โนโรไวรัส (Norovirus) คือโรคที่ร่างกายติดเชื้อจากเชื้อโนโรไวรัส และส่งผลให้เกิดอาการเจ็บป่วยเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร ลำไส้ ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการท้องเดิน
โนโรไวรัสเป็นสาเหตุทำให้ให้คนเราเจ็บป่วยเป็นโรคกระเพาะและลำไส้อักเสบ
ส่วนใหญ่ โนโรไวรัสทำให้เกิดการติดเชื้อในช่วงฤดูหนาว แต่ก็สามารถพบได้ตลอดทั้งปี
ในบทความนี้ จะอธิบายถึงอาการและสาเหตุของโนโรไวรัสและอธิบายวิธีการรักษาและป้องกันการเพื่อไม่ให้เกิดติดเชื้อ
โนโรไวรัสคืออะไร
โนโรไวรัสเป็นไวรัสใน family Caliciviridae ไวรัสเหล่านี้เป็นตัวที่มีส่วนทำให้เกิดการระบาดของไวรัสกระเพาะและลำไส้อักเสบมากถึง 90 เปอร์เซนต์ และเกือบ 50 เปอร์เซนต์ของผู้ป่วยทั่วโลก
โนโรไวรัสแพร่กระจายผ่านทางอุจจาระและอาเจียนของคนและสัตว์ที่มีการติดเชื้อไวรัสชนิดนี้ คนเราสามารถติดเชื้อไวรัสได้โดย:
-
บริโภคอาหารที่ปนเปื้อน
-
ดื่มน้ำที่ปนเปื้อน
-
ใช้มือที่สัมผัสกับผู้ติดเชื้อมาสัมผัสปากของตัวเอง
การกำจัดโนโรไวรัสอาจเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยาก เนื่องจากเชื้อไวรัสชนิดนี้ สามารถอยู่รอดได้ในอุณหภูมิที่ร้อนและเย็น และยังสามารถทนทานต่อสารฆ่าเชื้อได้หลายชนิดอีกด้วย
โนโรไวรัสจะมีการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมอย่างต่อเนื่อง ด้วยเหตุนี้คนเรา จึงมีแนวโน้มที่จะติดเชื้อโนโรไวรัสชนิดนี้ได้อย่างน้อยหนึ่งครั้งในช่วงชีวิต แม้ว่าอาการในแต่ละครั้งจะไม่รุนแรงนักก็ตาม
อาการของการติดเชื้อโนโนไวรัส
โดยทั่วไปอาการแรกของโนโรไวรัสคือคลื่นไส้
อาการทั่วไปอื่นๆ ได้แก่ :
-
ท้องเสีย ท้องร่วง
-
รู้สึกไม่สบายและเซื่องซึม
-
ไข้และหนาวสั่นซึ่งมักไม่รุนแรง
-
ปวดเมื่อยตามร่างกาย
ในช่วงแรกของการติดเชื้อ ผู้ป่วยจะมีอาการไม่สบายตัวและอาเจียน โดยจะอาเจียนหลายครั้งต่อวัน ซึ่งมักจะรุนแรงและไม่มีการเตือนล่วงหน้า
โรคนี้จะเป็นอยู่นานประมาณ 1-3 วัน และจะเริ่มแสดงอาการช่วงระหว่าง 12-48 ชั่วโมง หลังการติดเชื้อ แต่บางกรณีอาจมีอาการท้องร่วงนานมากกว่า 3 วัน
สิ่งสำคัญคือต้องรู้อีกอย่างคือ หลังจากรักษาอาการนี้หายแล้ว ไวรัสยังสามารถแพร่กระจายทางอุจจาระและอาเจียนของผู้ป่วย (ที่หายแล้ว)ได้ต่อไปอีก นานถึง 2 สัปดาห์
การรักษาอาการติดเชื้อโนโรไวรัส
ไม่มีการรักษาที่เป็นการรักษาโรคนี้เป็นการเฉพาะ แต่แพทย์จะมุ่งเน้นไปที่การป้องกันภาวะขาดน้ำ(Dehydration) และควบคุมอาการของผู้ป่วยแทน
อย่าอดอาหาร เพราะการอดอาหารจะทำให้การฟื้นตัวของผู้ป่วยช้าลงกว่าที่ควรจะเป็น แต่ควรรับประทานอาหารอ่อนๆ ที่ย่อยง่าย เช่น ข้าว ขนมปัง ซุป หรือ พาสต้า เป็นต้น เด็กอ่อนควรรับประทานอาหารตามปกติ และควรรับประทานให้ครบทุกมื้อ
การอาเจียนและท้องร่วงอาจทำให้เกิดภาวะขาดน้ำ ต้องแนใจว่าผู้ป่วยได้ดื่มน้ำชดเชยกับน้ำส่วนที่สูญเสียไปจากท้องร่วงหรืออาเจียนอย่างเพียงพอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ป่วยที่เป็นผู้สูงอายุหรือเด็กอ่อน เพราะผู้ป่วยในช่วงวัยดังกล่าวเป็นวัยที่อ่อนไหวต่อการขาดน้ำ ซึ่งจะสามารถเกิดภาวะขาดน้ำได้เร็วกว่าวัยอื่นๆ
ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรค
ปัจจัยต่อไปนี้อาจจะทำให้ผู้ที่มีโอกาสที่จะติดเชื้อโนโรไวรัสมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อเพิ่มขึ้น
- มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ ตัวอย่างเช่น ผู้ที่ได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะ และผู้ติดเชื้อเอชไอวี (HIV)
- สมาชิกในบ้านมักจะรับประทานอาหารไม่สะอาด หรือปรุงดิบ
- อาศัยอยู่กับเด็กที่อยู่ในศูนย์ดูแลเด็กเล็กหรือก่อนวัยเรียน
- พักในโรงแรม เรือสำราญ หรือรีสอร์ท ที่มีผู้คนจำนวนมากมารวมกัน
- อาศัยอยู่ในชุมชนปิดหรือกึ่งปิด เช่น บ้านพักคนชรา โรงพยาบาล หรือศูนย์บ้านพักคนชรา
ผู้ป่วยที่หายจากการติดเชื้อนี้แล้ว จะมีภูมิต้านทานโรคนี้เพิ่มขึ้นชั่วคราว ซึ่งจะมีภูมิต้านทานอยู่นานต่อไปประมาณ 2-3 ปี
สาเหตุของการติดเชื้อโนโรไวรัส
-
การรับประทานอาการที่ปนเปื้อน
-
น้ำแข็งที่ปนเปื้อนเชื้อโรค
-
อาหารทะเล
-
อาหารสำเร็จรูป เช่น สลัด ขนมคุ้กกี้ ผลไม้ และแซนวิช ที่คนทำอาหารเหล่านี้มีเชื้อโนโรไวรัสติดอยู่ที่มือ ในขณะทำอาหาร
-
อาหารที่มีการปนเปื้อนด้วยอุจจาระหรืออาเจียนของผู้ที่ติดเชื้อโนโรไวรัสปนอยู่
นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา
-
https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/norovirus/symptoms-causes/syc-20355296
-
https://www.webmd.com/food-recipes/food-poisoning/norovirus-symptoms-and-treatment
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก