คางทูม (Mumps) : อาการ สาเหตุ การรักษา

คางทูม (Mumps) : อาการ สาเหตุ การรักษา

27.09
1989
0

โรคคางทูม (Mumps) คือการติดเชื้อไวรัสที่ต่อมน้ำลายมักเกิดขึ้นในเด็ก อาการที่ชัดเจนที่สุดคือการบวมของต่อมน้ำลายส่งผลให้คางมีอาการบวมออกมา 

สาเหตุของโรคคางทูม

คางทูมเกิดจากการติดเชื้อจากไวรัสคางทูม สามารถติดต่อโดยสารคัดหลั่งในระบบทางเดินหายใจ (เช่นน้ำลาย) จากบุคคลที่ติดเชื้อ  

โดยโรคคางทูมจะมีการแพร่กระจายเชื้อได้ดังนี้

  • การไอหรือการจาม
  • ใช้ช้อนส้อมและหรือดื่มน้ำแก้วเดียวกับผู้ติดเชื้อ
  • การจูบกับผู้ที่ติดเชื้อ

ผู้ที่ติดเชื้อไวรัสคางทูมสามารถแพร่เชื้อได้ 15 วัน (6 วันก่อนเริ่มแสดงอาการและไม่เกิน 9 วันหลังจากมีอาการ) 

อาการของโรคคางทูม

โดยปกติอาการคางทูมจะแสดงอาการภายใน 2-3 สัปดาห์หลังจากผู้ป่วยได้รับเชื้อ แต่ก็มีผู้ป่วยถึง 20 เปอร์เซ็นต์ที่ได้รับเชื้อไวรัสแล้วไม่ได้แสดงอาการใด ๆ เลย

อาการเริ่มแรกของคางทูมอจจะคล้ายอาการของไข้หวัดใหญ่ ที่มีอาการดังนี้:

  • ปวดเมื่อตามตัว
  • ปวดศีรษะ
  • เบื่ออาหาร คลื่นไส้
  • รู้สึกอ่อนล้า
  • มีไข้

หลังจากอาการเริ่มแรกของคางทูมเกิดขึ้นไม่กี่วัน  อาการหลักคือต่อมน้ำลายบริเวณคางและแก้มจะมีอาการบวม และทำให้เกิดอาการเจ็บปวด   

นอกจากนี้ยังมีอาการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องคือ:

  • แก้มช่วงล่างมีอาการปวดบวม
  • เจ็บปวดเมื่อกลืนอาหาร
  • ไม่สามารถกลืนอาหารได้สะดวก
  • มีไข้สูงกว่า 39 องศา
  • ปากแห้ง
  • เจ็บปวดบริเวณข้อต่อ

คางทูมสามารถเกิดขึ้นได้ในผู้ใหญ่ โดยอาการจะเหมือนกับคางทูมในเด็ก แต่บางครั้งอาจจะมีอาการข้างเคียงที่ร้ายแรงกว่า 

อาการแทรกซ้อนของโรคคางทูม

อาการแทรกซ้อนนั้นมักจะเกิดขึ้นในผู้ใหญ่มากกว่าในเด็ก โดยอาการจะแสดงให้เห็นดังนี้:

  • อัณฑะบวมและมีอาการเจ็บ โดยอาการนี้มักเกิดขึ้น 1 ใน 5 ของผู้ชายที่เป็นโรคคางทูม โดยปกติอาการบวมจะลดลงภายใน 1 สัปดาห์ 
  • รังไข่บวม อาการนี้เกิดขึ้นได้ 1 ใน 20 คน อาการบวมจะบรรเทาลงเมื่ออาการดีขึ้น
  • เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากไวรัส – นี่เป็นหนึ่งในภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้นได้ยาก โดยมีสาเหตุเนื่องจากไวรัสแพร่กระจายทางกระแสเลือดและติดเชื้อที่ประสาทส่วนกลางของร่างกาย 
  • ตับอ่อนอักเสบ จะมีอาการปวดในช่องท้องส่วนบน อาการนี้จะเกิดขึ้น 1 ใน 20 รายและมักไม่รุนแรง

หากหญิงตั้งครรภ์เป็นโรคคางทูมในช่วง 12-16 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์อาจะก่อให้เกิดความเสี่ยงในการแท้งบุตรเพิ่มขึ้นเล็กน้อย  

ภาวะแทรกซ้อนของโรคคางทูมที่หายาก ได้แก่ :

  • โรคไข้สมองอักเสบ – สมองบวม ปัญหาทางระบบประสาท ในบางกรณีอาจถึงแก่ชีวิตได้ แต่เกิดขึ้นได้น้อยมาก  คือ 1 ใน 6,000 ราย เท่านั้น
  • การสูญเสียการได้ยิน – สามารถเกิดขึ้นได้แต่ยากมาก โดยเกิดขึ้นเพียงแค่ 1 ใน 15,000 คน เท่านั้น

การรักษาโรคคางทูม

เนื่องจากคางทูมเป็นการติดเชื้อไวรัส จึงไม่สามารถใช้ยาปฏิชีวนะในการรักษาได้ และในปัจจุบันยังไม่มียาต้านไวรัสที่สามารถรักษาคางทูมได้

วิธีรักษาโรคคางทูมจะเป็นการรักษาตามอาการจนกว่าการติดเชื้อจะหมดไปและร่างกายได้สร้างภูมิคุ้มกัน เหมือนกับหวัด ในโดยทั่วไปแล้วคางทูมจะหายภายในเวลาสองสัปดาห์ 

วิธีบรรเทาและรักษาคางทูมเบื้องต้นคือ:

  • ดื่มของเหลวมาก ๆ แต่ควรหลีกเลี่ยงน้ำผลไม้เพราะจะกระตุ้นการผลิตน้ำลายทำให้เกิดอาการเจ็บบริเวณคางทูมได้
  • ประคบเย็นบริเวณที่ปวดบวม
  • รับประทานอาการอ่อน ๆ 
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
  • กลั้วคอด้วยน้ำเกลืออุ่น ๆ 
  • ทานยาแก้ปวด เช่นอะเซตามิโนเฟน หรือไอบูโพรเฟน

นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *