แผลในกระเพาะอาหาร (Peptic Ulcers) : อาการ สาเหตุ การรักษา

แผลในกระเพาะอาหาร (Peptic Ulcers) : อาการ สาเหตุ การรักษา

20.01
1472
0

แผลในกระเพาะอาหาร (Peptic Ulcers) เป็นอาการปวดที่เกิดขึ้นเมื่อน้ำย่อยทำลายเยื่อบุของระบบย่อยอาหารให้หลุดออกไป แผลในกระเพาะอาหารสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในเยื่อบุกระเพาะอาหาร ส่วนล่างของหลอดอาหาร หรือลำไส้เล็กส่วนต้น ทำให้มีอาการต่างๆ ได้แก่ ปวดเหมือนอาหารไม่ย่อย คลื่นไส้ และน้ำหนักลดลง

มีการคาดการณ์ว่ามีผู้คนมากถึง 10 เปอร์เซ็นต์ทั่วโลกเป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบจากแผลในกระเพาะอาหารอย่างน้อยหนึ่งครั้งในชีวิต

เมื่อแผลในกระเพาะอาหารส่งผลกระทบต่อกระเพาะอาหารเรียกว่าแผลในกระเพาะอาหาร หากส่งกระทบต่อส่วนหนึ่งในลำไส้เล็กส่วนต้นเรียกว่าแผลในลำไส้เล็กส่วนต้น และหากส่งกระทบต่อหลอดอาหารจะเรียกว่า เป็นแผลในหลอดอาหาร

สาเหตุที่มักพบได้บ่อย คือ เกิดจากแบคทีเรียสายพันธุ์ Helicobacter pylori (H. pylori) และการใช้ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์

อาการของแผลในกระเพาะอาหาร

ไม่ใช่เรื่องแปลกที่เราจะเป็นแผลในกระเพาะอาหารโดยที่ไม่แสดงอาการใด ๆ เลย อย่างไรก็ตาม หนึ่งในอาการที่พบบ่อยที่สุดของแผลในกระเพาะอาหารคืออาการปวดเหมือนอาหารไม่ย่อย

อาการเจ็บปวดอาจเกิดขึ้นที่ตำแหน่งใดก็ได้ ตั้งแต่ปุ่มท้องจนถึงกระดูกหน้าอก อาจเกิดขึ้นในช่วงเวลาสั้นๆ หรือนานหลายชั่วโมง โดยจะมีอาการรุนแรงมากขึ้นเมื่อท้องว่างหรือหลังรับประทานอาหาร (ขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่อยู่) บางครั้งพบว่ามีอาการปวดรุนแรงในระหว่างการนอนหลับ การกินอาหารบางอย่างอาจช่วยบรรเทาอาการของโรคได้ ในขณะที่อาหารบางอย่างอาจทำให้มีอาการของโรครุนแรงขึ้น

อาการอื่นๆ ที่พบได้แก่:

  • กลืนอาหารลำบาก

  • อาเจียน

  • รู้สึกไม่สบายหลังรับประทานอาหาร

  • น้ำหนักลดลง

  • เบื่ออาหาร

ยาที่สามารถซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไปสามารถช่วยบรรเทาอาการเหล่านี้ได้ ในบางครั้งแผลอาจทำให้มีการแสดงอาการของโรคที่รุนแรง เช่น:

  • อาเจียนเป็นเลือด

  • ท้องผูก อุจจาระมีสีดำ หรืออุจจาระที่มีเลือดสีแดงเข้ม

  • คลื่นไส้ อาเจียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและรุนแรง

อาการต่างๆ เหล่านี้เป็นข้อบ่งชี้ถึงเหตุฉุกเฉินทางการแพทย์ ผู้ป่วยควรไปพบแพทย์ทันที

ภาวะแทรกซ้อน

หากปล่อยแผลทิ้งไว้โดยไม่ได้รับการรักษาหรือได้การรักษาไม่เสร็จสิ้นจะมีความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนเพิ่มขึ้น ซึ่งอาจรวมถึง:

  • เลือดออกภายใน

  • การไหลเวียนโลหิตไม่คงที่ ซึ่งเป็นผลมาจากมีเลือดออกภายในที่อาจส่งผลต่ออวัยวะหลายส่วน ถือเป็นภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรง

  • เยื่อบุช่องท้องอักเสบเป็นแผลทะลุผนังกระเพาะอาหารหรือลำไส้เล็ก

  • เกิดแผลเป็นที่เนื้อเยื่อ

  • pyloric stenosis การอักเสบเรื้อรังในเยื่อบุกระเพาะอาหารหรือลำไส้เล็กส่วนต้น

แผลในกระเพาะอาหารสามารถกำเริบได้ (เกิดขึ้นได้อีก) การมีแผลในครั้งแรกจะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดแผลได้ในภายหลัง

การรักษาแผลในกระเพาะอาหาร

แนวทางในการรักษามักขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร โดยการรักษาจะเน้นไปที่การลดกรดในกระเพาะอาหารเพื่อให้แผลหาย หรือรักษา การติดเชื้อเอชไพโลไร (H. pylori)

การใช้สารยับยั้งโปรตอนปั๊ม (PPIs) (Proton pump inhibitors ;PPIs)

PPIs จะมีผลในการลดปริมาณกรดในกระเพาะอาหาร สำหรับผู้ป่วยที่มีผลทดสอบการติดเชื้อ H. pylori เป็นลบ โดยปกติมีกำหนดการรักษาเป็นเวลา เวลา 1-2 เดือน แต่ถ้าแผลมีความรุนแรงอาจใช้เวลาในการรักษาที่ยาวนานขึ้น

การรักษาการติดเชื้อ H. pylori

ผู้ป่วยที่ติดเชื้อ H. pylori มักต้องใช้ PPIs และยาปฏิชีวนะ ซึ่งการรักษานี้ได้ผลดีในผู้ป่วยส่วนใหญ่และแผลจะเริ่มหายไปภายในไม่กี่วัน เมื่อสิ้นสุดการรักษา ผู้ป่วยจะต้องได้รับการตรวจซ้ำอีกครั้งเพื่อให้แน่ใจว่า H. pylori ถูกกำจัดไปแล้ว และมีหากจำเป็นอาจต้องได้รับยาปฏิชีวนะชนิดอื่นเพิ่มด้วย

ใช้ยาแก้อักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์

หากแผลในกระเพาะอาหารเกิดจากการใช้ยา NSAIDs ผู้ป่วยจะต้องหยุดกินยานั้นและเลือกรักษาด้วยยาอื่น ได้แก่   อะเซตามิโนเฟน (acetaminophen) หากผู้ป่วยไม่สามารถหยุดการใช้ยา NSAID ได้ แพทย์อาจลดปริมาณและพิจารณาความจำเป็นในการใช้ยาของผู้ป่วยภายหลัง โดยในระยะยาวอาจให้ใช้ยาอื่นควบคู่ไปกับ NSAID

ติดตามผลการรักษา

แม้ว่าผู้ป่วยจะได้การบำบัดและรักษาจนแผลในกระเพาะอาหารหายดีแล้ว แต่อาจยังคงมีอาการอาหารไม่ย่อย ในกรณีนี้แพทย์อาจแนะนำให้ปรับอาหารบางอย่างและเปลี่ยนรูปแบบของการดำเนินชีวิต หากพบว่ายังคงมีอาการอยู่ แพทย์อาจให้ PPI หรือ H2-receptor antagonists ในปริมาณต่ำ ในกรณีที่มีเลือดออกรุนแรงอาจจำเป็นต้องใช้การส่องกล้องเพื่อห้ามเลือดบริเวณแผล

สาเหตุของการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร

แผลในกระเพาะอาหารมักเกิดขึ้นจาก:

  • เชื้อแบคทีเรีย H. pylori

  • ยาแก้อักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs)

เชื้อแบคทีเรีย H. pylori bacteria เป็นสาเหตุหลักของการเกิดแผลในกระเพาะอาหารและสำไส้เล็กส่วนต้น ส่วน NSAIDs เป็นสาเหตุที่มีผลเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

H. pylori ทำให้เกิดแผลได้อย่างไร?

แม้ว่าหลายคนจะมีเชื้อ H. pylori อยู่ในร่างกายตามธรรมชาติ แต่ก็ไม่ชัดเจนว่าทำไมแบคทีเรียชนิดนี้ทำให้เกิดแผลเฉพาะในบางคนเท่านั้น เชื้อเอชไพโลไรมีการแพร่กระจายทางอาหารและน้ำ โดยอาศัยอยู่ในเมือกที่เคลือบเยื่อบุกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น และผลิต ยูรีเอส (urease) ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่ทำหน้าที่ลดกรดในกระเพาะ ทำให้ให้กระเพาะมีสภาพเป็นกลาง (เพื่อให้เหมาะต่อการมีชีวิตรอดของแบคทีเรีย)

เพื่อชดเชยสิ่งนี้กระเพาะอาหารจะสร้างกรดมากขึ้น ทำให้ระคายเคืองต่อเยื่อบุกระเพาะอาหาร นอกจากนี้แบคทีเรียยังทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของกระเพาะอาหารอ่อนแอลง ส่งผลทำให้เกิดการอักเสบ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่ผู้ป่วยเป็นแผลในกระเพาะอาหารที่เกิดจากเชื้อ H. pylori ต้องได้รับการรักษาเพื่อกำจัดแบคทีเรียออกจากกระเพาะอาหาร และเพื่อป้องกันไม่ให้กลับมาเป็นซ้ำอีก

ยาแก้อักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ทำให้เกิดแผลได้อย่างไร?

ยาแก้อักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDS) เป็นยาที่ใช้สำหรับบรรเทาอาการปวดหัว ปวดประจำเดือนและอาการปวดอื่น ๆ ตัวอย่างเช่น แอสไพรินและ ไอบู-  โพรเฟน ยา NSAIDs หลายชนิดสามารถใช้ได้โดยไม่ต้องมีใบสั่งยาจากแพทย์

ยาเหล่านี้มีผลในการลดความสามารถในการสร้างเมือกของกระเพาะอาหารทำให้สร้างเมือกได้น้อยลง ทำให้มีความเสี่ยงต่อการถูกทำลายจากกรดในกระเพาะอาหาร อีกทั้ง ช่วยลดความสามารถของกระเพาะอาหารในการสร้างชั้นป้องกันเมือก ทำให้เสี่ยงต่อการถูกทำลายจากกรดในกระเพาะอาหาร และ NSAIDs อาจส่งผลต่อการไหลเวียนของเลือดไปยังกระเพาะอาหาร ซึ่งเป็นการลดความสามารถของร่างกายในการซ่อมแซมเซลล์ที่ได้รับความเสียหาย

สาเหตุอื่น ๆ ของแผลในกระเพาะอาหาร

  • พันธุกรรม: คนที่มีความสัมพันธ์เป็นญาติใกล้ชิดกันจำนวนมากมีปัญหาแผลในกระเพาะอาหารเหมือนกัน ชี้ให้เห็นว่าปัจจัยทางพันธุกรรมอาจมีความเกี่ยวข้องกับการเกิดโรค

  • การสูบบุหรี่: ผู้ที่สูบบุหรี่เป็นประจำมีแนวโน้มที่จะเกิดแผลในกระเพาะอาหารมากกว่าผู้ที่ไม่สูบบุหรี่

  • การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์: ผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์มากๆ เป็นประจำ มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดแผลในกระเพาะอาหาร

  • การใช้ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์: ผู้ที่กินยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ในปริมาณมากอย่างต่อเนื่อง มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดแผลในกระเพาะอาหารเช่นกัน

  • ภาวะความเครียดทางจิตใจ: ความเครียดนี้ไม่ได้มีผลโดยตรงต่อกับการเกิดแผลในกระเพาะอาหารในระยะแรกๆ แต่สำหรับผู้ที่เป็นแผลในกระเพาะที่มีความเครียดทางจิตใจอย่างต่อเนื่องจะมีอาการป่วยที่รุนแรงกว่าคนที่ไม่เครียด

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *