โรคอุ้งเชิงกรานอักเสบ (Pelvic inflammatory disease) : อาการ สาเหตุ การรักษา

โรคอุ้งเชิงกรานอักเสบ (Pelvic inflammatory disease) : อาการ สาเหตุ การรักษา

31.03
1227
0

โรคอุ้งเชิงกรานอักเสบ (Pelvic inflammatory disease) คือโรคที่มีการอักเสบของอวัยวะสืบพันธุ์เพศหญิง ซึ่งสามารถทำให้เกิดแผลเป็นหรือผังผืดระหว่างเนื้อเยื่อและอวัยวะภายในของผู้หญิงได้

โรคนี้มีผลต่อมดลูก,ท่อนำไข่,รังไข่, หรือเป็นร่วมกันก็ได้

ภาวะแทรกซ้อน ได้แก่ อาการปวดอุ้งเชิงกรานแบบเรื้อรังต่อเนื่อง,การตั้งครรภ์นอกมดลูก,และภาวะมีบุตรยาก จากข้อมูลของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (CDC) พบว่าผู้หญิง 1 ใน 8 คนที่เป็นโรคอุ้งเชิงกรานอักเสบ มีปัญหาในการตั้งครรภ์

กรณีส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อในช่องคลอดหรือปากมดลูกที่แพร่กระจายโดยไม่ได้รับการรักษา

การติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ (STIs) เป็นสาเหตุที่พบบ่อย แต่อาจเกิดจากการติดเชื้อเนื่องจากสาเหตุอื่น ๆด้วย

อาการอุ้งเชิงกรานอักเสบ

ผู้หญิงส่วนใหญ่ที่เป็นโรคอุ้งเชิงกรานอักเสบ มักไม่มีอาการ แต่หากมีอาการอาจแตกต่างกันไปตั้งแต่เล็กน้อยจนถึงรุนแรง อย่างไรก็ตาม โรคอุ้งเชิงกรานอักเสบที่ไม่ได้รับการรักษาอาจส่งผลร้ายแรงได้

อาการที่มักพบได้ ได้แก่ :

  • อาการปวด ซึ่งอาจรุนแรงโดยเฉพาะในบริเวณอุ้งเชิงกราน

  • ไข้

  • อ่อนเพลีย

  • เลือดออกกะปริดกะปรอยระหว่างมีประจำเดือน

  • ประจำเดือนมาผิดปกติ

  • ปวดหลังส่วนล่างและทวารหนัก

  • เจ็บปวดระหว่างการมีเพศสัมพันธ์

  • ตกขาวผิดปกติ

  • ปัสสาวะบ่อย

  • อาเจียน

บางครั้งอาการจะคล้ายกับถุงน้ำในรังไข่,ไส้ติ่งอักเสบ,เยื่อบุโพรงมดลูกอักเสบหรือการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ (UTI)

โรคอุ้งเชิงกรานอักเสบอาจเป็นแบบเฉียบพลันได้นานถึง 30 วันหรือเรื้อรังหากกินเวลานานเกิน 30 วัน

ปัญหาอย่างหนึ่งในการรักษาอุ้งเชิงกรานอักเสบ คืออาการจะแตกต่างกันไป แต่ผู้หญิงบางคนอาจไม่มีอาการ

ใครที่มีอาการหรือคิดว่าเคยได้รับเชื้อจากการมีเพศสัมผัสหรือสาเหตุอื่น ๆ ของการติดเชื้อควรไปพบแพทย์

ภาวะแทรกซ้อน

ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นหากไม่ได้รับการรักษาอุ้งเชิงกรานอักเสบ ได้แก่ :

  • แผลเป็นที่อาจนำไปสู่ปัญหาการเจริญพันธุ์

  • อุ้งเชิงกรานอักเสบที่เกิดขึ้นซ้ำ

  • ปวดอุ้งเชิงกรานอย่างรุนแรง

  • ฝีในท่อนำไข่

ผู้หญิงหลายคนไม่ทราบว่าตนเองเป็น อุ้งเชิงกรานอักเสบ จนกระทั่งได้ไปพบแพทย์ด้วยปัญหาการมีบุตรยาก

  • ผู้หญิงที่มีอุ้งเชิงกรานอักเสบ มีโอกาสเป็นหมันร้อยละ 20 เนื่องจากท่อนำไข่มีแผลเป็นและมีความเสี่ยงร้อยละ 9 ของการตั้งครรภ์นอกมดลูกในอนาคต โอกาสในการเกิดอาการปวดอุ้งเชิงกรานเรื้อรังมีร้อยละ18

สาเหตุและปัจจัยเสี่ยง

โรคอุ้งเชิงกรานอักเสบ มักเริ่มจากการติดเชื้อในช่องคลอดและแพร่กระจายไปที่ปากมดลูก จากนั้นจะเคลื่อนไปที่ท่อนำไข่และรังไข่

สาเหตุของการติดเชื้ออาจเป็นแบคทีเรีย,เชื้อราหรือพยาธิ แต่ส่วนใหญ่มักเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียชนิดใดชนิดหนึ่งหรือหลายชนิดรวมกัน

แบคทีเรียที่ติดต่อทางเพศสัมพันธ์เป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของโรคอุ้งเชิงกรานอักเสบ,หนองในเทียม(Chlamydia) พบได้บ่อยที่สุด,รองลงมาคือ หนองในแท้ ( gonorrhea )

พบว่าร้อยละ 80 ถึง 90 ของผู้หญิงมีสาเหตุมาจากหนองในเทียมและ ร้อยละ 10 ของผู้ที่เป็นจะไม่มีอาการ

ผู้หญิงประมาณร้อยละ10 ถึง15 ที่เป็นหนองในเทียม(Chlamydia)หรือหนองในแท้ สามารถทำให้เเป็น อุ้งเชิงกรานอักเสบ ได้ในลำดับต่อมา

ปัจจัยเสี่ยง

นอกจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์แล้ว ปัจจัยเสี่ยงบางอย่างยังเพิ่มความเสี่ยงในการเกิด อุ้งเชิงกรานอักเสบ

การคลอดบุตร, การแท้งหรือการแท้งบุตร, สามารถทำให้เกิดอุ้งเชิงกรานอักเสบ ได้ หากเชื้อแบคทีเรียเข้าไปในช่องคลอด การติดเชื้อสามารถแพร่กระจายได้ง่ายมากขึ้น ถ้าหากปากมดลูกปิดไม่สนิท

การใส่ห่วงคุมกำเนิด (IUD) เป็นการคุมกำเนิดรูปแบบหนึ่ง ที่มีการใส่อุปกรณ์เข้าไปในมดลูก ซึ่งการคุมกำเนิดนี้สามารถเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อ อาจทำให้เกิด อุ้งเชิงกรานอักเสบได้

การตรวจชิ้นเนื้อเยื่อบุโพรงมดลูก (Endometrial biopsy )ในระหว่างที่นำตัวอย่างเนื้อเยื่อไปวิเคราะห์ สามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อและเกิดอุ้งเชิงกรานอักเสบได้

ไส้ติ่งอักเสบ ( Appendicitis ) สามารถเพิ่มความเสี่ยงเล็กน้อย หากการติดเชื้อแพร่กระจายจากใส้ติ่งไปยังอุ้งเชิงกราน

Pelvic inflammatory disease

ใครมีแนวโน้มที่จะได้รับผลกระทบมากที่สุด?

ผู้หญิงมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคอุ้งเชิงกรานอักเสบมากขึ้นหาก:

  • มีเพศสัมพันธ์ในช่วงอายุต่ำกว่า 25 ปี

  • มีคู่นอนหลายคน

  • การคุมกำเนิดแบบไม่ใส่ถุงยางอนามัย ( non barrier contraceptives )

  • การสวนล้างช่องคลอด

โรคอุ้งเชิงกรานอักเสบ พบบ่อยที่สุดในผู้หญิงอายุ 15 ถึง 29 ปี

การวินิจฉัย

แพทย์จะสอบถามเกี่ยวกับอาการและทำการตรวจอุ้งเชิงกรานเพื่อตรวจหาจุดกดเจ็บ

นอกจากนี้อาจจะตรวจหาหนองในเทียม (Chlamydia) และหนองในแท้ (Gonorrhea )ร่วมด้วย

อาจนำเซลล์เยื่อบุจากปากมดลูก และ จากท่อปัสสาวะ ไปส่งตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ รวมไปถึงอาจมีการตรวจเลือดและปัสสาวะด้วย

อาจใช้การสแกนอัลตราซาวนด์ (Ultrasound )เพื่อตรวจหาการอักเสบในท่อนำไข่

บางครั้งอาจจะใช้การส่องกล้องตรวจภายใน และหากจำเป็นอาจนำตัวอย่างเนื้อเยื่อออกมาตรวจร่วมด้วย

การรักษา

การรักษาที่เร็วช่วยลดโอกาสในการเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่นภาวะมีบุตรยาก

การรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ

การรักษาแบบแรกคือการใช้ยาปฏิชีวนะ สิ่งสำคัญคือต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์และรับประทานยาทั้งหมดที่แพทย์สั่ง การรักษามักใช้เวลา 14 วัน

โรคอุ้งเชิงกรานอักเสบมักเกี่ยวข้องกับแบคทีเรียมากกว่าหนึ่งชนิดดังนั้นผู้ป่วยอาจใช้ยาปฏิชีวนะสองตัวร่วมกัน

หากผลการทดสอบแสดงให้เห็นว่าแบคทีเรียชนิดใดเป็นสาเหตุของโรค การรักษาที่ตรงเป้าอาจจะเป็นไปได้มากขึ้น

ยาปฏิชีวนะสำหรับอุ้งเชิงกรานอักเสบได้แก่ :

  • เซฟาซิติน (Cefoxitin )

  • เมโทรนิดาโซล (Metronidazole )

  • เซฟไตรอโซน (Ceftriaxone )

  • ด็อกซีไซคลิน (Doxycycline )

หากยาปฏิชีวนะไม่ทำให้อาการดีขึ้นภายใน 3 วัน ผู้ป่วยควรได้รับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะทางหลอดเลือดดำหรือเปลี่ยนชนิดยา

การรักษาในโรงพยาบาลและการผ่าตัด

การรักษาในโรงพยาบาล: หากผู้หญิงที่เป็นอุ้งเชิงกรานอักเสบ ตั้งครรภ์ หรือ มีอาการรุนแรงมากอาจต้องอยู่ในโรงพยาบาล และให้ยาทางหลอดเลือดดำ

การผ่าตัด: แทบไม่จำ แต่อาจจำเป็นหากมีแผลเป็นที่ท่อนำไข่หรือถ้ามีฝีในท่อนำไข่ที่ต้องระบายออก  ซึ่งในกรณีนี้การผ่าตัดถือเป็นกุญแจสำคัญในการรักษา ทำได้โดยการเอาท่อนำไข่ข้างเดียวหรือทั้งสองข้างออก

แพทย์ไม่แนะนำให้เอาท่อนำไข่ทั้งสองข้างออกเพราะผู้หญิงจะไม่สามารถตั้งครรภ์ได้ตามธรรมชาติ

คู่นอนของผู้หญิงอาจต้องเข้ารับการรักษา โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หากคู่นอนมีโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์จะมีความเสี่ยงร้ายแรงที่จะเกิดซ้ำหากไม่ได้รับการรักษา

ผู้ป่วยควรงดการมีเพศสัมพันธ์จนกว่าการรักษาจะเสร็จสิ้น

การป้องกัน

โรคอุ้งเชิงกรานอักเสบ อาจกลายเป็นภาวะร้ายแรง แต่มีวิธีในการลดความเสี่ยง:

  • ตรวจคัดกรองเป็นประจำโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่มีคู่นอนหลายคน

  • ต้องแน่ใจว่าคู่นอนได้รับการตรวจการติดเชื้อและตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

  • ไม่สวนล้างช่องคลอดเพราะจะเพิ่มความเสี่ยง

  • ใช้ถุงยางอนามัยหรือถุงครอบปากมดลูก และฝึกการมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย

  • ไม่มีเพศสัมพันธ์เร็วเกินไปหลังการคลอดบุตร , หลังการยุติการตั้งครรภ์ หรือ หลังการแท้งบุตร

  • ไม่ควรมีเพศสัมพันธ์ จนกว่าปากมดลูกจะปิดสนิท

ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับโรคอุ้งเชิงกรานอักเสบ

  • โรคอุ้งเชิงกรานอักเสบมักเกิดจากการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ที่ไม่ได้รับการรักษาหรือการติดเชื้อทางนรีเวชอื่น ๆ

  • อาการอาจไม่ชัดเจน แต่ผู้ป่วยอาจมีอาการปวดและมีไข้ร่วมด้วย

  • โรคอุ้งเชิงกรานอักเสบ ที่ไม่ได้รับการรักษาอาจนำไปสู่การเกิดแผลเป็นในมดลูก ,ปัญหาการเจริญพันธุ์ หรือฝี

  • การรักษามักใช้ยาปฏิชีวนะ แต่ถ้ารุนแรงอาจจำเป็นต้องผ่าตัด

  • การป้องกัน ได้แก่ การมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัยและไม่มีคู่นอนหลายคน

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *