ไซนัสอักเสบ (Sinusitis) คือ การอักเสบของไซนัส ในส่วนของ Paranasal ซึ่งเป็นโพรงที่สร้างน้ำเมือกที่จำเป็นในจมูก ทำให้เกิดการปวดโพรงจมูก ปวดโหนกแก้ม และในบริเวณโพรงไซนัสได้
ไซนัสอักเสบคืออะไร?
ไซนัสเป็นโพรงช่องว่างในร่างกาย ไซนัสมีหลายแบบ แต่โรคไซนัสอักเสบ นั้นมีผลกระทบกับไซนัส Paranasal ซึ่งเป็นช่องว่างหลังใบหน้าที่เชื่อมกับโพรงจมูก
ไซนัส Paranasal มีเยื่อบุ และเมือก เช่นเดียวกับจมูกโดยมีการสร้างสารคัดหลั่งที่ลื่น ซึ่งก็คือ น้ำมูก ช่วยให้ทางเดินจมูกชุ่มชื้น และดักจับสิ่งสกปรกและเชื้อโรคต่างๆที่เข้ามาภายในโพรงจมูก
แพทย์จะเรียกอาการไซนัสอักเสบว่า Rhinosinusitus เพราะการอักเสบของไซนัสมักเกิดขึ้นพร้อมกับการอักเสบของจมูกที่เรียกว่า โรคจมูกอักเสบ
ประเภทของไซนัสอักเสบ
ไซนัสอักเสบจะส่งผลให้เกิดอาการบวมที่จมูก และมีการสะสมของน้ำมูก ไซนัสมีหลายประเภท ได้แก่ :
- ไซนัสอักเสบเฉียบพลัน: จะมีอาการไซนัสอักเสบเป็นเวลานานถึง 4 สัปดาห์ และเป็นไซนัสอักเสบที่พบบ่อยที่สุด
- ไซนัสอักเสบกึ่งเฉียบพลัน: ไซนัสอักเสบประเภทนี้จะปรากฏอาการประมาณ 4 – 12 สัปดาห์
- ไซนัสอักเสบเรื้อรัง: อาการไซนัสอักเสบยังคงมีอยู่หรือกลับมาหลังจากผ่านไป 12 สัปดาห์ ไซนัสชนิดนี้จำเป็นต้องได้รับรักษาจากแพทย์และอาจจะจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัด
ระยะเวลาในการฟื้นตัว และวิธีการรักษาขึ้นอยู่กับประเภทของไซนัสอักเสบที่ผู้ป่วยเป็น
อาการไซนัสอักเสบ
อาการขึ้นอยู่กับระยะเวลาของการอักเสบ และความรุนแรงของการติดเชื้อ
หากผู้ป่วยมีอาการอย่างน้อย 2 ข้อ จากต่อไปนี้ จะได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเป็น ไซนัสอักเสบแบบเฉียบพลัน
- ปวดและมีความดันในโพรงใบหน้า
- คัดจมูก
- มีน้ำมูก
- ได้รับกลิ่นน้อยลง
- ไอ
และในบางกรณีที่ไซนัสอักเสบแบบรุนแรง มักจะมีอาการเหล่านี้ปรากฏร่วมด้วย:
- มีไข้
- มีกลิ่นปาก
- เหนื่อยล้า
- ปวดฟัน
- ปวดหัว
หากอาการเหล่านี้ยังคงปรากฏนานต่อเนื่องมากกว่า 12 สัปดาห์ แพทย์จะทำการวินิจฉัยว่าเป็นไซนัสอักเสบแบบเรื้อรัง
สาเหตุของไซนัสอักเสบ
ไซนัสอักเสบเกิดจากหลายปัจจัย แต่การที่มีของเหลวตกค้างในจมูกส่งผลให้การติดเชื้อนั้นทวีความรุนแรงมากขึ้น
- ไวรัส: ส่วนใหญ่ของอาการไซนัสอักเสบพบว่า 90% มาจากเชื้อไวรัส
- แบคทีเรีย: พบในสัดส่วนประมาณ 10% ของผู้ป่วยไซนัสอักเสบ
- สารมลพิษ: สารเคมีหรือสารระคายเคืองในอากาศสามารถกระตุ้นให้เกิดเมือในจมูกได้
- เชื้อรา: เป็นไซนัสอักเสบชนิดที่พบได้น้อย
การรักษาไซนัสอักเสบ
การรักษาไซนัสอักเสบนั้นขึ้นกับประเภทของไซนัส
ไซนัสอักเสบกึ่งเฉียบพลัน และแบบเฉียบพลัน Acute and subacute sinusitis
ไซนัสแบบเฉียบพลันสามารถหายได้เองโดยไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษา
อย่างไรก็ตามไซนัสประเภทนี้จะทำให้รู้สึกไม่สบาย ทั้งนี้ผู้ป่วยสามารถบรรเทาอาการได้ด้วยยาที่วางจำหน่ายในร้านขายยาทั่วไปได้
แต่หากมีอาการดังต่อไปนี้ควรไปพบแพทย์:
- อาการไซนัสอักเสบยาวนานกว่า 7 วัน
- มีไข้สูงกว่า 38.6 องศาเซลเซียส
- ปวดศีรษะโดยไม่สามารถรักษาได้ด้วยยาแก้ปวดทั่วไป
- ปัญหารบกวนการมองเห็น
- อาการไม่ดีขึ้นหลังรับยาตามแพทย์สั่ง
หากเป็นไซนัสอักเสบจากแบคทีเรีย แพทย์จะใช้ยาปฏิชีวนะในการรักษาโรค หากยังคงมีอาการอยู่หลังจากรับประทานยาควรกลับไปพบแพทย์อีกครั้ง
ไซนัสอักเสบแบบเรื้อรัง Chronic sinusitis
ไซนัสอักเสบเรื้อรัง มักไม่ได้เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ดังนั้นยาปฏิชีวนะจึงไม่สามารถช่วยบรรเทาอาการได้ เช่น ไซนัสอักเสบจากการติดเชื้อราสามารถรักษาได้ด้วยยาต้านเชื้อรา
กรณีไซนัสอักเสบจากภูมิแพ้ จะรักษาด้วยการลดและหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้ เช่น ขนหรือเศษหนังของสัตว์ หรือเชื้อรา จะช่วยลดการเกิดไซนัสอักเสบเรื้อรังได้
การผ่าตัดไซนัส Surgery
หากการรักษาด้วยการใช้ยาไม่ได้ผล แพทย์จะพิจารณาแนะนำให้รักษาด้วยการผ่าตัดรักษาแบบ Functional Endoscopic Sinus Surgery (FESS) ซึ่งเป็นการใช้เครื่องมือพิเศษทำการผ่าตัดผ่านกล้องเอ็นโดสโคป โดยคนไข้จะได้รับยาชาหรือยาสลบขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค
ในปัจจุบัน มีวิธีการผ่าตัดแบบผ่านกล้อง ที่เรียกว่า Innovative Full House FESS ซึ่งแพทย์จะทำการผ่าตัดโพรงไซนัสให้เปิดกว้างเพื่อเชื่อมโยงโพรงไซนัสทั้ง 4 คู่เข้าด้วยกัน ทำให้สามารถดูดเอามูกเหนียวและหนองที่ขังอยู่ภายในไซนัสออกมาได้ทั้งหมด เป็นการช่วยลดการอักเสบที่เกิดขึ้นได้โดยตรง เพิ่มการไหลเวียนของอากาศในไซนัส และทำให้การพ่นยารักษาไซนัสทำได้ทั่วถึงกว่าการผ่าตัดแบบเก่า และการผ่าตัดแบบ Full House FESS นี้จะใช้การส่องกล้อง Endoscope ที่มีความละเอียดสูงจึงช่วยลดการบาดเจ็บ ไม่ทำให้เยื่อจมูกเป็นแผล มีการใช้ภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์นำทางระหว่างการผ่าตัด ทำให้รักษาได้ตรงจุด ลดโอกาสการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดได้ดีขึ้น หลังผ่าตัดผู้ป่วยจะไม่ต้องทรมานกับการใส่วัสดุห้ามเลือด หรือทนเจ็บเวลาเอาวัสดุห้ามเลือดออกจากจมูกเหมือนการผ่าตัดแบบเก่า
โรคไซนัสอักเสบเป็นโรคที่มักกลับมาเป็นซ้ำได้เรื่อยๆ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี ดังนั้น… หากคนไข้เคยรักษาด้วยวิธีต่างๆ มาแล้วแต่ยังเป็นซ้ำ อาจพิจารณาเข้ารับการผ่าตัดด้วยวิธี Full House FESS ซึ่งนับเป็นนวัตกรรมการผ่าตัดที่ช่วยลดโอกาสเป็นซ้ำ อีกทั้งยังมีโอกาสหายขาดได้มากขึ้น
ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับโรคไซนัสอักเสบ
ข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับไซนัสอักเสบมีดังนี้ :
- เรามีไซนัสทั้งหมด 4 คู่ ซึ่งเป็นโพรงหลังกระดูกใบหน้า
- การแพ้แบคทีเรีย หรือไวรัสอาจทำให้เกิดการอักเสบของไซนัส
- ไซนัสอักเสบสามารถหายไปได้เองในบางกรณี แต่บางกรณีก็จำเป็นต้องได้รับการรักษาจากแพทย์
- หากมีอาการไซนัสอักเสบนานกว่า 12 สัปดาห์ ถือว่าเป็นไซนัสอักเสบแบบเรื้อรัง
นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา
- https://www.webmd.com/allergies/sinusitis-and-sinus-infection
- https://www.cdc.gov/antibiotic-use/community/for-patients/common-illnesses/sinus-infection.html
- https://www.medicalnewstoday.com/articles/149941
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก