- กลุ่มอาการกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาทคืออะไร
- สาเหตุของกลุ่มอาการกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท
- การวินิจฉัยกลุ่มอาการกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท
- การยืดกล้ามเนื้อและการออกกำลังกาย
- การรักษากลุ่มอาการกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท
- การป้องกันกลุ่มอาการกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท
- นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา
กลุ่มอาการกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท (Piriformis Syndrome)ทำให้ปวดก้นและปวดกล้ามเนื้อสะโพก เนื่องจากกล้ามเนื้อพิริฟอร์มิสบริเวณก้นใกล้กับสะโพกไปกดทับเส้นประสาทไซอาติกที่อยู่ใกล้กัน
ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการปวด ชา รู้สึกเสียวปลาบและรู้สึกเจ็บที่ก้นและสะโพกและบางครั้งอาจเกิดที่ต้นขาและขา กลุ่มอาการกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาทอาจเป็นอาการเรื้อรัง เกิดจากการบาดเจ็บเพียงครั้งเดียวหรือมีสาเหตุเกิดจากอาการปวดซ้ำ ๆ ได้
กลุ่มอาการกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาทคืออะไร
เมื่อกล้ามเนื้อพิริฟอร์มิสบริเวณก้นใกล้กับสะโพกไปกดทับเส้นประสาทไซอาติกอาจทำให้เกิดอาการปวดที่สะโพกและก้น
กล้ามเนื้อพิริฟอร์มิสเป็นกล้ามเนื้อรูปลูกแพร์ที่บั้นท้ายซึ่งยื่นออกมาจากฐานของกระดูกสันหลังจนถึงส่วนบนของต้นขา ความหนาแน่นของกล้ามเนื้อนี้จะกดทับเส้นประสาทไซอาติก
ซึ่งเส้นประสาทไซอาติกเป็นเส้นประสาทที่ใหญ่ที่สุดในร่างกาย โดยกินพื้นที่ขยายจากกระดูกสันหลังส่วนล่างลงไปที่เท้า
การกดทับเส้นประสาทไซอาติกอาจทำให้รู้สึกปวดเหมือนโดนอะไรทิ่ม เสียวปลาบหรือชาจากบริเวณสะโพกถึงขาส่วนล่างหรือเท้า
อาการที่พบบ่อยที่สุดของกลุ่มอาการกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาทคือ:
- กดแล้วเจ็บหรือปวดบริเวณก้น ซึ่งโดยปกติแล้วจะเป็นแค่เพียงข้างเดียว
- อาการปวดจะแผ่ลงมาที่ด้านหลังขาจนถึงเอ็นร้อยหวายและบางครั้งถึงน่อง
- อาการปวดเส้นประสาทแผ่จากก้นลงขา
ผู้ที่มีกลุ่มอาการกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาทอาจรู้สึกเสียวปลาบ เจ็บเหมือนโดนทิ่ม มีอาการชาหรือเหมือนกระแสไฟฟ้าวิ่งแผ่ลงจากก้นไปขา
คนที่มีกลุ่มอาการกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาทบางคนคิดว่าปัญหาอยู่ที่เอ็นร้อยหวาย อาการแสดงหลักของกลุ่มอาการกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาทไม่ได้อยู่ที่การกดเจ็บในเอ็นร้อยหวายแต่เป็นการจดเจ็บบริเวณสะโพกหรือก้น
กลุ่มอาการกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาทอาจเกิดขึ้นได้ทันทีทันใด ซึ่งโดยปกติจะเกิดจากการบาดเจ็บหรืออาจค่อย ๆ ปรากฏขึ้นในช่วงหลายเดือนต่อมา
สาเหตุของกลุ่มอาการกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท
กลุ่มอาการกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาทอาจทำให้เกิดอาการปวดหลังขาข้างหนึ่งตั้งแต่บั้นท้ายลงไป
อาการตึงและเคลื่อนไหวลำบากของกล้ามเนื้อเมื่อมีกลุ่มอาการกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาทอาจทำให้กล้ามเนื้อกระตุกได้ ซึ่งคล้ายกับอาการตึงของกล้ามเนื้อในบริเวณอื่น ๆ ของร่างกายซึ่งมีสาเหตุแตกต่างกันไป
ทั้งนี้ อาจมีสาเหตุจาก:
- การบาดเจ็บ เช่น การหกล้ม การกระแทกบริเวณที่เกิดกลุ่มอาการกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาทหรือการเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ ทำให้กล้ามเนื้อสะโพกอักเสบ
- ใช้งานกล้ามเนื้อมากเกินไป เช่น วิ่งบ่อย ออกกำลังกายหนักเกินไปหรือยืดตัวมากเกินไป
- ชอบอยู่ท่าใดท่าหนึ่งนาน ๆ เช่น นั่งเป็นเวลานาน
- เปลี่ยนจากการอยู่ในท่าใดท่านหนึ่งนาน ๆ แล้วมาการออกกำลังกายบ่อยขึ้น
- สูญเสียกล้ามเนื้อสะโพก
- กล้ามเนื้อเนื้อตึงและมีน้ำหนักตัวเกินเนื่องจากการตั้งครรภ์
- กล้ามเนื้อทับเส้นประสาท
การวินิจฉัยกลุ่มอาการกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท
การวินิจฉัยกลุ่มอาการกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาทยังเป็นที่ถกเถียงกันในปัจจุบัน บางครั้งแพทย์ก็วินิจฉัยกลุ่มอาการกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาทพลาดบ่อย ๆ ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการไม่มีการตรวจที่ได้รับการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ที่ชัดเจน
แพทย์หลายคนวินิจฉัยกลุ่มอาการกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาทโดยดูแค่อาการของโรคเพียงอย่างเดียว มีการตรวจเพียง 2 ประเภทเท่านั้นที่ช่วยให้เห็นหลักฐานที่นำมาสนับสนุนการวินิจฉัยนี้ได้ การตรวจเหล่านี้ ได้แก่:
- การถ่ายภาพระบบประสาทด้วยเรโซแนนซ์แม่เหล็ก: เป็นเทคนิคการถ่ายภาพทางการแพทย์ด้วยด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) รูปแบบหนึ่งที่ตรวจการอักเสบในเส้นประสาท
- การตรวจด้วย FAIR test: การตรวจการงอ การชักดึงและการหมุนภายใน (FAIR) จะให้ผู้ป่วยก้มเงยเพื่อให้กล้ามเนื้อสะโพกยืดหยุ่นเพื่อยืดกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาทและกดเส้นประสาทไซอาติก แล้วจึงวัดความล่าช้าของสัญญาณประสาทไซอาติกเนื่องจากการกดทับใต้กล้ามเนื้อพิริฟอร์มิส
การยืดกล้ามเนื้อและการออกกำลังกาย
การยืดกล้ามเนื้อและการออกกำลังกายหลายประเภทช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อกล้ามเนื้อพิริฟอร์มิสได้ การออกกำลังกายและการยืดกล้ามเนื้อเหล่านี้อาจช่วยลดความรุนแรงของกล้ามเนื้อกระตุกและคลายความตึงตัวของกล้ามเนื้อ
ผู้ที่มีกลุ่มอาการกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาทอาจลองแก้อาการด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งดังต่อไปนี้:
- นอนหงายโดยให้ขายื่นออกมา ยกขาที่เจ็บปวดไปทางหน้าอกโดยจับเข่าและข้อเท้าไว้ ดึงเข่าเข้าหาข้อเท้าอีกด้านหนึ่งของร่างกายจนกล้ามเนื้อยืด
- นอนหงายโดยให้ขาแบะและเหยียดออก ยกขาที่ปวดแล้วไขว้ขาด้านที่ไม่ปวด และพยามเอาเท้าข้างที่ยกแตะให้ถึงพิ้น ดึงขาขึ้นเหนือลำตัว โดยใช้มือกอดรอบขาที่ดึงขึ้น หรือใช้ผ้าหรือผ้าขนหนูรัดก่อนที่จะดึง
- ให้นอนหงายตัวตรง เอาขาข้างที่มีอาการยกข้ามเข่าไขว้มาอีกข้าง และงอขาทั้งสองข้าง นอนหงาย ดึงเข่าขึ้นมาถึงหน้าอกและกอดเข่าไว้ จากนั้นเข้าหาไหล่จนกระทั่งเกิดการยืดของกล้ามเนื้อ
- ทำกิจกรรมยืดเหยียดครั้งละ 30 วินาทีและทำซ้ำ 3 ถึง 5 ครั้ง
- ไม่ควรฝืนยืดตัวหรือสร้างความเจ็บปวด
การรักษากลุ่มอาการกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท
การยืดกล้ามเนื้อและการออกกำลังกายเบา ๆ ช่วยบรรเทากลุ่มอาการกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท เมื่ออาการดีขึ้น ก็สามารถออกกำลังกายที่หนักขึ้นได้ เช่น การวิ่งจ็อกกิ้ง
นอกจากการยืดกล้ามเนื้อเบา ๆ แล้ว ยังสามารถจัดการและรักษากลุ่มอาการกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาทได้ด้วยการดูแลตนเอง
ประคบร้อนประคบเย็นจะช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดไปยังบริเวณที่เกิดอาการปวดและช่วยให้หายเร็วขึ้นได้ ในผู้ป่วยบางรายพบว่า ความร้อนหรือน้ำแข็งใช้ได้ผลดีขึ้น ดังนั้นจะประคบร้อนหรือประคบเย็นก็ให้ดูว่าแบบไหนมีประสิทธิภาพสูงสุดในการบรรเทาอาการปวด
สำหรับการประคบร้อนประคบเย็น ให้ทำสลับกันคือประคบ 20 นาทีและเอาออก 20 นาที แล้วประคบซ้ำอีก 20 นาที สลับกัน
ตัวเลือกการรักษาอื่น ๆ มีดังต่อไปนี้:
- ขยับร่างกายมากขึ้น การเดินช่วยคลายความตึงเครียดของกล้ามเนื้อทั่วร่างกายและป้องกันไม่ให้อาการกระตุกแย่ลงได้
- ฝึกกิจกรรมที่สร้างความแข็งแรงที่ช่วยให้กล้ามเนื้อพิริฟอร์มิส กล้ามเนื้อสะโพกและสะโพกดีขึ้น การยืดเหยียดกล้ามเนื้อสะโพกและการออกกำลังกายแบบยืดหดช่วยให้สะโพกได้ชินกับแรงต้าน ซึ่งมีประโยชน์อย่างยิ่ง
- การใช้ยาต้านการอักเสบชนิดที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) ไม่ควรใช้ยาเหล่านี้เพื่อช่วยให้การออกกำลังกายอย่างหนักนั้นเจ็บปวดน้อยลง
- หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ทำให้อาการปวดแย่ลง ซึ่งมักรวมถึงการวิ่งด้วย การพักผ่อนสามารถช่วยได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่มีอาการบาดเจ็บมาก
- การนวดบริเวณที่เจ็บปวดรวมทั้งกล้ามเนื้อรอบข้างอาจช่วยได้ บางครั้งความตึงเครียดในกล้ามเนื้อหนึ่งอาจทำให้เกิดความตึงเครียดในอีกส่วนหนึ่งได้ ดังนั้นการนวดบริเวณบั้นเอวลงไปยังสะโพกอาจช่วยได้ บางคนที่มีกลุ่มอาการกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาทจะพบว่าการประคบร้อนประคบเย็นก็ช่วยได้เช่นกัน
- หากอาการปวดรุนแรงขึ้นและแย่ลงนานหลายวันหรือแม้แต่จะใช้วิธีดูแลรักษาจากที่บ้านแล้วก็ยังปวดอยู่ ให้พบแพทย์ทันที การรักษาด้วยหลายวิธีอาจช่วยให้ดีขึ้น
ตัวเลือกการรักษาทางคลินิก ได้แก่
- การฉีดโบท็อกซ์ช่วยลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อและบรรเทาอาการปวดได้
- ใช้ยาแก้ปวดตามใบสั่งแพทย์หรือยาคลายกล้ามเนื้อ ควรปรึกษาแพทย์เรื่องความเสี่ยงและประโยชน์ของการใช้ยาแก้ปวดเนื่องจากยาเหล่านี้อาจทำให้เกิดการเสพติดได้
- การใช้คอร์ติโคสเตียรอยด์หรือยาชา
- การรักษาทางเลือก เช่น การฝังเข็ม การรักษาด้วยเทคนิคไคโรแพรคติกและการบำบัดด้วยการกดจุดต่าง ๆ
- กายภาพบำบัดเพื่อฟื้นการใช้กล้ามเนื้อพิริฟอร์มิสและป้องกันการสูญเสียของกล้ามเนื้อเนื่องจากไม่มีการใช้งานหรือเกิดความผิดปกติของกล้ามเนื้อโดยรอบ
- การผ่าตัดเป็นอีกหนึ่งทางเลือก ซึ่งควรจะเป็นทางเลือกสุดท้าย อีกทางเลือกหนึ่งคือตัดเอ็นกล้ามเนื้อพิริฟอร์มิสที่ติดกับสะโพก การตัดกล้ามเนื้อพิริฟอร์มิสเพื่อลดแรงกดทับเส้นประสาทไซอาติก
การป้องกันกลุ่มอาการกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท
กิจกรรมยืดเหยียดแบบทำซ้ำ ๆ ช่วยให้อาการปวดกล้ามเนื้อพิริฟอร์มิสดีขึ้นและช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดอาการปวดของกล้ามเนื้อพิริฟอร์มิส
หลายคนเกิดกลุ่มอาการกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาทเนื่องจากทำกิจกรรมเดิมซ้ำ ๆ การพัฒนาเทคนิคดี ๆ ช่วยป้องกันไม่ให้การทำกิจกรรมซ้ำ ๆ เหล่านี้ทำลายกล้ามเนื้อพิริฟอร์มิสได้
การลงทุนซื้อรองเท้าวิ่งที่สวมใส่สบายและกระชับนั้นเป็นสิ่งสำคัญ รองเท้าที่ดีก็จะต้องใส่แล้วเคลื่อนไหวได้ดีและไม่ควรทำให้เท้าเจ็บ รองเท้าที่ไม่กระชับทำให้ท่าทางและอิริยาบนต่าง ๆ ผิดไปได้
วิธีอื่น ๆ ในการป้องกันกลุ่มอาการกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท ได้แก่ :
- ออกกำลังกายเบา ๆ เพื่อให้ร่างกายชินกับสภาพก่อนออกกำลังกายตามปกติทุกครั้ง
- หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายที่ทำให้ปวด
- หากเกิดการบาดเจ็บ ให้รักษาอาการบาดเจ็บนั้นทันที
- งดออกกำลังกายโดยเฉพาะส่วนที่มีกล้ามเนื้อที่บาดเจ็บจนกว่าจะหายดี
- ฝึกให้มีท่าทางและอิริยาบทที่ดีและถูกต้อง
นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา
- https://www.spine-health.com/conditions/sciatica/what-piriformis-syndrome
- https://www.webmd.com/pain-management/guide/piriformis-syndrome-causes-symptoms-treatments
- https://www.medicinenet.com/piriformis_syndrome/article.htm
- https://www.healthline.com/health/piriformis-syndrome
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก