ภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด (Placental Abruption) : อาการ สาเหตุ การรักษา

ภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด (Placental Abruption) : อาการ สาเหตุ การรักษา

26.05
2912
0

 ภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด (Placental abruption ) เป็นภาวะที่พบได้ไม่บ่อยแต่เป็นภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรงของการตั้งครรภ์ รกมีการพัฒนาขึ้นในมดลูกขณะตั้งครรภ์ รกเกาะอยู่ที่ผนังมดลูกมีหน้าที่ในการให้อาหารและออกซิเจนแก่ทารกในครรภ์ 

ภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนดเกิดขึ้นเมื่อรกมีการลอกตัวออกจากผนังมดลูกทั้งลอกตัวครึ่งเดียวและลอกตัวทั้งหมด โดยการลอกมีการเกิดขึ้นก่อนการคลอด ส่งผลให้เลือดที่ลำเลียงสารอาหารและออกซิเจนที่ไปเลี้ยงทารกหยุดชะงักลง และยังทำให้เลือดของแม่ออกทางช่องคลอดมากขึ้นด้วย

ภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนดมักเกิดขึ้นอย่างกระทันหัน หากไม่ได้รับการรักษาทันเวลาอาจส่งผลให้แม่และเด็กเป็นอันตรายได้

อาการของภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด

ภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนดมักเกิดขึ้นในช่วงตั้งครรภ์ไตรมาสสุดท้าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งไม่กี่สัปดาห์ก่อนคลอด อาการและอาการแสดงมีดังต่อไปนี้

  • เลือดออกทางช่องคลอด แม้ว่าบางรายอาจไม่มีอาการนี้
  • ปวดท้อง
  • ปวดหลัง
  • กดเจ็บบริเวณมดลูก
  • มดลูกบีบตัว มักเกิดขึ้นก่อนเสมอ

อาการปวดท้องและปวดหลังมักเกิดขึ้นกระทันหัน ปริมาณเลือดที่ออกทางช่องคลอด ไม่ได้บ่งบอกปริมาณรกที่ลอกตัวจากมดลูก มีความเป็นไปได้ว่าเลือดที่ออกสามารถตกค้างในมดลูกได้ ดังนั้นในภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนดที่รุนแรงก็ไม่จำเป็นว่าจะต้องมีเลือดออกทางช่องคลอด

ในบางรายภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนดจะค่อยๆเกิดขึ้นซึ่งสามารถทำให้เกิดเลือดออกทางช่องคลอดทีละเล็กทีละน้อยได้ ส่งผลให้ทารกในครรภ์เจริญเติบโตช้ากว่าที่ควรจะเป็น และยังส่งผลให้แม่มีน้ำคร่ำลดลง ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นได้

เมื่อไหร่ควรไปพบแพทย์

ควรไปพบแพทย์ฉุกเฉินหากคุณมีอาการหรืออาการแสดงของภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด

สาเหตุภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด

ภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนดมักจะไม่มีสาเหตุ สาเหตุที่เป็นไปได้ส่วนใหญ่คืออุบัติเหตุหรือการกระแทกที่ช่องท้อง จากอุบัติเหตุจราจรและการหกล้ม  สาเหตุอาจเกิดจากการสูญเสียของเหลวที่ล้อมรอบตัวทารกในครรภ์ที่เรียกว่า น้ำคร่ำ (amniotic fluid)

Abruptio Placentae

ปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยงที่สามารถทำให้เกิดภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด ได้แก่

  • ภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนดที่เคยเกิดขึ้นก่อนหน้าและไม่ได้มาจากอุบัติเหตุในช่องท้อง
  • โรคความดันโลหิตสูงเรื้อรัง
  • ภาวะที่เกิดจากความดันโลหิตสูงระหว่างการตั้งครรภ์ เช่น ภาวะครรภ์เป็นพิษก่อนชัก (preeclampsia) ภาวะแทรกซ้อนจากครรภ์เป็นพิษ (HELLP syndrome) ภาวะครรภ์เป็นพิษแบบชัก (eclampsia)
  • การหกล้มหรือมีแรงกดที่หน้าท้อง
  • การสูบบุหรี่
  • การใช้สารโคเคนระหว่างตั้งครรภ์
  • ถุงน้ำการตั้งครรภ์แตกก่อนกำหนด ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้น้ำคร่ำลดลงก่อนคลอด
  • การติดเชื้อที่เกิดขึ้นในมดลูกระหว่างตั้งครรภ์ เช่น การติดเชื้อของน้ำคร่ำ (chorioamnionitis)
  • การตั้งครรภ์ในคนที่อายุมาก เช่น อายุมากกว่า 40 ปี

ภาวะแทรกซ้อน

ภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนดสามารถทำให้เกิดอันตรายต่อชีวิตทั้งแม่และเด็กได้

ภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนดสามารถทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนในแม่ เช่น

  • ช็อค (Shock) จากการเสียเลือด
  • ปัญหาลิ่มเลือดอุดตัน
  • ความต้องการในการให้เลือด
  • ไตวายหรืออวัยวะอื่นๆล้มเหลวจากการเสียเลือด
  • การผ่าตัดเอามดลูกออก หากไม่สามารถหยุดเลือดที่ออกจากมดลูกได้ แต่พบได้น้อย

ภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนดส่งผลต่อเด็กในครรภ์ คือ

  • การเจริญเติบโตในครรภ์หยุดลง เนื่องจากไม่ได้รับสารอาหารจากรก
  • ไม่ได้รับออกซิเจนอย่างพอเพียง
  • คลอดก่อนกำหนด
  • เสียชีวิตในครรภ์

การป้องกัน

ภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนดไม่สามารถป้องกันได้ แต่สามารถลดปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดได้ ยกตัวอย่างเช่น หยุดสูบบุหรี่ หยุดใช้สารเสพติด เช่น โคเคน ถ้าตรวจพบว่ามีความดันโลหิตสูง ควรรับการรักษากับแพทย์อย่างต่อเนื่อง

รัดเข็มขัดเป็นประจำเมื่อใช้รถยนต์ ถ้ามีการบาดเจ็บทางหน้าท้องจากอุบัติเหตุจราจรหรือหกล้มควรรีบไปพบแพทย์ทันที

หากเคยมีภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนดในอดีตและวางแผนที่จะมีการบุตร ควรปรึกษาแพทย์เพื่อวางแผนการตั้งครรภ์และลดปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้เกิดภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *