ซิสต์ที่รังไข่ หรือ ถุงน้ำในรังไข่ (Ovarian Cyst) เกิดขึ้นจากการสะสมของของเหลวในเยื่อหุ้มบาง ๆ ที่เกิดขึ้นในรังไข่ ขนาดมีตั้งแต่ขนาดเล็กเท่าเม็ดถั่วไปจนถึงขนาดใหญ่กว่าผลส้ม
ซิสต์เป็นถุงที่มีโครงสร้างแบบปิด ซึ่งมีเยื่อหุ้มล้อมรอบ มันคือถุงน้ำที่มีความผิดปกติ ลักษณะคล้าย ๆ กับถุงหนอง ข้างในอาจมี ของเหลว แก๊ส หรือ ของแข็งเล็ก ๆ อยู่ข้างใน รอบ ๆ ซิสต์จะมีผนังซิสต์ (cyst wall)ล้อมไว้อยู่
ซิสต์นั้นแตกต่างจากฝีตรงที่มันไม่ได้มีน้ำหนองอยู่ภายใน
ส่วนมากแล้ว ถุงน้ำในรังไข่จะเล็กและไม่เป็นอันตราย พบมากสุดในช่วงวัยเจริญพันธุ์ และสามารถหายไปเมื่อไหร่ก็ได้
ปกติแล้วจะไม่มีอาการ หรือสัญญาณต่าง ๆ แต่บางครั้งซิสต์รังไข่นี้อาจทำให้เกิดความเจ็บปวดและมีเลือดออกได้ หากซิสต์มีขนาดใหญ่กว่า 5 เซนติเมตร อาจต้องทำการผ่าตัดเพื่อเอาออก
สาเหตุของถุงน้ำในรังไข่
ซิสต์ในรังไข่นั้นมีอยู่ 2 ชนิดหลัก ๆ ดังนี้:
-
ซิสต์ชนิดที่ไม่เป็นอันตราย (Functional ovarian cysts) เป็นชนิดที่พบได้บ่อย ซิสต์ชนิดนี้เป็นส่วนหนึ่งในวงจรการมีรอบเดือนของผู้หญิงและเกิดขึ้นแค่เพียงช่วงสั้น ๆ
-
ถุงน้ำในรังไข่ที่เป็นเนื้องอก (Pathological cysts) ซิสต์เหล่านี้เกิดขึ้นในรังไข่ อาจไม่เป็นอันตรายหรือเป็นมะเร็ง
สาเหตุของซิสต์ทั้งสองชนิดนั้นต่างกัน ดังนี้:
ซิสต์ชนิดที่ไม่เป็นอันตราย Functional ovarian cysts
ซิสต์ที่ไม่เป็นอันตรายมี 2 ชนิด คือ:
1) ซิสต์ถุงไข่ (Follicular cysts)
ซิสต์ฟองไข่เป็นชนิดที่พบได้บ่อยที่สุด ผู้หญิงมีรังไข่สองรัง ไข่ที่เจริญแล้วจะเคลื่อนที่จากรังไข่ไปสู่มดลูก ไข่ถูกสร้างขึ้นในถุงไข่ ซึ่งมีของเหลวอยู่เพื่อที่จะปกป้องไข่ที่กำลังเจริญเติบโต เมื่อไข่ถูกปล่อยออกมาแล้ว ถุงไข่นั้นจะสลายไป
ในบางกรณี ถุงไข่ไม่กำจัดของเหลวและฝ่อไปหลังจากที่ไข่ถูกปล่อยออกไปแล้ว หรือไม่ปล่อยไข่ออกไป ถุงไข่ก็จะบวมขึ้นและเต็มไปด้วยของเหลว กลายเป็นซีสต์ฟองไข่
ซิสต์ลูกนึงสามารถเกิดขึ้นได้ และหายไปเองในไม่กี่สัปดาห์
2) ซิสต์ถุงน้ำรังไข่ลูเทียม (Luteal ovarian cysts)
ซิสต์ชนิดนี้พบได้ไม่บ่อย หลังจากที่ไข่ถูกปล่อยแล้ว จะมีเนื้อเยื่อที่เหลืออยู่ เรียกว่า คอร์ปัสลูเทียม ซิสต์ลูเทียมเกิดขึ้นจากการที่คอร์ปัสลูเทียมเต็มไปด้วยเลือด ปกติซิตส์ชนิดนี้จะหายไปในเวลาไม่กี่เดือน อย่างไรก็ตาม การแตกของมันอาจทำให้เกิดความเจ็บปวดและเลือดออกภายใน
ซิสต์ที่เป็นอันตราย (Pathological cysts)
ซิสต์ที่เป็นอันตรายมี 2 ชนิด คือ:
1) เดอร์มอยด์ซิสต์ (cystic teratomas)
เดอร์มอยด์ซิสต์นั้นปกติแล้วเป็นเนื้องอกที่ไม่เป็นอันตราย มันเกิดขึ้นจากเซลล์ที่สร้างไข่ ซิสต์ชนิดนี้ต้องทำการผ่าตัดเพื่อเอาออก พบมากที่สุดในกลุ่มผู้หญิงอายุต่ำกว่า 30 ปี
2) ซิสต์ตาดีโนมา
ซิสต์ชนิดนี้เกิดขึ้นจากเซลล์ที่เป็นเยื่อหุ้มของรังไข่ บางอันอาจจะมีสารคล้ายเมือกเหนียว ในขณะที่บางอันอาจมีน้ำข้างใน
แทนที่จะเกิดขึ้นในรังไข่ ซิสต์ตาดีโนมามักจะเจริญนอกรังไข่ และทำให้มันมีขนาดใหญ่ ไม่ค่อยพบว่าซิสต์ชนิดนี้เป็นมะเร็ง แต่มันต้องถูกผ่าตัดออก
ซิสต์ตาดีโนมามักเกิดขึ้นกับผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 40 ปี
สัญญาณและการรักษา
ซิสต์มักจะไม่แสดงอาการ หรือหากมีอาการ ก็ไม่ได้ทำให้วินิจฉัยได้ว่าเป็นซิสต์ในรังไข่ เนื่องจากมีอาการคล้ายโรคอื่น เช่น ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (endometriosis)
อาการต่าง ๆ อาจมีดังนี้:
-
ปวดประจำเดือนมากกว่าปกติ อาจน้อย หรือมากกว่าที่เคยเป็น
-
ปวดกระดูกเชิงกราน: อาจปวดอย่างต่อเนื่องหรือปวดเป็นพัก ๆ ลามไปถึงหลีงล่าง และต้นขา อาจมีอาการแค่ตอนวันที่เริ่มมีประจำเดือน หรือวันที่ประจำเดือนหาย
-
ปวดขณะมีเพศสัมพันธ์: การปวดอาจเกิดขึ้นระหว่างการมีเพศสัมพันธ์ ผู้หญิงบางคนอาจรู้สึกปวดท้องหรือไม่สบายท้องหลังมีเพศสัมพันธ์
-
มีปัญหาการขับถ่าย: ปวดเวลาขับถ่าย หรือถ่ายหลายครั้ง
-
มีปัญหาที่ท้อง: ท้องอาจจะบวม หรือรู้สึกหนัก
-
มีปัญหาการปัสสาวะ: ต้องการปัสสาวะบ่อย
-
ฮอร์โมนไม่ปกติ: ร่างกายผลิตฮอร์โมนเยอะเกินไป ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงขึ้นกับหน้าอกและขนในร่างกาย แต่พบไม่มาก
อาการบางอย่างอาจเหมือนกับอาการตั้งครรภ์ เช่น คัดเต้านมและคลื่นไส้
การรักษาถุงน้ำรังไข่
การรักษาจะขึ้นอยู่กับ:
-
อายุของผู้ป่วย
-
เป็นสตรีวัยทองหรือไม่
-
ขนาดและรูปร่างของซีสต์
-
มีอาการหรือไม่
การเฝ้าสังเกต
บางครั้งแพทย์อาจแนะนำให้เฝ้าดูอาการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อซิสต์มีขนาดเล็ก ซิสต์ที่ไม่เป็นอันตราย (2-5 เซนติเมตร) และผู้ป่วยยังไม่เข้าสู่วัยทอง
ใช้การตรวจโดยการอัลตราซาวด์ดูว่าซิสต์หายไปรึยัง
การรักษาด้วยยาคุมกำเนิด
การลดความเสี่ยงที่จะเกิดซิสต์ใหม่ขึ้นจากการมีประจำเดือนในอนาคต แพทย์อาจแนะนำให้ผู้ป่วยรับประทานยาคุมกำเนิด ยาคุมกำเนิดชนิดทานอาจช่วยลดความเสี่ยงของการเป็นมะเร็งรังไข่ได้ด้วย
การผ่าตัดถุงน้ำในรังไข่
แพทย์อาจแนะนำให้ผ่าตัด หากมีอาการเหล่านี้:
-
มีอาการต่าง ๆ
-
ซิสต์ใหญ่และมีทีท่าว่าจะโตขึ้น
-
ซิสต์ไม่เหมือนซิสต์ที่ไม่เป็นอันตราย
-
เกิดซิสต์ขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วง 2-3 รอบเดือน
การผ่าติดมีอยู่ 2 แบบ คือ:
-
การผ่าตัดโดยใช้กล้อง: แพทย์จะใช้เครื่องมือขนาดเล็กนำซิสต์ออกจากแผลผ่าตัดเล็ก ๆ ผู้ป่วยสามารถผ่าตัดแล้วกลับบ้านได้เลย การผ่าตัดชนิดนี้จะไม่ส่งผลกระทบต่อการมีบุตร และหายไว
-
การผ่าตัดเปิดช่องท้อง: แพทย์อาจแนะนำให้ผ่าตัดวิธีนี้ในกรณีที่ซิสต์นั้นเป็นมะเร็ง ซิสต์จะถูกนำออกมาและส่งไปตรวจในแลป ผู้ป่วยต้องนอนโรงพยาบาลอย่างน้อย 2 วัน
นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก