- ภาวะน้ำคร่ำมาก (Polyhydramnios) คือภาวะที่เกิดขึ้นเมื่อมีปริมาณน้ำคร่ำที่อยู่รอบๆตัวทารกในครรภ์มากเกินไป เมื่อมีน้ำคร่ำมากเกินไปอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนในระหว่างการตั้งครรภ์หรือการคลอด ดังนั้นแพทย์จะต้องคอยเฝ้าติดตามดูปริมาณน้ำคร่ำเป็นประจำจนกว่าหญิงตั้งครรภ์จะพร้อมให้กำเนิดบุตร
- ภาวะน้ำคร่ำมากเกินไปคืออะไร
- สาเหตุของน้ำคร่ำมาก
- สัญญานเตือนและอาการ
- ความเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อน
- การวินิจฉัย
- การรักษาภาวะน้ำคร่ำมาก
- บทสรุป
- นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา
ภาวะน้ำคร่ำมาก (Polyhydramnios) คือภาวะที่เกิดขึ้นเมื่อมีปริมาณน้ำคร่ำที่อยู่รอบๆตัวทารกในครรภ์มากเกินไป เมื่อมีน้ำคร่ำมากเกินไปอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนในระหว่างการตั้งครรภ์หรือการคลอด ดังนั้นแพทย์จะต้องคอยเฝ้าติดตามดูปริมาณน้ำคร่ำเป็นประจำจนกว่าหญิงตั้งครรภ์จะพร้อมให้กำเนิดบุตร
ปริมาณน้ำคร่ำในครรภ์จะค่อยๆเพิ่มขึ้นประมาณ 1 ลิตร ในสัปดาห์ที่36ของการตั้งครรภ์ และหลังจากนั้นปริมาณของน้ำคร่ำก็จะค่อยๆลดลง
ในบทความนี้เราจะมาดูสัญญานและอาการของภาวะมีน้ำคร่ำมากเกินไป ซึ่งอาจเป็นสาเหตุให้เกิดความเสี่ยงต่อหญิงตั้งครรภ์และลูก
ภาวะน้ำคร่ำมากเกินไปคืออะไร
ภาวะน้ำคร่ำมากเกินไป คือปริมาณน้ำคร่ำที่อยู่รอบๆตัวทารกในครรภ์มีมากเกินไป
ไตของทารกจะผลิตน้ำคร่ำออกมาและไหลเข้าไปในครรภ์โดยทางปัสสาวะของทารก
จากนั้นทารกในครรภ์ก็จะกลืนของเหลวและดูดซึมกลับเข้าไปด้วยการหายใจ การกลืนกลับไปเช่นนี้เป็นการช่วยสร้างความสมดุลให้ปริมาณของน้ำคร่ำในครรภ์
กระบวนการนี้ยังคงเกิดขึ้นสลับไปมาเพื่อสร้างความสมดุลระหว่างการผลิตและการดูดซึมกลับของน้ำคร่ำ แต่เมื่อการสร้างสมดุลนี้เกิดหยุดการหยุดชะงักขึ้นมา ก็อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนสำหรับตัวแม่และเด็กในครรภ์ได้
สาเหตุของน้ำคร่ำมาก
ภาวะน้ำคร่ำมากเกินไปอาจมาจากหลายๆสาเหตุ เช่น:
- ตั้งครรภ์แฝด ซึ่งมีทารกตั้งแต่สองคนหรือมากกว่าขึ้นไปในครรภ์
- มารดาเป็นโรคเบาหวาน ซึ่งแพทย์จะอ้างอิงว่าเป็นโรคเบาหวานที่ได้รับการวินิจฉัยในระหว่างตั้งครรภ์
- ทารกในครรภ์มีปัญหาเรื่องการกลืนน้ำคร่ำ
- ทารกมีการผลิตปริมาณปัสสาวะเพิ่มมากขึ้น
- เป็นความผิดปกติแต่กำเนิด เช่นระบบทางเดินอาหารหรือทางเดินปัสสาวะมีการอุดตัน หรือสมองและไขสันหลังมีการพัฒนาผิดปกติ
- มีปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อการสร้างยีนส์ของทารก ปอดหรือระบบประสาท
- ทารกมีการติดเชื้อan infection in the fetus
- โรคโลหิตจาง หรือเซลล์เม็ดเลือดแดงบกพร่องในทารก
ในบางครั้งเองแพทย์ก็ยังไม่สามารถหาสาเหตุการเกิดภาวะน้ำคร่ำมากเกินไปได้ ในรายดังกล่าวแพทย์อาจจะระบุสาเหตุไว้ว่าไม่ทราบสาเหตุ
สัญญานเตือนและอาการ
หญิงตั้งครรภ์ที่มีน้ำคร่ำมากเกินไปมักไม่มีสัญญานเตือนหรือมีอาการใดๆให้เห็น แต่เมื่อเกิดอาการขึ้นอาจส่งผลทำให้หายใจลำบาก, อาจเจ็บครรภ์ก่อนกำหนดหากว่าภาวะน้ำคร่ำมากเกินไปมีอาการรุนแรง, มีอาการปวดท้อง
เมื่อมดลูกมีขนาดใหญ่เกินกว่าที่ควรจะเป็นตามอายุครรภ์ของทารก อาจคาดการณ์ไว้ก่อนได้ว่าอาจมีสาเหตุมาจากภาวะมีน้ำคร่ำมากเกินไป หญิงตั้งครรภ์มักจะบอกได้ว่าท้องของพวกเธอโตใหญ่เร็วมากเกินไป
ความเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อน
การจากวิจัยพบว่าภาวะน้ำคร่ำมีมากเกินไปนั้นส่งผลให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนสำหรับทั้งมารดาและทารกในครรภ์
ภาวะแทรกซ้อนในหญิงตั้งครรภ์ที่อาจเกิดขึ้นได้คือ:
- การคลอดบุตรใช้เวลานาน
- เจ็บท้องก่อนกำหนดซึ่งนำไปสู่การคลอดก่อนกำหนด
- ภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด
- ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด
- หายใจลำบาก
- ภาวะเลือดไหลผิดปกติหลังคลอด
ภาวะแทรกซ้อนในเด็กทารกที่อาจเกิดขึ้นได้คือ:
- มีความผิดปกติแต่กำเนิด
- ขนาดหรือท่าทางของทารกผิดปกติ ซึ่งนำไปสู่การคลอดที่ยุ่งยาก
- สายสะดืออยู่ในตำแหน่งที่เป็นอันตราย อาจเป็นสาเหตุให้สายสะดือพันทารกและทำให้ขาดออกซิเจนได้
- ในรายที่มีความรุนนแรงอาจทำให้เสียชีวิตได้
การวินิจฉัย
แพทย์จะวินิจฉัยภาวะน้ำคร่ำมากเกินไปได้ก่อนเด็กจะคลอด การวินิจฉัยด้วยการอัลตราซาว์น เป็นการใช้คลื่นเสียงเพื่อตรวจวัดปริมาณของน้ำคร่ำในครรภ์และเพื่อหาสิ่งผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นกับทารกในครรภ์
แพทย์จะทำการตรวจหญิงตั้งครรภ์เพื่อหาสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะน้ำคร่ำมากเกินไปด้วยการตรวจดังต่อไปนี้:
- ตรวจเลือดเพื่อเช็คโรคเบาหวานที่เกิดขณะตั้งครรภ์หรือภาวะการติดเชื้อ
- ด้วยการเจาะน้ำคร่ำ แพทย์จะนำเอาตัวอย่างน้ำคร่ำที่ได้จากครรภ์ส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการณ์เพื่อตรวจวิเคราะห์
การรักษาภาวะน้ำคร่ำมาก
การรักษาภาวะน้ำคร่ำมากเกินไป แพทย์จะต้องพยายามลดปริมาณน้ำคร่ำในครรภ์เพื่อยืดการตั้งครรภ์ให้ยาวนานขึ้นและทำให้หญิงตั้งครรภ์มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
วิธีที่แพทย์จะนำมาใช้ในการลดปนิมาณน้ำคร่ำคือ:
- การเจาะถ่ายน้ำคร่ำส่วนเกินออก เพื่อลดปริมาณน้ำคร่ำให้อยู่ในระดับปกติ แต่อย่างไรตามก็ในวงการแพทย์ยังไม่มีบรรลุข้อตกลงในเรื่องของปริมาณของน้ำคร่ำที่ควรเอาออกหรือควรเอาออกเร็วช้าแค่ไหน
- รักษาด้วยยา prostaglandin synthetase inhibitors หรือ ยาซูลินแดค ซึ่งเป็นยาต้านอักเสบในกลุ่ม NSAIDs
ภาวะน้ำคร่ำมากเกินไปอาจไปเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ ดังนั้นแพทย์จะต้องเฝ้าระวังทารกในครรภ์อย่างใกล้ชิดนับตั้งแต่สัปดาห์ที่ 32 ของการตั้งครรภ์
บทสรุป
ภาวะน้ำคร่ำมากเกินไปเป็นภาวะที่มีน้ำคร่ำในครรภ์มากเกินไป ซึ่งอาจจมีสาเหตุมาจากโรคเบาหวานที่เกิดขึ้นในระหว่างตั้งครรภ์, การตั้งครรภ์แฝด, หรือทารกมีสิ่งผิดปกติ แต่ในบางรายแพทย์อาจไม่สามารถระบุสาเหตุได้
หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะน้ำคร่ำมากเกินไปอาจประสบกับการเจ็บท้องครรภ์ก่อนกำหนด,มีการคลอดที่ยาวนาน, หายใจลำบาก, หรือมีปัญหาในระหว่างคลอด โรคดังกล่าวอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนสำหรับทารก ที่อาจรวมไปถึงปัญหาทางร่างกาย , ท่าท่าผิดตำแหน่ง และในรายที่มีอาการรุนแรงอาจทำให้เสียชีวิตได้
เป้าหมายหลักของการรักษาคือการลดปริมาณน้ำคร่ำที่มีมากเกินไปออก แพทย์อาจใช้วิธีนำของเหลวออกด้วยวิธีที่เรียกว่าการเจาะน้ำคร่ำ หรืออาจใช้ยาในการรักษา แพทย์จะต้องทำการเฝ้าติดตามทารกอย่างใกล้ชิดเพื่อคอยตรวจสอบสัญญานของภาวะแทรกซ้อน
นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา
- https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/polyhydramnios/symptoms-causes/syc-20368493
- https://www.nhs.uk/conditions/polyhydramnios/
- https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3964358/
- https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/17852-polyhydramnios
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก