อาการคัดจมูก (Nasal Congestion) เกิดขึ้นเมื่อหลอดเลือดและเยื่อบุโพรงไซนัสขยายตัวทำให้ทางเดินหายใจบวมขึ้น สำหรับอาการคัดแน่นจมูกที่ไม่รุนเเรงสามารถหายเองได้ มีวิธีการรักษาอาการคัดจมูกหลายวิธี นอกจากนี้ยังสามารถรักษาและการดูแลรักษาตนเองที่บ้านได้เช่นกัน
อาการคัดจมูกสามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกวัย แต่บางคนอาจมีอาการคัดแน่นจมูกจนหายใจไม่ออกเกิดขึ้นบ่อยกว่าคนปกติ
ตัวอย่างเช่นคนที่เป็นโรคไซนัสอักเสบ ซึ่งโรคนี้มักเกิดขึ้นกับเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปีและผู้ใหญ่ที่มีอายุ 25-64 ปี โดยส่วนใหญ่เกิดขึ้นกับเพศหญิง
ในบทความนี้เราจะพาทุกคนไปเรียนรู้เกี่ยวกับข้อมูลของอาการคัดจมูกและวิธีรักษาเมื่อเกิดอาการดังกล่าว
สาเหตุของภาวะคัดจมูก
การติดเชื้อและปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมเป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการคัดจมูกได้
คำศัพท์ทางการแพทย์สำหรับโรคโพรงจมูกและไซนัสอักเสบเรียกว่า “rhinosinusitis” โดยสาเหตุของโรคโพรงไซนัสอักเสบมีหลายประเภทดังต่อไปนี้
-
โรคโพรงไซนัสอักเสบติดเชื้อ : เกิดจากการติดเชื้อไวรัสไข้หวัดหรือระบบทางเดินหายใจส่วนต้นอักเสบ
-
โรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ : เป็นอาการอักเสบที่ถูกกระตุ้นโดยสารก่อภูมิแพ้หรืออยู่ในสภาพแวดล้อมที่เต็มไปด้วยสารที่ทำให้เกิดอาการระคายเคือง
-
โรคภูมิแพ้ตามฤดูกาล : เป็นอาการภูมิแพ้ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาลที่เต็มไปด้วยสารก่อภูมิแพ้เช่นเกสรดอกไม้และดอกหญ้า ที่มักเกิดขึ้นในฤดูใบไม้ผลิหรือใบไม้ร่วง
-
โรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ซึ่งมีอาการได้ตลอดปี : เป็นอาการภูมิแพ้ที่เกิดขึ้นได้ทั้งปีและมีสาเหตุเกิดจากการแพ้เชื้อรา ขนสัตว์ ไรฝุ่น และเศษแมลงสาบ
-
โรคไซนัสอักเสบที่ไม่ได้เกิดจากอาการแพ้ : เป็นอาการแพ้ที่เกิดจากสารปนเปื้อนในอากาศเช่น ควันบุหรี่ สารเคมีและมลพิษในอากาศ
สำหรับผู้ที่มีภูมิคุ้มกันร่างกายอ่อนแอ เช่น ผู้ป่วยโรคเอชไอวีและโรคเบาหวานหรือผ่านการทำเคมีบำบัด อาจมีอาการคัดจมูกเนื่องจากภาวะติดเชื้อได้ง่ายกว่าคนปกติทั่วไป
สาเหตุอื่นๆที่ทำให้เกิดอาการคัดจมูกได้แก่การติดเชื้อ อาการระคายเคืองและสารก่อภูมิแพ้ ซึ่งได้แก่
-
ท่าทางของร่างกาย : การนอนอาจทำให้หายใจลำบากและร่างกายไม่สามารถขับของเหลวออกจากจมูกได้ ดังนั้นจึงควรเคลื่อนไหวร่างกายเพื่อบรรเทาอาการคัดจมูก
-
โครงสร้างภายในโพรงไซนัส : ได้แก่ริดสีดวงจมูก ผนังกั้นช่องจมูกคด ทางเดินหายใจแคบลง เนื้องอกหรือมีถุงน้ำเกิดขึ้นในโพรงจมูกผิดปกติ
-
ปัญหาทางสุขภาพที่ทำให้น้ำมูกไหลลดลงเช่น โรคเสมหะข้นในปอดและการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติของถุงน้ำดีหรือถุงน้ำดีหดตัวผิดปกติ
ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับผนังกั้นจมูกคดมักมีอาการคัดจมูกอย่างรุนแรง ผนังกั้นช่องจมูกมีลักษณะบางทำหน้าที่แบ่งช่องจมูกออกเป็นของฝั่งได้แก่ช่องจมูกด้านซ้ายและขวา ผนังกั้นจมูกคดหมายถึงผนังด้านใดด้านหนึ่งเกิดภาวะคดโค้งทำให้หายใจลำบาก แม้ว่าไม่ได้เป็นไข้หรือสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้
ภาวะคัดจมูกในเด็ก
ผู้ปกครองหรือพี่เลี้ยงเด็กควรสังเกตุอาการคัดจมูกในเด็กเล็กหรือเด็กทารกว่ามีอาการดังต่อไปนี้หรือไม่
-
มีปัญหาเกี่ยวกับการทานอาหารหรือเบื่ออาการ
-
หงุดหงิดหรือรำคาญง่ายมากขึ้น
-
มีปัญหาเกี่ยวกับการหายใจหรือมีเสมหะมาก
-
มีปัญหาเกี่ยวกับการนอนหลับหรือนอนหลับยาก
อาการคัดจมูกเกี่ยวข้องกับโรคโควิด 19 หรือไม่
ข้อมูลล่าสุดจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่ามีผู้ป่วยติดเชื้อโคโรน่าไวรัสเพียง 5% เท่านั้นที่มีอาการคัดแน่นจมูก นอกจากนี้ยังมีอาการอื่นร่วมด้วยได้แก่
วิธีรักษาอาการคัดจมูก
วิธีที่ดีที่สุดสำหรับการรักษาอาการคัดจมูกขึ้นอยู่ว่าอาการคัดจมูกเกิดจากอะไรโดยมีทางเลือกในการรักษาได้แก่
-
ยาปฏิชีวนะชนิดทานหรือใช้ภายนอก ถ้าหากเกิดการติดเชื้อจากแบคทีเรีย
-
ยาพ่นจมูกคอร์ติโคสเตียรอยด์
-
ยาละลายเสมหะ
-
การรักษาด้วยภูมิคุ้มกันบำบัด
-
การผ่าตัด
การดูแลรักษาอาการคัดจมูกที่บ้าน
วิธีรักษาหรือบรรเทาอาการคัดจมูกเองที่บ้านมีดังต่อไปนี้
-
ดื่มน้ำให้เพียงพอ
-
อาบน้ำอุ่น
-
จิบน้ำร้อนหรือใช้ผ้าขนหนูชุบน้ำอุ่นวางบนหน้าผาก
-
ทานยาที่มีจำหน่ายทั่วไปเช่นยาต้านฮีสทามีนหรือยาหดหลอดเลือด
-
พยายามล้างจมูก
-
ใช้ยาที่ช่วยบรรเทาอาการบวมหรือปวดโพรงไซนัส
-
ประคบเย็นบริเวณที่เกิดอาการปวดบนใบหน้า
-
ทานอาหารที่อุดมไปด้วยโปรไบโอติกเช่นโยเกิร์ตหรือกิมจิ
-
ทานอาหารเสริมเพื่อส่งเสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันเช่น แร่ธาตุซิงค์ วิตามินซี หรือสารสกัดเจอเรเนียมและสารสกัดเอ็กไคนาเซีย
ข้อควรระวังที่ผู้เชี่ยวชาญได้เตือนไว้คือไม่ควรใช้สเปร์ยพ่นจมูกและยาหดหลอดเลือดมากเกินไปเนื่องจากสามารถทำให้เกิดอาการคัดจมูกได้เช่นกัน
อาการคัดจมูกเกิดขึ้นได้นานเท่าไหร่
คนที่เป็นไข้หวัดทั่วไปมักมีอาการคัดจมูกลดลงและหายป่วย เมื่อเวลาผ่านไป1-2 สัปดาห์
ถ้าหากเกิดอาการคัดจมูกเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย แพทย์จะให้ยาปฏิชีวนะเป็นเวลา 10-14 วัน แต่ถ้าหากอาการคัดจมูกหายไปภายในเวลา 7 วัน ยังคงต้องทานยาปฏิชีวนะตามที่แพทย์จัดให้ทั้งหมด
ถ้าหากอาการแพ้เป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการคัดจมูก ผู้ที่มีอาการแพ้ควรระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการสัมผัสสารก่อภูมิแพ้
ถ้าหากปัญหาผนังกั้นจมูกคดทำให้เกิดอาการคัดจมูก แพทย์แนะนำให้ทำการผ่าตัดเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
ควรไปพบแพทย์เมื่อไหร่
ถ้าหากมีอาการคัดจมูกเกิดขึ้นและไม่มีอาการดีขึ้นภายในระยะเวลา 10-14 วัน หรือมีอาการคัดจมูกรุนแรงขึ้นภายใน 7-10 วัน เนื่องจากการติดเชื้อในโพรงไซนัส ในกรณีควรไปปรึกษาแพทย์ทันที
นอกจากนี้ควรไปพบเเพทย์ ถ้าหากอาการคัดจมูกไม่ดีขึ้นหลังจากทำการรักษาตนเองและมีอาการเหล่านี้เกิดขึ้นร่วมด้วย
-
มีไข้สูง
-
มีน้ำมูกข้นเเละมีสีผิดปกติ
-
มีปัญหาเกี่ยวกับการหายใจ
การป้องกัน
ข้อมูลจากสถาบันโรคหอบหืดและภูมิแพ้แห่งสหรัฐอเมริการะบุว่าการป้องกันอาการคัดจมูกที่ดีที่สุดคือการหลีกเลี่ยงการสัมผัสสารก่อภูมิแพ้และเชื้อโรคต่างๆ โดยสามารถปฏบัติตามวิธีดังต่อไปนี้
-
ล้างมือด้วยสบู่และน้ำสะอาดเป็นประจำ
-
ทำความสะอาดที่นอนและผ้าปูที่นอนด้วยน้ำยาซักผ้าและน้ำร้อน
-
ปิดหน้าต่างและประตูในช่วงฤดูที่มีเกสรหรือเชื้อไรฝุ่นในอากาศจำนวนมาก โดยเฉพาะช่วงฤดูใบไม้ร่วงหรือใบไม้ผลิ
-
ดูดฝุ่นเป็นประจำ
-
หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้ที่มีอาการป่วย
บทสรุป
อาการคัดจมูกอาจมีสาเหตุเกิดจากอาการแพ้และการติดเชื้อ รวมถึงโครงสร้างผิดปกติของโพรงไซนัสและปัญหาเกิดปัญหากับอวัยวะอื่นๆในร่างกาย
สำหรับอาการคัดจมูกทั่วไปส่วนใหญ่เเล้ว ผู้ที่มีอาการนี้สามารถดูแลรักษาตนเองได้ที่บ้าน อย่างไรก็ตามหากเกิดการติดเชื้อจากแบคทีเรียควรได้รับยาปฏิชีวนะ นอกจากนี้ผู้ที่มีปัญหาผนังกั้นจมูกคด ควรเข้ารับการผ่าตัดเพื่อทำให้ทางเดินหายใจเป็นปกติ
ถ้าหากมีอาการคัดจมูกอย่างรุนแรงในระหว่างตั้งครรภ์ ควรไปพบเเพทย์ทันที
นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก