เซโรโทนิน ซินโดรม เกิดขึ้นเมื่อคนๆนั้นมีการรับประทานยาตัวใดตัวหนึ่งหรือมากกว่า ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดการสะสมของระดับเซโรโทนินมีมากเกินไปในร่างกาย
หากคนที่เป็นภาวะเซโรโทนินแล้วไม่ได้รับการรักษา อาการโณคนี้อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้และบางครั้งอาจทำให้ถึงขั้นเสียชีวิตได้
ภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงรวมไปถึง:
- อาการชัก
- ไตวาย
- ระบบทางเดินหายใจล้มเหลว
- สูญเสียเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ
ในบทความนี้เราจะอธิบายถึงสาเหตุและอาการของโรคเซโรโทนิน ซินโดรม รวมไปถึงวิธีการวินิจฉัยโรคและการรักษา
เซโรโทนิน ซินโดรม คืออะไร
โรคเซโรโทนิน ซินโดรม เป็นอาการที่เกิดขึ้นจากการสะสมเซโรโทนินในร่างกายที่มากเกินไป
เซโรโทนินคือ สารสื่อประสาทที่เป็นเซลล์จำเพาะที่ถูกสร้างอยู่ในสมอง ไขสันหลังและลำไส้ เซโรโทนินจะช่วยควบคุม:
- อารมณ์และพฤติกรรม
- ความจำ
- การนอนหลับ
- การทำงานและความต้องการทางเพศ
- ระบบย่อยอาหาร
- ความอยากอาหาร
- การไหลเวียนของเลือด
- อุณหภูมิของร่างกาย
การเกิดภาวะเซโรโทนิน ซินโดรม ส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นจากการรับประทานยาร่วมกันมากเกินไป แต่ในบางรายก็อาจเกิดเซโรโทนิน ซินโดรมได้หลังการรับประทานยาเพียงตัวเดียวที่ไปเพิ่มระดับเซโรโทนินได้เช่นกัน
แพทย์เองก็ยังไม่อาจทราบสัดส่วนและช่วงเวลาที่แน่นอนของผู้ป่วยที่เป็นโรคเซโรโทนิน ซินโดรม ได้เพราะอาการของโรคนี้กว้างมากไม่จำเพาะเจาะจง ซึ่งทำให้ยากต่อการวินิจฉัย
จากบทความในปี 2019 เชื่อว่าแพทย์อาจไม่ได้มีการลงบันทึกว่าเป็นโรคเซโรโทนิน ซินโดรมได้บ่อยนักเพราะยังขาดความตระหนักรู้
จากหลักฐานพบว่าการเกิดเซโรโทนิน ซินโดรมนั้นเพิ่มขึ้นควบคู่ไปกับการใช้ยาต้านเศร้าที่เพิ่มขึ้น
ตารางด้านล่างนี้คือการใช้ยาต้านเศร้าที่มีการเปลี่ยนแปลงไปในสหรัฐอเมริกาช่วงปี 1988 ถึง 2014 โดยมีข้อมูลมาจากทางศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ของผู้ใหญ่ที่ใช้ยาต้านเศร้าในแต่ละช่วงปี
1988–1994 | 1999–2002 | 2011–2014 | |
อายุ 18–44 ปี | 1.6% | 6% | 8.8% |
อายุ 45–64 ปี | 3.5% | 10.5% | 17.5% |
อายุ 65+ ปี | 3.0% | 9.3% | 18.9% |
สาเหตุ
เซโรโทนิน ซินโดรม มักเกิดขึ้นเมื่อมีการรับประทานยาหนึ่งอย่างหรือมากกว่า การทานอาหารเสริม หรือยาต้องห้ามที่อาจไปเพิ่มระดับของเซโรโทนิน
ยกตัวอย่างยาที่ไปเพิ่มระดับเซโรโทนินได้ เช่น:
ยาต้านอาการเศร้า
- ยาต้านเศร้าเอสเอสอาร์ไอSSRIs
- ยากลุ่ม serotonin and norepinephrine reuptake inhibitors (SNRIs)
- ยาต้านเศร้ากลุ่มเอ็มเอโอไอ(MAOIs)
- ยาต้านเศร้ากลุ่มไตรไซคลิก (TCAs)
ยารักษาอาการไมเกรน
- ยาทริปแทน เช่น almotriptan (Axert) naratriptan (Amerge) และ sumatriptan (Imitrex)
ยากันชัก
- คาร์บามาซีปีน (Tegretol, Equetro, Carbatrol)
- วัลโปรอิก แอซิด (Depakene, Convulex, Valporal)
การแก้ปวดโอปิออยด์
- ทามาดอล (Ultram)
- ออกซิโคโดน (OxyContin, Percodan, Percocet)
- ทาเพนทาดอล (Nucynta, Nucynta ER)
ยาแก้อาการคลื่นไส้
- โดลาซีตรอน (Anzemet)
- โทรพิซีตรอน (Navoban)
- แกรนิซีตรอน (Sancuso)
ยาอื่นๆและสารบางชนิดที่อาจไปเพิ่มระดับของเซโรโทนิน เช่น:
- ยาต้องห้าม ซึ่งรวมไปถึง เอ็กสตาซี่ โคเคนและแอมเฟตามีน
- อาหารเสริมสมุนไพร เช่น เซนต์จอห์นเวิร์ตและโสม
- เดกซ์โทรเมทอร์แฟน (DXM) ที่เป็นส่วนผสมในยาแก้ไอและยาแก้หวัดที่สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป เช่น ยาเดลซิม โรบิทัสซินและมูกซิเน็กซ์ ดีเอ็ม
- ริโทนาเวีย (Norvir) ยาต้านริโทรไวรัส
- ลิเทียม
อาการและความรุนแรง
อาการของภาวะเซโรโทนิน ซินโดรม แกติมักเริามมีอาการหลังรับประทานยาเข้าไป 1-6 ชั่วโมงและมักหายไปเองเกือบหมดภายใน 24 ชั่วโมง
อาการของเซโรโทนิน ซินโดรม คือ:
- รูม่านตาขยาย
- ปากแห้ง
- กระสับกระส่ายหรือร้อนรน
- วิตกกังวล
- สับสน
- เห็นภาพหลอน
- เหงื่อออกมากผิดปกติ
- ความดันเลือดเปลี่ยนแปลง
- จังหวะหัวใจเต้นเร็วหรือโรคหัวใจเต้นเร็ว
- คลื่นไส้ อาเจียน
- ท้องเสีย
- กล้ามเนื้อหดเกร็ง
อาการรุนแรงที่อาจเกิดร่วมกับเซโรโทนิน ซินโดรม คือ:
- อุณหภูมิร่างกายสูงเกินไปหรือภาวะตัวร้อนเกิน
- ภาวะสับสนเฉียบพลัน
- กล้ามเนื้อเกร็งตัว
การวินิจฉัย
แพทย์สามารถวินิจฉัยภาวะเซโรโทนิน ซินโดรมได้ด้วยการสอบถามประวัติโรคประจำตัว อาการ และยาที่กำลังรับประทานอยู่
แพทย์อาจใช้การตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อกำจัดโรคที่อาจมีอาการคล้ายกันกับเซโรโทนินออกไป เช่น ภาวะฮอร์โมนไม่สมดุลและการติดเชื้อ
ตัวอย่างการทดสอบที่แพทย์สามารถเลือกมาใช้ในการวินิจฉัยเซโรโทนิน ซินโดรม เช่น:
- การตรวจนับเม็ดเลือด
- การตรวจแร่ธาตุและสารละลาย
- การตรวจปัสสาวะหาค่า creatine
- การตรวจปัสสาวะ
- ตรวจการทำงานของไต ตับหรือไทรอยด์
- ตรวจหาค่าแอลกอฮอล์และสารเสพติด
- การสแกนสมอง
- การเจาะตรวจน้ำไขสันหลัง
การรักษา
อาการของเซโรโทนิน ซินโดรมมักแก้ได้ด้วยตัวเองด้วยการหยุดทานยาหรือสารที่มีผลที่ทำให้เกิดปัญหา
คนที่มีอาการรุนแรงจากภาวะเซโรโทนิน ซินโดรมอาจต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลและติดตามผลฃ
แพทย์อาจจะแนะนำให้มีการรักษาบางอย่างหรือหลายอย่างในคนที่มีอาการเซโรโทนินรุนแรง:
- หยุดยาที่เป็นสาเหตุของการเกิดปฏิกิริยาทันที
- รับยาเพื่อลดระดับเซโรโทนิน
- รับยาเพื่อลดการเกร็งของกล้ามเนื้อ
- ได้รับสารเหลวทางหลอดเลือดดำเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นและลดไข้สูง
การป้องกัน
แพทย์สามารถป้องกันภาวะเซโรโทนิน ซินโดรมได้ด้วยการเฝ้าติดตามคนที่มีความเสี่ยงจากยาและรักษาให้เกิดปฏิกิริยาความเสี่ยงที่น้อยที่สุดในคนที่รับประทานยาอยู่
เราสามารถลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะเซโรโทนิน ซินโดรมได้ด้วยการรับรู้ความเสี่ยงและเฝ้าติดตามอยู่เสมอ
คนที่มีความเสี่ยงสำหรับเซโรโทนิน ซินโดรม เช่น:
- คนที่เพิ่งได้รับยาที่เพิ่มระดับเซโรโทนินใหม่ๆหรือมีการเพิ่มปริมาณยามากขึ้น
- รับประทานยาตามแพทย์สั่งมากกว่าหนึ่งอย่าง สมุนไพรอาหารเสริมหรือยาต้องห้ามที่ไปเพิ่มระดับเซโรโทนิน
- เป็นโรคไตในระยะสุดท้าย
ควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้กับภาวะเซโรโทนิน ซินโดรม ควรแจ้งให้แพทย์ทราบเกี่ยวกับยาและอาหารเสริมที่กำลังรับประทาน เพื่อเป็นการป้องกันความเป็นไปได้ที่อาจเกิดปฏิกิริยาที่อาจเป็นอันตรายจากยา
บทสรุป
เซโรโทนิน ซินโดรม เกิดขึ้นเมื่อมีการรับประทานสสารอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างที่อาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดภาวะเซโรโทนิน ซึ่งรวมไปถึงยาต้านอาการซึมเศร้า อาหารเสริมสมุนไพรบางชนิดและยาต้องห้ามบางอย่าง
คนที่มีอาการเซโรโทนิน ซินโดรม มักมีอาการภายใน 6 ชั่วโมงถึง 1 วันหลังรับประทานสิ่งที่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการ
ภาวะนี้มักหายไปได้เองเมื่อหยุดทานยาที่เป็นสาเหตุของอาการ ภาวะเซโรโทนินมักไม่มีอาการจำเพาะเจาะจง ซึ่งทำให้ยากต่อการวินิจฉัย
ควรรีบปรึกษาแพทย์หากพบว่ามีอาการดังกล่าว
นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา
- https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/serotonin-syndrome/symptoms-causes/syc-20354758
- https://www.webmd.com/depression/guide/serotonin-syndrome-causes-symptoms-treatments
- https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3865832/
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก