมถึงวัยรุ่นเป็นกลุ่มเสี่ยงติดเชื้อแบคทีเรียโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบได้มากที่สุด
อาการของโรคไข้เยื่อหุ้มสมองอักเสบ
อาการของโรคไข้กาฬหลังแอ่นชนิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบมีหลากหลายขึ้นอยู่กับบริเวณที่เกิดการติดเชื้อภายในร่างกาย ซึ่งอาการส่วนใหญ่ได้แก่
- รู้สึกไม่สบาย
- มีไข้สูงเฉียบพลัน
- ปวดหัวรุนเเรงและไม่หาย
- ปวดคอ
- คลื่นไส้หรืออาเจียน
- มีอาการแพ้แสงสว่าง
- รู้สึกง่วงซึมและตื่นนอนยาก
- ปวดข้อต่อ
- รู้สึกสับสนหรืออารมณ์แปรปรวน
วิธีรักษาโรคไข้กาฬหลังแอ่นชนิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
โรคติดเชื้อในสมองชนิดนี้เป็นโรคที่อันตราย ซึ่งอาจทำให้เสียชีวิตหรือเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนเเรงได้อย่างเช่นสมองเสื่อม โรคอัมพาต เนื้อเยื่อในสมองตายหรือหูหนวกได้ ดังนั้นการป้องกันการติดเชื้อและการรักษาโรคดังกล่าวจึงเป็นสิ่งสำคัญ สำหรับผู้ที่เป็นโรคดังกล่าวนี้ควรไปพบเเพทย์ทันทีหากพบอาการที่ผิดปกติดังต่อไปนี้
-
สังเกตพบอาการของโรคไข้เยื่อหุ้มสมองอักเสบ
-
มีอาการต่างของโรคเกิดขึ้นเเละไม่หายไปด้วยการรักษาทั่วไป
-
คิดว่าเคยสัมผัสกับเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคไข้เยื่อหุ้มสมองอักเสบ
หากตรวจพบเชื้อที่ยืนยันการวินิจฉัยว่าเกิดการติดเชื้อโรคไข้เยื่อหุ้มสมองอักเสบ แพทย์จะเริ่มต้นทำการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะเช่นยาเพนนิซิลินหรือยาเซฟไตรอะโซนด้วยการฉีดยาเข้าเส้นเลือดดำหรือให้ยาผ่านสายน้ำเกลือ นอกจากนี้ผู้ป่วยยังอาจได้รับยาที่ใช้รักษาปัญหาที่เกี่ยวข้องกับแรงดันของน้ำไขกระดูกสันหลัง บางครั้งแพทย์อาจให้ยากลุ่มสเตียรอยด์ด้วยเช่นกัน
ถ้าหากคุณหรือคนใกล้ชิดติดเชื้อแบคทีเรียชนิดที่ทำให้เกิดโรคไข้กาฬหลังแอ่น ควรระมัดระวังการติดเชื้อจากคนสู่คนมากขึ้น เนื่องจากเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้สามารถเกิดการติดต่อผ่านน้ำลายหรือสารคัดหลั่งอื่นภายในช่องปากได้ ดังนั้นเมื่อพบผู้ติดเชื้อแบคทีเรียโรคไข้กาฬหลังแอ่นชนิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบในโรงเรียน สถานรับเลี้ยงเด็ก ที่บ้านหรือที่ทำงาน สิ่งสำคัญที่ควรทำคือการทานยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันการติดเชื้อ
ปัจจุบันมีวัคซีนสำหรับป้องกันโรคไข้เยื่อหุ้มสมองอักเสบหรือไม่
โรคไข้กาฬหลังแอ่นชนิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบเป็นโรคที่อันตรายมาก แม้ว่าจะมีวิธีการรักษาแล้วก็ตาม การป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียเป็นวิธีที่ดีที่สุด ซึ่งปัจจุบันมีวัคซีนที่สามารถป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียโรคไข้กาฬหลังแอ่นชนิดดังกล่าว โดยมีวัคซีน 3 ชนิดได้แก่
-
วัคซีนชนิดคอนจูเกต (Meningococcal conjugate vaccine : MCV4) ได้แก่วัคซีน Menactra ที่ใช้ฉีดให้กับเด็กทารกที่มีอายุ 9 – 55 เดือน และวัคซีน Menveo ที่ใช้ฉีดให้กับผู้ที่มีอายุ 2- 55 ปี
-
วัคซีนชนิดโพลีแซคคาไรด์ (Polysaccraride Tetravalent Meningococcal Vaccine:MPSV4) เป็นวัคซีนที่ใช้ป้องกันโรคไข้กาฬหลังแอ่นชนิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบตั้งแต่ช่วงทศวรรษที่ 1970 วัคซีนชนิดนี้นำมาใช้ฉีดให้กับเด็กที่มีอายุ 9 เดือนและผู้ใหญ่ที่มีอายุมากกว่า 55 ปีขึ้นไป
-
วัคซีนกลุ่ม Serogroup B Meningococcal B (MenB) วัคซีน MenB แบ่งออกเป็น 2 ประเภทได้แก่วัคซีน Trumenba (MenB-FHbp) และวัคซีน Bexsero (MenB-4C) โดยวัคซีนทั้ง 2 ชนิดนี้นำมาใช้ฉีดให้กับเด็กวัยรุ่นที่มีอายุตั้งแต่ 10-24 ปีและสามารถนำมาใช้กับผู้ป่วยสูงอายุได้เช่นกัน
กลุ่มคนประเภทอื่นที่มีความเสี่ยงติดเชื้อแบคทีเรียและควรได้รับวัคซีนได้แก่
-
ผู้ที่คิดว่าเคยสัมผัสกับเชื้อแบคทีเรียโรคไข้เยื่อหุ้มสมองอักเสบ
-
นักศึกษาที่อาศัยอยู่ในหอพักของมหาวิทยาลัย
-
นักท่องเที่ยวที่เคยไปเที่ยวประเทศในทวีปแอฟริกา ซึ่งเป็นทวีปที่ยังคงมีการแพร่ระบาดของโรคไข้กาฬหลังแอ่นชนิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
-
ผู้ที่ม้ามเกิดความเสียหายบางส่วนเนื่องจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน
-
ผู้ที่ทำงานในห้องทดลองและสัมผัสกับเชื้อแบคทีเรียโรคไข้เยื่อหุ้มสมองอักเสบเป็นประจำ
แม้ว่าปัจจับันยังไม่มีวิธีการป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียโรคไข้กาฬหลังแอ่นชนิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบหรือชนิดที่ทำให้เกิดการติดเชื้อในกระแสเลือด ทั้งนี้การฉีดวัคซีนสามารถป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียบางชนิดได้เท่านั้น โดยการฉีดวัคซีนสามารถป้องกันการติดเชื้ออย่างมีประสิทธิภาพในผู้ที่ได้รับวัคซีน 9 คนจาก 10 คน ซึ่งวัคซีน MCV4 เป็นวัคซีนที่มีแนวโน้มป้องกันการติดเชื้อและลดการแพร่กระจายของเชื้อโรคไข้เยื่อหุ้มสมองอักเสบได้มากที่สุด
นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา
- https://www.cdc.gov/meningococcal/about/symptoms.html
- https://www.health.nsw.gov.au/Infectious/factsheets/Pages/meningococcal_disease.aspx
- https://www.health.gov.au/health-topics/meningococcal-disease
- https://rarediseases.org/rare-diseases/meningococcal-meningitis/
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก