ยาพาราเซตามอล (Paracetamol)

ยาพาราเซตามอล (Paracetamol)

17.09
2915
0

ยาพาราเซตามอล (Paracetamol) คืออะไร

ยาพาราเซตามอล (Paracetamol) หรืออะเซตามิโนเฟน (Acetaminophen) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า ไทลินอล (Tylenol) มีสูตรทางเคมีว่า C8H9NO2 หรือ HOC6H4NHCOCH3 เป็นยาแก้ปวดที่ใช้กันมากที่สุดทั่วโลก และองค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำให้ใช้เป็นยาทางเลือกแรกในการรักษาอาการปวด  อีกทั้งถูกใช้สำหรับลดไข้ ช่ยานี้ได้รับการอนุมัติครั้งแรกโดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกาในปี พ.ศ. 2494 และมีจำหน่ายในหลายรูปแบบ รวมทั้งรูปแบบน้ำเชื่อม ยาเม็ดปกติ เม็ดฟู่ การฉีด ยาเหน็บ และรูปแบบอื่นๆ มากมาย

ยาพาราเซตามอลมักพบในการใช้ร่วมกับยาอื่นๆ มากมายที่จำหน่ายหน้าเคาน์เตอร์ขายยาทั่วไป (OTC) เช่น ยาแก้หวัด ยานอนหลับ ยาแก้ปวด และผลิตภัณฑ์อื่นๆ ยานี้มีปริมาณการใช้ที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับอายุ และน้ำหนักของผู้ใช้ เนื่องจากความเป็นไปได้ที่ผู้ใช้มักจะใช้เกินขนาด เนื่องจากเป็นยาที่มีผลข้างเคียงน้อย นั่นทำให้อาจเกินอันตรายได้ 

คุณสมบัติ และสรรพคุณของยาพาราเซตามอล

ยาพาราเซตามอลเป็นอนุพันธ์ของ p-Aminophenol ที่มีฤทธิ์ลดอาการปวด และลดไข้ แม้ว่ากลไกที่แน่นอนของยาพาราเซตามอลนั้นยังไม่สามารถระบุได้อย่างเต็มที่ แต่ยาพาราเซตามอลนั้นยับยั้งกงไนตริกออกไซด์ (NO) ที่เป็นสื่อกลางของตัวรับสารสื่อประสาทหลายชนิด รวมถึง N-methyl-D-aspartate (NMDA) ที่มีผลในการเพิ่มระดับความเจ็บปวด ในขณะที่ฤทธิ์ลดไข้เป็นผลมาจากการยับยั้งการสังเคราะห์ และการปล่อยพรอสตาแกลนดินในระบบประสาทส่วนกลาง (CNS) และผลที่เกิดจากการใช้พรอสตาแกลนดินนั้นสามารถควบคุมความร้อนในไฮโปทาลามัสส่วนหน้าได้

วิธีการใช้ยาพาราเซตามอล

ปกติแล้วยาพาราเซตามอลนิยมรับประทานในรูปแบบของเม็ด วิธีใช้ผลิตภัณฑ์นี้รับประทานตามคำแนะนำ และตามปริมาณที่กำหนด

ยาพาราเซตามอลมีมากมายหลายแบรนด์ โปรดอ่านฉลากทุกครั้งที่วช้ และหากว่าใช้สำหรับเด็กโปรดแน่ใจว่ายาพาราเซตามอลนั้นเหมาะสำหรับเด็ก โดยเฉพาะในเรื่องปริมาณ

หากอยู่ในรูปของเหลวให้เขย่ายาให้ดีก่อนรับประทานแต่ละครั้ง และรับประทานยาในปริมาณที่ตวงจากช้อนตวงที่มีมาตรฐานที่ได้มา ไม่ควรใช้ช้อนในครัวเรือน

สำหรับชนิดเคี้ยวโปรดมั่นใจว่าเคี้ยวละเอียดก่อนที่จะกลืนลงไป และสำหรับชนิดเม็ดฟู่ ให้ละลายขนาดยาตามปริมาณน้ำที่แนะนำ แล้วดื่ม

ยาพาราเซตามอลทำงานได้ดีที่สุดหากใช้ ตั้งแต่เริ่มแรกของความเจ็บปวด หากรอจนกว่าอาการจะแย่ลง ยาอาจไม่มีผลอะไร

ไม่ควรใช้ยานี้ลดไข้เกิน 3 วัน เว้นแต่จะได้รับคำแนะนำจากแพทย์  สำหรับลดอาการปวดในผู้ใหญ่ไม่ควรเกิน 10 วัน (ในเด็ก 5 วัน) เว้นแต่จะได้รับคำแนะนำจากแพทย์ และหากเด็กมีอาการปวดศีรษะ วิงเวียนศีรษะ และไอ โปรดพาไปพบแพทย์

Paracetamol

ผลข้างเคียงในการใช้ยาพาราเซตามอล

โดยทั่วไปยาพาราเซตามอลนี้มักไม่มีผลข้างเคียง แต่หากคุณมีอาการผิดปกติใดๆ โปรดติดต่อแพทย์หรือเภสัชกรของคุณทันที

แต่หากเกิดอาการแพ้รุนแรง (ซึ่งเป็นไปได้น้อยมาก) เช่น ผื่น คัน อาการบวม (โดยเฉพาะที่ใบหน้า/ลิ้น/คอ) วิงเวียนศีรษะรุนแรง หายใจลำบาก และอาการอื่นๆ ที่ผิดปกติโปรดพบแพทย์โดยเร่งด่วน

นี่เป็นเพียงผลข้างเคียงบางประการที่อาจจะเกิดขึ้น อาจจะไม่ได้ครอบคลุมทั้งหมด ดังนั้นหากมีความผิดปกติใดๆ หลังใช้ยาพาราเซตามอลโปรดปรึกษาแพทย์ และเภสัชกร

ข้อควรระวังในการใช้ยาพาราเซตามอล

ก่อนรับประทานยาพาราเซตามอล แจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบ หากคุณแพ้ยาพาราเซตามอล รวมทั้งประวัติการแพ้ยา และประวัติการรักษาอื่นๆ โดยเฉพาะโรคตับ และหากมีพฤติกรรมที่ดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก

ยาพาราเซตามอลที่เป็นของเหลว เม็ดเคี้ยว หรือเม็ดและผงละลาย/ฟู่ อาจมีน้ำตาลหรือแอสพาเทม ควรใช้ความระมัดระวังหากคุณเป็นโรคเบาหวาน รวมทั้งภาวะฟีนิลคีโตนูเรีย (PKU) หรือภาวะอื่นๆ ที่ทำให้คุณต้องจำกัด หรือหลีกเลี่ยงสารเหล่านี้ในอาหารของคุณ 

สตรีมีครรภ์ หรือผู้ที่สงสัยเกี่ยวกับการใช้ยานี้สามารถปรึกษาเภสัชกร หรือแพทย์ก่อนเริ่มใช้ยาพาราเซตามอล

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *