เยื่อหุ้มสมองอักเสบ (Meningitis) : อาการ สาเหตุ การรักษา

เยื่อหุ้มสมองอักเสบ (Meningitis) : อาการ สาเหตุ การรักษา

03.12
1395
0

เยื่อหุ้มสมองอักเสบ (Meningitis) คือ การอักเสบของของเหลวและเยื่อหุ้มสมองบริเวณรอบๆสมองและไขสันหลัง

อาการบวมจากเยื่อหุ้มสมองอักเสบมักก่อให้เกิดสัญญาณและอาการต่างๆ เช่น ปวดศีรษะ มีไข้และคอเคล็ด

กรณีส่วนใหญ่ของเยื่อหุ้มสมองอักเสบเกิดจากการติดเชื้อไวรัส รวมไปถึงการติดเชื้อแบคทีเรีย ปรสิตและเชื้อรา อาการเยื่อหุ้มสมองอักเสบบางกรณีจะดีขึ้นได้เองภายในสองถึงสามสัปดาห์โดยไม่จำเป็นที่จะต้องได้รับการรักษา แต่ในบางกรณีอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตและจำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะในกรณีฉุกเฉิน

คุณควรไปพบแพทย์ทันที หากสงสัยว่ามีอาการของโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ การรักษาเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากแบคทีเรียในระยะเริ่มต้นสามารถป้องกันภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงได้

Meningitis

อาการเยื่อหุ้มสมองอักเสบ

อาการเยื่อหุ้มสมองอักเสบในระยะเริ่มต้นอาจคล้ายกับไข้หวัดหรือไข้หวัดใหญ่ อาการอาจเกิดขึ้นภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมง หรืออาจใช้เวลาหลายวันในการแสดงอาการ

อาการที่มักจะแสดงออกในผู้ป่วยที่มีอายุมากกว่า 2 ปี ได้แก่ :

  • มีไข้สูงอย่างกะทันหัน
  • คอเคล็ด
  • ปวดศีรษะอย่างรุนแรง
  • ปวดศีรษะร่วมกับคลื่นไส้หรืออาเจียน
  • ไม่มีสมาธิ
  • อาการชัก  
  • ง่วงนอนหรือตื่นยาก
  • ไวต่อแสง
  • เบื่ออาหารหรือกระหายน้ำ
  • ผื่นที่ผิวหนัง

เมื่อไหร่ที่ควรไปพบแพทย์

คุณควรไปพบแพทย์ทันที หากคุณหรือคนในครอบครัวมีอาการของเยื่อหุ้มสมองอักเสบ เช่น :

  • มีไข้
  • ปวดศีรษะอย่างรุนแรงและต่อเนื่อง
  • มีอาการสับสน
  • อาเจียน
  • คอเคล็ด

เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียเป็นเรื่องร้ายแรงและอาจถึงแก่ชีวิตได้ภายในไม่กี่วัน หากไม่ได้รับการรักษาในทันทีอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการถูกทำลายของสมองอย่างถาวรหรือเสียชีวิตได้

จึงจำเป็นอย่างมากที่จะปรึกษาแพทย์ทันที หากสมาชิกในครอบครัวหรือคนรู้จักมีอาการเยื่อหุ้มสมองอักเสบ แพทย์อาจแนะนำให้รับประทานยาเพื่อหลีกเลี่ยงการติดเชื้อ

สาเหตุโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ

 การติดเชื้อไวรัสเป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของเยื่อหุ้มสมองอักเสบ รองลงมาด้วยการติดเชื้อแบคทีเรีย สาเหตุที่พบได้น้อยที่สุดคือการติดเชื้อราและปรสิต เนื่องจากการติดเชื้อแบคทีเรียอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ดังนั้นการระบุสาเหตุจึงเป็นสิ่งสำคัญของโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ

เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย

แบคทีเรียที่เข้าสู่กระแสเลือด เดินทางไปที่สมองและไขสันหลัง ทำให้เกิดอาการอักเสบอย่างเฉียบพลัน โดยแบคทีเรียอาจเข้าไปในเยื่อหุ้มสมองโดยตรงหรือเกิดจากการติดเชื้อในหูหรือไซนัสกะโหลกศีรษะร้าว หรือเกิดจากการผ่าตัดซึ่งมีโอกาสพบได้น้อยมาก

แบคทีเรียทที่แตกต่างกันไป อาจทำให้เกิดอาการแตกต่างกันไปดังนี้ :

  • Streptococcus pneumoniae (นิวโมคอคคั) แบคทีเรียนี้เป็นสาเหตุของเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียที่พบบ่อยที่สุดในสหรัฐอเมริกา มักทำให้เกิดโรคปอดบวม การติดเชื้อที่หูหรือไซนัส วัคซีนสามารถช่วยป้องกันการติดเชื้อนี้ได้      
  • Neisseria meningitidis (ไข้กาฬหลังแอ่น) แบคทีเรียนี้เป็นอีกสาเหตุหนึ่งของเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย แบคทีเรียเหล่านี้มักทำให้เกิดการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน ซึ่งอาจทำให้เกิดการติดเชื้อในกระแสเลือดได้ วัคซีนสามารถช่วยป้องกันการติดเชื้อได้ แต่ถึงแม้ว่าจะได้รับการฉีดวัคซีนแล้วก็ตามผู้ที่สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ที่เป็นโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบควรรับประทานยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันโรค      
  • Haemophilus influenzae (ฮีโมฟิลัส) แบคทีเรีย Haemophilus influenzae type b (Hib) เคยเป็นสาเหตุหลักของโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียในเด็ก แต่วัคซีนของ Hib ได้ลดจำนวนผู้ป่วยโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบชนิดนี้ลงไปเป็นจำนวนมาก      
  • Listeria monocytogenes (ลิสทีเรีย) แบคทีเรียเหล่านี้สามารถพบได้ในชีสที่ไม่ได้ผ่านการฆ่าเชื้อ เป็นการติดเชื้อที่พบได้ใน สตรีมีครรภ์ ทารกแรกเกิด ผู้สูงอายุและผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ Listeria สามารถผ่านรกเข้าไปได้ การติดเชื้อในช่วงตั้งครรภ์อาจส่งผลร้ายแรงต่อทารกได้      

เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากไวรัส

เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากไวรัสมักไม่รุนแรงและมักหายได้เอง กรณีส่วนใหญ่เกิดจากกลุ่มของไวรัสที่เรียกว่า เอนเทอโรไวรัส ซึ่งมักพบบ่อยในช่วงปลายฤดูร้อนและต้นฤดูใบไม้ร่วง ไวรัสชนิดอื่นๆ เช่น ไวรัสเริม ไวรัสเอชไอวี ไวรัสคางทูม ไวรัสเวสต์ไนล์ อาจทำให้เกิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากไวรัสได้

เยื่อหุ้มสมองอักเสบเรื้อรัง

แบคทีเรียและเชื้อราที่บุกรุกเยื่อและของเหลวรอบสมอง ทำให้เกิดอาการเยื่อหุ้มสมองอักเสบเรื้อรัง  เยื่อหุ้มสมองอักเสบเรื้อรังจะเกิดขึ้นตั้งแต่สองสัปดาห์ขึ้นไป อาการของเยื่อหุ้มสมองอักเสบเรื้อรัง คือ ปวดศีรษะ มีไข้ อาเจียน คล้ายกับอาการของเยื่อหุ้มสมองอักเสบเฉียบพลัน

เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อรา

เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อราเป็นเรื่องแปลกในสหรัฐอเมริกา มักเกิดจากการหายใจเอาสปอร์ของเชื้อราที่พบได้ในดิน ไม้ผุและมูลนก เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อราไม่ติดต่อจากคนสู่คน เยื่อหุ้มสมองอักเสบจาก Cryptococcal เป็นรูปแบบของเชื้อราที่พบได้ทั่วไป ซึ่งมีผลต่อผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น โรคเอดส์ ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตหากไม่ได้รับการรักษาด้วยยาต้านเชื้อรา โดยภาวะนี้สามารถเกิดขึ้นซ้ำได้หลังจากรักษาหายแล้ว

เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากปรสิต

ปรสิตสามารถทำให้เกิดอาการเยื่อหุ้มสมองอักเสบชนิดหายาก เรียกว่า eosinophilic meningitis เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากปรสิตอาจเกิดจากการติดเชื้อของพยาธิตัวตืดในสมอง (cysticercosis) หรือมาลาเรียในสมอง เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากอะมีบาเป็นอาการที่พบได้ยาก ปรสิตที่ทำให้เกิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบมักจะติดจากสัตว์ คนมักติดเชื้อจากการกินอาหารที่ปนเปื้อนพยาธิเหล่านี้ เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากปรสิตไม่แพร่กระจายระหว่างคน

สาเหตุเยื่อหุ้มสมองอักเสบอื่น ๆ

เยื่อหุ้มสมองอักเสบอาจเกิดจากสาเหตุอื่นๆที่ไม่เกี่ยวข้องกับการติดเชื้อ เช่น ปฏิกิริยาทางเคมี การแพ้ยา มะเร็งบางชนิด 

การรักษาเยื่อหุ้มสมองอักเสบ

ในการรักษาโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบนั้น แพทย์จะพิจารณาตามสาเหตุและชนิดของเชื้อที่ผู้ป่วยได้รับ โดยผู้ป่วยที่มีอาการเฉียบพลันแพทย์จะให้ยาปฎิชีวนะทางหลอดเลือดดำทันที นอกจากนี้แพทย์อาจยังให้เฝ้าระวังในเรื่องของอาการชัก และสมองบวม ซึ่งอาจเป็นอาการจากผลข้างเคียง ในบางกรณีที่ไม่รุนแรงแพทย์อาจให้พักรักษาตัวเองที่บ้านหลังจากจ่ายยาที่จำเป็น และผู้ป่วยควรนวนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอและดื่มน้ำมาก ๆ  

นอกจากนี้แล้วยังมีวัคซีนที่สามารถป้องกันโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบได้ นั่นคือ 

  • วัคซีนป้องกันโรคฮิบ (Haemophilus Influenzae Type B) นอกจากนี้แล้ววัคซีนนี้ยังสามารถป้องกันหูชั้นกลางอักเสบ ปอดอักเสบ และปวดบวม ข้ออักเสบ ได้ด้วยเช่นกัน
  • วัคซีน MMR ป้องกันโรคหัด คางทูม โรคหัดเยรมัน สามารถรักษาโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนของโรคเหล่านี้ได้
  • วัคซีน IPD คือวัคซีนป้องกันแบคทีเรียนิวโมคอกคัส ที่ก่อให้เกิดโรคปอดอักเสบ หูชั้นกลางอักเสบ การติดเชื้อในกระแสเลือด รวมทั้งโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
  • วัคซีนป้องกันโรคไข้กาฬหลังแอ่น โดยมักฉีดให้ผู้ที่จะเดินทางออกนอกประเทศ สามารถควบคุมโรคได้นานถึง 3 ปี 

นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *