ยาเพนิซิลลิน (Penicillin) คืออะไร
ยาเพนิซิลลิน มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Penicillin มีสูตรทางเคมีคือ C16H18N2O ยาปฏิชีวนะเพนิซิลลินใช้ในการรักษาการติดเชื้อแบคทีเรียด้วยการป้องกันไม่ให้แบคทีเรียสร้างผนังเซลล์ เพราะแบคทีเรียไม่สามารถอยู่รอดได้หากไม่มีผนังเซลล์
เพนิซิลินถูกค้นพบในปี ค.ศ. 1928 โดยอเล็กซานเดอร์ เฟลมมิ่งสังเกตพบว่าราที่อยู่ในสกุล Penicillium สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย เขาจึงตั้งชื่อมันว่า เพนิซิลลิน สิบปีต่อมามหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ดเริ่มศึกษาเกี่ยวกับเพนิซิลลินอย่างจริงจัง และเพนิซิลลินได้กลายมาเป็นยาฆ่าเชื้อที่ช่วยชีวิตคนจำนวนมาก
คุณสมบัติ และสรรพคุณของยาเพนิซิลลิน
ยาเพนิซิลลินจำนวนมากได้รับการพัฒนาขึ้น เพื่อยับยั้งแบคทีเรียประเภทต่างๆ ได้มากกว่า และมีฤทธิ์กว้างขางกว่าเดิม ต่อไปนี้เป็นรายชื่อเชื้อที่เพนิซิลลินสามารถต่อต้านได้
- Streptococci (รวมถึง Streptococcus pneumoniae)
- Listeria เช่น Neisseria gonorrhoeae
- Clostridium
- Peptococcus
- Peptostreptococcus
- H. influenzae
- E. coli
-
- Staphylococci บางชนิด
- Salmonella
- Shigella
- Pseudomonas aeruginosa
- และแบคทีเรียอีกจำนวนมาก
ยาปฏิชีวนะเพนิซิลลินใช้ในการรักษาโรคติดเชื้อหลายชนิดที่เกิดจากแบคทีเรีย รวมทั้งใช้รักษาการติดเชื้อที่หูชั้นกลาง ไซนัส กระเพาะอาหาร และลำไส้ กระเพาะปัสสาวะ และไต และโรคดังต่อไปนี้
- โรคปอดอักเสบ
- การติดเชื้อในกระแสเลือด (ภาวะติดเชื้อ)
- โรคหนองในที่ระยะแรก
- เยื่อหุ้มสมองอักเสบ
- เยื่อบุหัวใจอักเสบและ
- การติดเชื้อร้ายแรงอื่น ๆ
วิธีการใช้ยาเพนิซิลลิน
โดยปกติยาเพนิซิลลินนั้นต้องรับประทานในช่วงท้องว่าง หรือรับประทานก่อนอาหารอย่างน้อย 1 ชั่วโมง หรืออาจจะรับประทานหลังอาหารอย่างน้อย 2 ชั่วโมง จากนั้นดื่มน้ำตามให้มากๆ และรับประทานในปริมาณ ความถี่ที่แพทย์ หรือเภสัชกรแนะนำอย่างเคร่งครัด
ผลข้างเคียงในการใช้ยาเพนิซิลลิน
เพนิซิลลินสามารถทำให้ยาคุมกำเนิดมีประสิทธิภาพน้อยลง ซึ่งอาจส่งผลให้ตั้งครรภ์ได้ ก่อนใช้ยานี้ แจ้งให้แพทย์ทราบหากคุณใช้ยาคุมกำเนิดอยู่ การรับประทานเพนิซิลลินตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัดจึงจะได้ประสิทธิภาพมากที่สุด แต่การใช้ยาเพนิซิลลินจะไม่รักษาการติดเชื้อไวรัส เช่น ไข้หวัด หรือไข้หวัดใหญ่ ไม่ควรแจกจ่ายยาให้ผู้อื่น แม้ว่าจะมีอาการเหมือนกันก็ตาม
ยาปฏิชีวนะอาจทำให้เกิดอาการท้องร่วง ซึ่งสัญญาณของการติดเชื้อใหม่ หากคุณมีอาการท้องร่วง อุจจาระเป็นน้ำหรือมีเลือดปนหลังใช้เพนิซิลลิน ห้ามรับประทานยาแก้ท้องเสีย เพื่อแก้ไข ให้ไปพบแพทย์เพื่อแจ้งรายละเอียด เพราะอาจจะเป็นผลข้างเคียงของเพนิซิลลิน
นี่เป็นเพียงผลข้างเคียงบางประการที่เป็นไปได้ของเพนิซิลลิน ดังนั้นอาจจะไม่ครอบคลุม ดังนั้นหากมีอาการผิดปกติอื่นๆ หลังการใช้เพนิซิลลิน ควรไปพบแพทย์เช่นกัน
ข้อควรระวังในการใช้ยาเพนิซิลลิน
หากมีอาการแพ้ยาเพนิซิลลิน โปรดแจ้งให้แพทย์ทราบ รวมทั้งประวัติการรักษาต่างๆ โดยเฉพาะหากคุณมี โรคหอบหืด โรคไต เลือดออกหรือความผิดปกติของการแข็งตัวของเลือด การท้องเสียและอาการแพ้อื่นๆ
ทั้งนี้ควรแจ้งให้แพทย์ทราบด้วยหากมีประวัติการแพ้ยาอื่นๆ
ยาเพนิซิลลินนั้นสามารถใช้ในสตรีมีครรภ์ได้ แต่เพนิซิลลินสามารถผ่านเข้าสู่น้ำนมแม่ ดังนั้นสตรีที่ให้นมบุตรอาจเป็นอันตรายต่อทารก เพื่อความปลอดภัยหากกำลังตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร ควรแจ้งให้แพทย์ทราบหากต้องใช้ยาเพนิซิลลิน
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก