วัยทอง (Menopause) : อาการ สาเหตุ การรักษา

วัยทอง (Menopause) : อาการ สาเหตุ การรักษา

08.10
1610
0

วัยทอง (Menopause) คือ ภาวะหมดประจำเดือนเป็นช่วงเวลาหนึ่งของรอบประจำเดือนซึ่งแต่ละคนมีประสบการณ์เกี่ยวกับภาวะหมดประจำเดือนที่แตกต่างกัน

ภาวะหมดประจำเดือนเกิดขึ้นหลายปีและเกิดขึ้นโดยแบ่งเป็น 3 ระยะดังต่อไปนี้ 

ระยะก่อนหมดประจำเดือนเป็นช่วงเวลาแหล่งการเปลี่ยนเเปลงไปสู่ภาวะหมดประจำเดือนซึ่งหมายถึง 12 เดือนหลังจากการมีประจำเดือนครั้งสุดท้าย

ระยะเริ่มหมดประจำเดือนคือระยะเวลา 12 เดือนหลังจากการมีประจำเดือนครั้งสุดท้ายหรือช่วงที่ประจำเดือนหายไปเนื่องจากการผ่าตัดอย่างเช่นการผ่าตัดนำรังไข่ออก

ระยะหลังหมดประจำเดือนหมายถึงระยะเวลาหลายปีที่หมดประจำเดือน เเม้ว่าจะไม่สามารถทราบได้ว่าภาวะหมดประจำเดือนจะสิ้นสุดเมื่อไหร่และระยะหลังหมดประจำเดือนจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ 

ภาวะหมดประจำเดือนสามารถเกิดได้นานเท่าไหร่ ค้นหาข้อมูลที่นี่

สัญญาณและอาการ หมดประจำเดือน

ในช่วงการเกิดภาวะหมดประจำเดือนมักมีอาการที่เกิดกับทั้งร่างกายและจิตใจเกิดขึ้นจึงเป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการต่างๆตามมา บางคนอาจเริ่มมีอาการก่อนหมดประจำเดือนหรือบางคนยังสามารถมีอาการเกิดขึ้นเรื่อยๆหลังจากหมดประจำเดือนเเล้ว

การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในระยะก่อนหมดประจำเดือนและช่วงหมดประจำเดือนได้แก่

Lower fertility ภาวะเจริญพันธุ์ลดลง

เมื่อผู้หญิงมีชีวิตอยู่มาถึงช่วงสุดท้ายของภาวะเจริญพันธุ์แต่ก่อนถึงหมดภาวะหมดประจำเดือนระดับฮอร์โมนเอสโทรเจนเริ่มลดลงซึ่งการลดลงของฮอร์โมนเอสโทรเจนนี้ทำให้มีโอกาสเกิดการตั้งครรภ์ได้ 

ประจำเดือนมาไม่ปกติ

อาการประจำเดือนมาไม่ปกติเป็นสัญญาเตือนอันดับเเรกซึ่งอาจมีอาการประจำเดือนมาน้อยกว่าปกติหรือไม่มาเลยซึ่งสามารถเกิดอาการประจำเดือนมามากกว่าปกติหรือน้อยกว่าปกติ เป็นสัญญาณเตือนว่าใกล้หมดประจำเดือนได้หากนำมาเป็นปัจจัยรวมกับอายุของผู้ป่วย

สำหรับผู้ใดก็ตามที่มีความกังวลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของรอบประจำเดือนควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาโอกาสในการตั้งท้องหรืออาจเกิดปัญหาสุขภาพบางอย่าง

ภาวะช่องคลอดเเห้งเเละอาการระคายเคือง

ภาวะช่องคลอดเเห้ง อาการคันเเละอาการระคายเคืองอาจเริ่มเกิดขึ้นระหว่างระยะเริ่มหมดประจำเดือนไปจนถึงภาวะหมดประจำเดือนซึ่งผู้ที่มีอาการเหล่านี้อาจมีอาการระคายเคืองช่องคลอดระหว่างการมีเพศสัมพันธ์ ดังนั้นหากเกิดผิวหนังแตกแยกออกจากกันสามารถทำให้เกิดความเสี่ยงในการติดเชื้อได้  

การอักเสบของผนังช่องคลอดทำให้ผนังช่องคลอดบางลง แห้งและเกิดการติดเชื้อ ซึ่งบางครั้งอากาเหล่านี้สามารถเกิดขึ้นในช่วงหมดประจำเดือน

การใช้สารให้ความชุ่มชื้น เจลหล่อลื่นและการใช้ยารักษาสามารถช่วยบรรเทาอาการช่องคลอดเเห้งและอาการอื่นๆได้ 

เรียนรู้เกี่ยวกับภาวะช่องคลอดติดเชื้อได้ที่นี่

อาการเเสบร้อนวูบวาบ

อาการร้อนวูบวาบในร่างกายมักเกิดขึ้นในช่วงหมดประจำเดือนโดยผู้หญิงที่อยู่ในวัยหมดประจำเดือนมักมีความรู้สึกเกิดความร้อนวูบวาบขึ้นภายในร่างกายส่วนบนทันทีทันใด โดยความรู้สึกนี้จะเริ่มขึ้นจากใบหน้า ลำคอหรือหน้าอกและลามไปยังส่วนอื่นๆของร่ายกาย

ความรู้สึกวูบวาบทำให้เกิดอาการดังต่อไปนี้

  • มีเหงื่ออกมาก
  • เกิดผื่นขึ้นที่ผิว

ผู้หญิงที่อยู่ในวัยหมดประจำเดือนบางคนเคยมีเหงื่อออกตอนกลางคืนและอาการหนาวสั่นเเบบเฉียบพลันแทนที่จะเป็นอาการร้อนแบบวูบวาบในร่างกาย

โดยปกติอาการร้อนวูบวาบมักเกิดขึ้นตอนปีเเรกที่ประจำเดือนหมดแต่อาการนี้สามารถเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องไปได้อีก 14 ปีหลังเกิดภาวะหมดประจำเดือนเเล้ว

อาการร้อนวูบวาบมีความรู้สึกเหมือนอะไร ค้นหาคำตอบที่นี่

ความผิดปกติของการนอนหลับ

ปัญหาการนอนหลับสามารถเกิดขึ้นในช่วงหมดประจำเดือนและอาจมีสาเหตุเกิดจาก

การออกกำลังกายที่เพียงพอและหลีกเลี่ยงการทานอาหารมื้อหนักก่อนนอนสามารถช่วยจัดการกับปัญหาเหล่านี้ได้แต่ถ้าหากอาการนี้ไม่หายไปควรไปพบเเพทย์เพื่อวินิจฉัยโรค

เกิดอารมณ์แปรปรวน

อาการซึมเศร้า อาการวิตกกังวลและการคิดในเเง่ลบเป็นลักษณะของภาวะอารมณ์ปกติที่เกิดขึ้นในช่วงหมดประจำเดือนซึ่งเป็นเรื่องปกติที่ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนจะมีอารมณ์หงุดหงิดเเละร้องไห้ตอนกลางคืน 

การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนและปัญหาการนอนหลับมีสาเหตุเกิดจากภาวะหมดประจำเดือนด้วยเช่นกัน นอกจากนี้อารมณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นจากภาวะหมดประจำเดือนเป็นสิ่งสามาถเกิดขึ้นได้เช่นกัน

การรักษาโรควัยทอง

ภาวะหมดประจำเดือนไม่ใช่ปัญหาทางด้านสุขภาพแต่เป็นเรื่องธรรมชาติ อย่างไรก็ตามภาวะนี้ทำให้เกิดการเปลี่ยนของสภาพร่างกายหรือจิตใจที่ไม่พึงประสงค์ตามมา

ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนมักมีความกังวลกับอาการต่างๆที่เกิดขึ้นจึงไปพบเเพทย์เพื่อทำการรักษาดังนั้นแพทย์จึงแนะนำให้ทำตามวิธีดังต่อไปนี้

การรักษาบำบัดที่บ้าน

การรักษาประเภทนี้จะช่วยทำให้ระดับฮอร์โมนในร่างกายสมดุลโดยการให้ยาฮอร์โมนเอสโทรเจนเพิ่มและลดการสร้างฮอร์โมนโพรเจสเทอโรน 

การรักษาบำบัดที่บ้านสามารถทำได้หลายแบบเช่นการใช้ยาทาเฉพาะที่ซึ่งสามารถลดการเกิดอาการร้อนวูบวาบเเละอาการอื่นที่เกิดขึ้นจากภาวะหมดประจำเดือน

อย่างไรก็ตามภาวะหมดประจำเดือนอาจทให้เกิดโรคเเละปัญหาทางด้านสุขภาพบางอย่าง

ผู้ที่ไม่เคยได้รับการรักษาฮอร์โมนบำบัดอาจมีความเสี่ยงของการเกิดปัญหาทางสุขภาพสูง รวมไปถึงผู้ที่มีคนในครอบครัวเคยมีประวัติเป็นโรคเหล่านี้ ได้แก่ 

เป็นสิ่งสำคัญที่ควรพูดคุยเกี่ยวกับประโยชน์และความเสี่ยงของวิธีบำบัดด้วยฮอร์โมนกับแพทย์ก่อนใช้วิธีรักษาด้วยวิธีนี้

สาเหตุ

ภาวะหมดประจำเดือนเป็นช่วงเวลาหนึ่งของชีวิตไม่ใช่โรคที่ทำให้เจ็บป่วย ผู้หญิงส่วนใหญ่เคยมีประสบการณ์กับภาวะหมดประจำเดือน อย่างไรก็ตามการผ่าตัดศัลยกรรมและปัจจัยอื่นๆสามารถทำให้เกิดภาวะหมดประจำเดือนได้เร็วขึ้น

ภาวะหมดประจำเดือนโดยธรรมชาติ

ภาวะหมดประจำเดือนหมายถึงช่วงท้ายของการเจริญพันธุ์ของวัยรุ่นซึ่งเกิดจากธรรมชาติ

เนื่องจากภาวะหมดประจำเดือนระดับของฮอร์โมนเเฮสโทรเจนและโพรเจสเทอโรนจะลดลงเพราะฮอร์โมนเหล่านี้ไม่ถูกสร้างขึ้นเพื่อส่งเสริมภาวะเจริญพันธุ์อีกต่อไป ซึ่งการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนนี้เป็นการกระตุ้นทำให้เกิดภาวะหมดประจำเดือน

การผ่าตัดเเละการรักษา

หากผู้ใดเคยได่รับการผ่าเพื่อเอารังไข่ออกมาก่อนพวกเขาจะอยู่ในช่วงหมดประจำเดือน หากผ่าตัดเอารังไข่ออกก่อนช่วงวัยกลางคนแพทย์จะเรียกภาวะนี้ว่า “ภาวะหมดประจำเดือนก่อนวัยอันควร”

โดยแพทย์อาจเเนะนำให้รักษาด้วยวิธีฮอร์โมนบำบัดเพื่อบรรเทาอาการต่างๆที่เกิดขึ้นแต่แพทย์อาจจะไม่เเนะนำให้ใช้วิธีนี้เสมอไป สิ่งสำคัญคือการพูดคุยเกี่ยวกับผลดีเเละผลเสียของการรักษาด้วยวิธีนี้ก่อนเข้ารับการรักษา 

วิธีการรักษาอย่างเช่นการใช้เคมีบำบัดและการฉายเเสงบำบัดสามารถทำให้รังไข่หยุดทำงานได้ทั้งแบบชั่วคราวเเละถาวร ซึ่งโอกาสของการเกิดภาวะรังไข่หยุดทำงานนี้ขึ้นอยู่กับอายุของบุคคลและตำแหน่งของร่างกายที่ได้รับการรักษาด้วยเคมีบำบัดเเละการฉายเเสง 

ภาวะหมดประจำเดือนก่อนวัยอันควร

ผู้หญิงบางคนอาจมีภาวะหมดประจำเดือนก่อนวัยอันควรหรือมีโรคเเทรกซ้อนอื่นเกิดขึ้นๆ

แพทย์จะวินิจฉัยว่าเป็นภาวะหมดประจำเดือนก่อนวัยอันควรเมื่อประจำเดือนหมดก่อนอายุ 40 ปี และประจำเดือนเริ่มหมดที่ช่วงอายุ 40-45 ปีสามารถเรียกว่าภาวะหมดประจำเดือนก่อนวัยอันควรได้เช่นกันซึ่งมีโอกาสเกิดในผู้หญิงได้ 5%  

ภาวะหมดประจำเดือนก่อนวัยอันควรเกิดจากปัจจัยดังต่อไปนี้

  • ความผิดปกติทางพันธุกรรมที่ส่งผลต่อโครโมโซมเช่นโรค Turner’s syndrome
  • โรคเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย
  • เป็นกรณีส่วนน้อยมากที่เกิดจากการติดเชื้อเช่นโรควัณโรคหรือไข้มาลาเรียหรือโรคคางทูม

ผู้ที่มีความผิดปกติของประจำเดือนที่เปลี่ยนแปลงไปซึ่งเกิดขึ้นก่อนอายุ 45 ปีควรไปพบเเพทย์ 

นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *