จอประสาทตาลอก (Retina Detachment) : อาการ สาเหตุ การรักษา

จอประสาทตาลอก (Retina Detachment) : อาการ สาเหตุ การรักษา

22.03
7067
0

จอประสาทตาลอก (Retina Detachment) คือการที่จอประสาทตา หรือ เรตินา เกิดการหลุดลอกออกจากเนื้อเยื่อที่รองรับด้านหลังของลูกตา  เรตินาคือเซลล์ประสาทรับแสงแผ่นบางๆที่อยู่ด้านหลังของลูกตา ซึ่งช่วยให้เรามองเห็นได้ชัดเจน

เริ่มจากการที่เรตินาบริเวณเล็กๆลอกออก หากไม่รักษา เรตินาทั้งแผ่นจะหลุดออก และทำให้มองไม่เห็น ส่วนใหญ่มักเกิดในตาข้างใดข้างหนึ่ง และถือเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์

ผู้ที่สายตาสั้นมากๆ เป็นเบาหวาน มีภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดต้อกระจก และผู้ที่ถูกกระแทกที่ตา มีโอกาสที่จอตาจะลอกมากกว่าคนปกติ

Retina Detachment

อาการจอประสาทตาลอก

ผู้ป่วยจอประสาทตาลอก มักมีอาการดังนี้

  • Photopsia คือเห็นแสงแวบๆเหมือนแสงแฟลชที่ด้านข้างของตา เมื่อกลอกตาไปมา

  • เห็นเหมือนมีจุดดำหรือวัตถุคล้ายหยากไย่ลอยไปมาในตา ไม่ว่าจะหันไปทางไหน อาจเห็นเหมือนมีเส้นผมมาบัง

  • รู้สึกหนักนัยน์ตา

  • มีเงาที่เริ่มจากรอบนอก ทำให้การมองเห็นด้านข้างลดลงและจะค่อยๆมืดเข้ามากลางลานสายตา

  • รู้สึกเหมือนมีผ้าม่านมาปิดด้านใดด้านหนึ่งของตา

  • เวลามองเส้นตรงจะเห็นเป็นโค้ง

มักไม่มีอาการปวด

สาเหตุของจอประสาทตาลอก

เรตินาคือชั้นของเนื้อเยื่อที่บุอยู่ในลูกตา ไวต่อแสงและทำหน้าที่ส่งสัญญาณการมองเห็นไปที่สมอง ผ่านเส้นประสาทตา

เมื่อเรามองดูสิ่งใดสิ่งหนึ่ง แสงจะส่องเข้าไปในลูกตาและกระทบเรตินา เหมือนกับในกล้องถ่ายรูป

เมื่อแสงกระทบเรตินา จะแปลภาพให้เป็นกระแสประสาทและส่งไปที่สมองผ่านเส้นประสาทตา

นั่นคือ ภาพที่ตกลงที่เรตินา เซลล์ประสาทนำข้อมูล ส่งกระแสประสาทผ่านเส้นประสาทตาไปที่สมอง หากเรตินาเสียหายจะกระทบต่อความสามารถในการมองเห็น

การลอกของจอตา เกิดเมื่อชั้นของเนื้อเยื่อหลุดออกมาจากตำแหน่งปกติ บางครั้ง จอตาฉีกขาดเล็กน้อย ทำให้จอตาลอกได้

จอตาลอกมีสามชนิด

  1. Rhegmatogenous คือมีการ ฉีก ขาด หรือมีรูที่จอตา ทำให้น้ำหล่อเลี้ยงลูกตาไหลย้อนไปที่ชั้นใต้จอตาและเซาะไปใต้จอตา  พบได้มากที่สุด อาจเกิดจากอุบัติเหตุเกี่ยวกับดวงตา เช่นการกระทบกระเทือนอย่างแรงที่ดวงตา หรือจอตาเสื่อม

  2. จอตาลอกแบบทุติยภูมิ (หรือ exudative retinal detachment) เกิดเมื่อมีการอักเสบ, ความผิดปกติของเส้นเลือดบริเวณนั้น หรือการบาดเจ็บที่ทำให้มีของเหลวในใต้จอตา

  3. จอตาลอกจากการดึงรั้ง (Tractional retinal detachment) คือเมื่อมีการบาดเจ็บ การอักเสบ หรือมีเส้นเลือดงอกใหม่ที่เกิดจากต้อเนื้อและดึงเส้นประสาทรับแสงให้หลุดจากเยื่อบุของจอตา

การรักษาจอประสาทตาลอก

การผ่าตัดจำเป็นสำหรับการค้นหาและซ่อมแซมบริเวณที่ฉีกขาด และเพื่อลดการหลุดลอกของจอตา หากไม่การรักษา มีโอกาสมากที่ผู้ป่วยจะตาบอด

วิธีการรักษาเช่น

  • การรักษาโดยใช้เลเซอร์ ฉายลำแสงเลเซอร์ผ่านเครื่องส่องดูตา และจะเผารอบๆบริเวณที่ฉีกขาด ทำให้เกิดแผลเป็นที่ยึดเนื้อเยื่อให้ติดกัน

  • รักษาด้วยความเย็น  ใช้ความเย็นจัดเพื่อทำลายเนื้อเยื่อที่เป็นโรคหรือผิดปกติ โดยทำให้เกิดแผลเป็นเล็กๆที่จะทำให้จอตาติดกับผนังนัยน์ตา

  • Scleral buckling ใช้รักษาผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง โดยใช้วัสดุมาหนุนที่รอบนอกของดวงตาเพื่อช่วยดันผนังดวงตาให้กลับมาติดกับจอประสาทตา

  • การผ่าตัดน้ำวุ้นตา (Vitrectomy)  มักใช้กับผู้ที่จอตาฉีกขาดมาก โดยการดูดวุ้นในลูกตาออกและใส่ฟองแก๊สหรือฟองน้ำมันซิลิโคนเข้าไปเพื่อช่วยดันให้จอตาอยู่กับที่ เย็บปิดแผล และจะดูดนำ้มันซิลิโคนออกใน2-8 เดือนหลังผ่าตัด

  • Pneumatic retinopexy ใช้ในกรณีที่รอยฉีกขาดไม่มาก โดยใช้ความเย็นจัดที่บริเวณฉีกขาด ก่อนจะฉีดแก๊สเข้าไปในช่องวุ้นน้ำลูกตา ดันให้จอตาไปติดหลังลูกตา ไม่ให้มีของเหลวที่หลังจอตา หลังจากนั้นสองสามวัน แรงกดจะค่อยๆทำให้จอตาติดกับผนังหลังดวงตา

ผู้ที่ได้รับการฉีดฟองแก๊สในตา มักต้องให้ศีรษะอยู่ในท่าที่กำหนดเป็นเวลาพอควร และห้ามขึ้นเครื่องบิน หากฉีดฟองน้ำมัน สามารถขึ้นเครื่องบินได้

บางครั้งอาจไม่สามารถแก้ไขจอตาที่ลอกได้ และการมองเห็นก็จะเสื่อมไปเรื่อยๆ

การมองเห็นของผู้ป่วยจะค่อยๆดีขึ้นสองสามสัปดาห์หลังการรักษา แต่หากมีความผิดปกติที่จุดตรงกลางของจอตา การมองเห็นจะไม่กลับมาดีดังเดิม จุดกลางของจอตาคือส่วนที่ทำให้เราเห็นสิ่งที่อยู่ตรงหน้า

อาจมีความเสี่ยงเล็กน้อยจากการรักษา เช่นการแพ้ยา เลือดออกในตา เห็นภาพซ้อน ต้อกระจก ต้อหิน และติดเชื้อที่ตา

การตรวจตาเป็นประจำจะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดจอตาลอก เพราะตรวจพบได้ในระยะแรกเริ่ม

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *