โรคหัดเยอรมัน (Rubella) คือการติดเชื้อที่เกิดจากไวรัสหัดเยอรมัน อาการมักไม่รุนแรง แต่หากเกิดการติดเชื้อระหว่างตั้งครรภ์นั้นทำให้เกิดอันตรายอย่างรุนแรงต่อเด็กในครรภ์นั่นคืออาการหูหนวก
ความจริงที่ต้องรู้เกี่ยวกับโรคหัดเยอรมัน
- โรคหัดเยอรมันเป็นเชื้อไวรัส และสามารถแพร่กระจายเชื้อผ่านการไอได้มาก
- ไวรัสสามารถส่งผ่านรก และส่งผลต่อทารกในครรภ์ได้
- ร้อยละ 50 ของผู้ป่วยโรคหัดเยอรมันมีอาการน้อยมาก โดยมีอาการต่างๆ ดังนี้ ผื่น น้ำมูกไหล ปวดศีรษะ และมีไข้
- โรคหัดเยอรมันในระหว่างตั้งครรภ์คือสาเหตุหลักของอาการหูหนวกของทารกในครรภ์
- การฉีดวัคซีนเป็นวิธีเดียวที่จะป้องกันโรคได้
อาการของโรคหัดเยอรมัน
Rubella ในภาษาละติน หมายถึง“ สีแดงเล็ก ๆ ” และโรคนี้มีลักษณะเป็นผื่นแดง“
โดยปกติอาการออกหัดจะปรากฏภายใน 14 – 21 วันหลังการติดเชื้อ
ผื่นมักเริ่มที่ใบหน้า และขยายไปที่ลำตัวและแขนขา หลังจากผ่านไป 3 ถึง 5 วันมันจะจางหายไป และหายไป ผื่นเหล่านี้สามารถทำให้เกิดอาการคันได้
อาการอื่น ๆ ได้แก่
- ปวดศีรษะ
- น้ำมูกไหล
- มีไข้หัด
- ตาแดงอักเสบ
- เส้นประสาทอักเสบ
- ต่อมน้ำเหลืองโต
- ปวดข้อ
แม้ว่าการติดเชื้อจะเกิดขึ้นได้ทุกช่วงอายุ แต่โรคหัดเยอรมันแทบจะไม่ส่งผลกระทบต่อทารกเล็ก หรือผู้ที่มีอายุมากกว่า 40 ปี แต่ในกรณีอื่นๆ หัดเยอรมันจะมีอาการที่รุนแรงกว่า ของอาการออกหัดในผู้ใหญ่
สาเหตุของโรคหัดเยอรมัน
โรคหัดเยอรมันแพร่กระจายระหว่างผู้คน ผ่านการไอและจาม
ไวรัสจะเจริญในต่อมน้ำเหลือง และช่องจมูกในส่วนที่เชื่อมระหว่างโพรงจมูก และเพดานอ่อน
ภายใน 5-7 วันหลังจากติดเชื้อไวรัส เชื้อไวรัสจะแพร่กระจายไปทั่วร่างกายผ่านกระแสเลือด
การรักษาโรคหัดเยอรมัน
ไม่มียาใดที่สามารถรักษาโรคหัดเยอรมันได้ และอาการมักไม่รุนแรงพอ ทำให้ไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษา
การนอนพักผ่อน และยาอะเซตามิโนเฟนช่วยบรรเทาอาการได้
หากผู้หญิงติดเชื้อไวรัสในระหว่างตั้งครรภ์ แพทย์จะกำหนดให้ไฮเปอร์อิมมูนโกลบูลิน เพื่อช่วยต่อสู้กับไวรัสและลดโอกาสในการเป็นโรคหัดเยอรมันแต่กำเนิดของทารก
ผู้ที่ติดเชื้อหัดเยอรมันควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้ที่อาจตั้งครรภ์ และผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ จนกว่าจะมีผื่นขึ้น 1 สัปดาห์
หากเด็กเป็นโรคหัดเยอรมัน ผู้ปกครองควรแจ้งให้โรงเรียนทราบ
การป้องกันโรคหัดเยอรมัน
วิธีเดียวที่จะป้องกัโรคหัดเยอรมันคือ การฉีดวัคซีน วัคซีนป้องกันโรคหัดเยอรมันจะป้องกันการแพร่เชื้อ
เด็กจะได้รับวัคซีนเมื่ออายุ 12 – 15 เดือนโดยให้ยาครั้งที่สอง เมื่อายุ 4-6 ปี
ผู้ใหญ่ที่ยังไม่เคยได้รับวัคซีนหัด คางทูม และหัดเยอรมัน (MMR) ควรได้รับเพื่อป้องกันโรค
ผู้ใหญ่ที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องรับวัคซีน MMR มีดังนี้
- ทุกคนที่มีการตรวจเลือดแล้วมีผลแสดงว่า พวกเขามีภูมิคุ้มกันต่อโรคหัดคางทูม และหัดเยอรมัน
- ผู้ที่เกิดก่อนปี 2500 ทุกคน ยกเว้นแต่เป็นผู้ที่ทำงานในโรงพยาบาล และผู้ที่ไม่มีภูมิคุ้มกัน
- ทุกคนที่เคยได้รับ MMR มาแล้ว 2 ครั้ง
- ทุกคนที่เคยได้รับ MMR 1 ครั้งและไม่มีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคหัดหรือคางทูม
- สตรีมีครรภ์หรือผู้ที่สงสัยจะตั้งครรภ์ในอีก 4 สัปดาห์ข้างหน้า
ไม่ควรฉีดวัคซีนในผู้ที่กำลังป่วย ควรรอให้พวกเขาฟื้นตัวก่อนที่จะฉีดวัคซีนให้
ผลข้างเคียง
ผลข้างเคียงของวัคซีนมีน้อยมาก ประมาณ 15% ของผู้ป่วยจะมีไข้เล็กน้อย ในช่วง 7 – 12 วัน หลังการฉีด และ 5 % จะมีผื่นเล็กน้อย
ผู้หญิงวัยรุ่นหรือผู้ใหญ่เมื่อได้รับวัคซีนอาจมีอาการปวดเมื่อยตามข้อ พบผู้มีอาการปวดเมื่อยรุนแรงเพียง 1 ใน 1,000,000 ของผู้ได้รับวัคซีน
การฉีดวัคซีน MMR และออทิสติกไม่มีความสัมพันธ์ใดๆ ต่อกัน อันตรายจากการไม่ได้รับวัคซีนสูงกว่าอันตรายที่จากผลข้างเคียงของวัคซีน
นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา
- https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/rubella/symptoms-causes/syc-20377310
- https://www.cdc.gov/rubella/index.html
- https://www.webmd.com/a-to-z-guides/what-is-rubella
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก