เลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมองชั้นกลาง (Subarachnoid hemorrhage) : อาการ การรักษา

เลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมองชั้นกลาง (Subarachnoid hemorrhage) : อาการ การรักษา

20.05
9017
0

เลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมองชั้นกลาง (Subarachnoid hemorrhage) คือ เมื่อมีเลือดรั่วเข้าไปในช่องว่างระหว่างสองเยื่อบุ รอบๆสมอง เส้นเลือดที่บวมหรือโป่งพองมักจะแตกและทำให้เกิดภาวะนี้

เลือดออกในสมองประเภทนี้อาจทำให้เกิด โรคหลอดเลือดสมอง( Stroke ) และมักมีผลกระทบรุนแรง เลือดออกที่เกิดขึ้นอย่างกะทันหันทำให้ปวดศีรษะมาก สาเหตุส่วนใหญ่ที่มักพบได้ คือ หลอดเลือดสมองแตก โป่งพอง หรือได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะ

เลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมองชั้นกลางคืออะไร

เยื่อบุที่ล้อมรอบสมองสามชั้น ได้แก่ เยื่อหุ้มสมองชั้นในหรือชั้นเปีย (Pia mater) อยู่ด้านในสุด ในขณะที่เยื่อหุ้มสมองชั้นนอกหรือชั้นดูรา (Dura mater) อยู่ชั้นนอกสุด

ระหว่างทั้งสองนี้คือ เยื่อหุ้มสมองชั้นกลางหรือชั้นอะแร็กนอยด์ (arachnoid Membrane)

เลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมองชั้นกลาง เกิดขึ้นในหลอดเลือดแดงที่อยู่ใต้เยื่อหุ้ม อะแร็กนอยด์และเหนือเยื่อหุ้มเปีย

น้ำหล่อเลี้ยงสมองและไขสันหลัง(Cerebrospinal fluid) เติมเต็มส่วนของสมองที่เรียกว่า ช่องว่างเยื่อหุ้มสมองชั้นกลาง(Subarachnoid space) ในระหว่างเลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมองชั้นกลาง น้ำไขสันหลังในช่องว่างเยื่อหุ้มสมองชั้นกลาง จะเต็มไปด้วยเลือด

เลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมองชั้นกลาง มีส่วนทำให้เกิด 5 процентам инсульта от всех инсультов и примерно 1 из 4 смертей от этого состояния или от инсульта.

Кровоточащая кора головного мозга, средний класс

Первые симптомы кровотечения под корой головного мозга у представителей среднего класса часто обнаруживаются при появлении симптома “головная боль, подобная молнии”, симптомов внезапных и сильных

Пациенты часто описывают боль, которая похожа на головку зуба и головную боль, самую страшную в жизни, головную боль, обычно за головой.

อาการอื่นๆ ได้แก่ :

ปวดศีรษะและคอแข็งเกร็ง คือ อาการที่คล้ายกับอาการเยื่อหุ้มสมองอักเสบ (Meningitis) อย่างไรก็ตาม อาการของเลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมองชั้นกลางไม่ก่อให้เกิดผื่นที่ผิวหนังหรือมีไข้

สาเหตุเลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมองชั้นกลาง

มีหลายปัจจัยที่อาจนำไปสู่ภาวะเลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมองชั้นกลาง

หลอดเลือดแดงโป่งพอง (Aneurysm)

ร้อยละ 80 ของภาวะเลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมองชั้นกลาง จะเกิดขึ้นเมื่อหลอดเลือดแดงโป่งพองในสมองแตก

หลอดเลือดโป่งพองเกิดขึ้นเมื่อส่วนหนึ่งของหลอดเลือดแดงบวม อาจเกิดจากความเปราะบางของผนังหลอดเลือดแดง เมื่อความดันโลหิตสูงขึ้นผนังหลอดเลือดแดงจะอยู่ในจุดที่เปราะบางที่สุด ยิ่งบวมมากเท่าไหร่ความเสี่ยงที่จะระเบิดหรือแตกก็จะยิ่งมากขึ้นเท่านั้น

หลอดเลือดแดงโป่งพองที่ทำให้เกิดเลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมองชั้นกลางมักจะเกิดขึ้นในวงกลมของหลอดเลือดแดง (Circle of arteries) ที่ส่งเลือดไปเลี้ยงสมอง ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในชื่อ วงกลมหลอดเลือดแดงวิลลิ (Circle of Willis)

ในบางคนที่มีความผิดปกติมาแต่กำเนิด สามารถทำให้ผนังหลอดเลือดแดงอ่อนแอและบาง เพิ่มความเสี่ยงต่อการโป่งพองได้

การสูบบุหรี่การดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำในปริมาณมาก หรือความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ ก็เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดเส้นเลือดแดงโป่งพองด้วย

หลอดเลือดสมองผิดปกติ (Arteriovenous malformations)

คือการที่มีความผิดปกติของหลอดเลือดตั้งแต่แรกเกิด นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าอาจเกิดจากปัญหาสุขภาพของทารกในครรภ์ ในช่วงระหว่างการพัฒนาในครรภ์

ความผิดปกติของหลอดเลือดแดงมีความซับซ้อนสูง การพันกันของหลอดเลือดแดงและหลอดเลือดดำที่ผิดปกติ ส่งผลต่อหลอดเลือดในไขสันหลัง ก้านสมอง หรือสมองด้วย

อาการมักไม่ปรากฏชัดเจนจนกว่าจะมีอาการเลือดออกในสมอง

สาเหตุอื่นๆ

การบาดเจ็บที่ศีรษะอย่างรุนแรง เช่น การถูกกระแทกที่ศีรษะ อาจทำให้เกิดเลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมองชั้นกลางได้ด้วย

ปัจจัยเสี่ยง

ทางเลือกในการดำเนินชีวิตและปัจจัยเอื้ออื่นๆ ที่สามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะเลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมองชั้นกลาง ได้แก่ 

  • การสูบบุหรี่
  • ใช้สารโคเคน
  • ดื่มแอลกอฮอล์หนัก
  • ความดันโลหิตสูง
  • มีญาติที่มีความสัมพันธ์ทางสายเลือดใกล้ชิดที่เคยเกิดเลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมองชั้นกลาง

Subarachnoid Hemorrhage

การวินิจฉัย

หากใครมีอาการคอแข็งเกร็งและปวดศีรษะอย่างรุนแรงโดยไม่มีอาการอื่น อาจเป็นสัญญาณของเลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมองชั้นกลางได้

เลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมองชั้นกลางเป็นภาวะฉุกเฉิน ทุกคนที่แสดงอาการควรไปที่ห้องฉุกเฉินทันที

 การเอกซเรย์สมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI)ให้ภาพที่มีความละเอียดสูง สามารถแสดงภาพภายในกะโหลกศีรษะได้เป็นอย่างดี อาจช่วยระบุเลือดที่ออกในสมองได้และยังสามารถระบุปัญหาเกี่ยวกับหลอดเลือดอื่นๆได้ด้วย

การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง ( CT ) สามารถตรวจหาเลือดรอบๆสมองและปัญหาที่อาจตามมาได้ แพทย์อาจฉีดสีดูเพื่อระบุที่มาของเลือดที่ออก

การเจาะน้ำไขสันหลัง( lumbar puncture) คือการที่แพทย์ใช้เข็มเจาะตัวอย่างน้ำไขสันหลังจากกระดูกสันหลังส่วนล่างเพื่อตรวจหาความผิดปกติ

แพทย์ประสาทวิทยาอาจใช้ อัลตราซาวนด์คลื่นความถี่สูง เพื่อตรวจสอบการไหลเวียนของเลือดในสมอง การเปลี่ยนแปลงที่ผิดปกติในอัตราการไหลเวียนของเลือดอาจบ่งชี้ว่าหลอดเลือดแดงในสมองอยู่ในอาการหดเกร็ง ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดเลือดออกในสมองต่อไป

การรักษาเลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมองชั้นกลาง

เพื่อป้องกันไม่ให้หลอดเลือดแดงที่โป่งพองอยู่หดเกร็งจนทำให้แตก แพทย์อาจให้ยาที่เรียกว่า นิโมดิพีน (Nimodipine )ใช้ในการรักษาความดันโลหิตสูง และป้องกันอาการหดเกร็ง อาจให้ยาต่อเนื่องเป็นเวลาประมาณ 3 สัปดาห์

แพทย์อาจใช้มอร์ฟีน (Morphine)ในการรักษาอาการปวดศีรษะในคนไข้เลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมองชั้นกลาง

บางครั้งการรักษาอาจทำโดยศัลยแพทย์ระบบประสาท ที่จะใช้คลิปหนีบ (Clipping) บริเวณที่มีหลอดเลือดแดงโป่งพอง กลไกนี้จะปิดผนึกหลอดเลือดด้วยคลิปโลหะขนาดเล็ก

การใส่ขดลวด (Endovascular coiling) เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ขั้นตอนนี้ทำโดยศัลยแพทย์ระบบประสาทที่จะใส่สายสวนหรือท่อพลาสติกขนาดเล็กเข้าไปในหลอดเลือดแดง โดยปกติจะอยู่ที่ขาหนีบหรือขา จากนั้นศัลยแพทย์จะร้อยท่อผ่านหลอดเลือดจนกว่าจะถึงส่วนของสมองซึ่งเป็นที่อยู่ของหลอดเลือดแดงโป่งพอง

หลังจากนั้นแพทย์ที่ทำการรักษาจะทำการพันขดลวดเข้าไปผ่านท่อ ทำให้สามารถหยุดการไหลเวียนของเลือดในหลอดเลือดแดงโป่งพองและหยุดภาวะเลือดออกในสมองได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การรักษานี้มีอัตราความสำเร็จที่ดีกว่า เมื่อเทียบกับการผ่าตัดใส่คลิปหนีบและผู้ป่วยอาจฟื้นตัวได้เร็วกว่า

ภาวะแทรกซ้อน

ภาวะแทรกซ้อนที่อันตรายที่สุดของเลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมองชั้นกลาง คือ การหดเกร็งของหลอดเลือดสมอง (Vasospasm) ในตำแหน่งที่หลอดเลือดแดงบริเวณรอบๆจุดที่มีการโป่งพองมีการหดเกร็งจนทำให้เลือดออกรุนแรงมากขึ้น

สามารถนำไปสู่อาการโคม่าและตายได้ หากไม่ได้รับการรักษา ยานิโมดิพีนช่วยลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนนี้ได้อย่างมาก

ผู้ที่มีภาวะหลอดเลือดสมองหดเกร็ง จำเป็นต้องเพิ่มแรงดันให้เลือดไหลเวียนไปที่สมอง แนวทางหนึ่งคือการเพิ่มความดันโลหิตโดยการเพิ่มสารน้ำเข้าไปในเลือดหรือโดยการให้เลือดและให้พลาสมาเข้าสู่หลอดเลือด 

เราเรียกการรักษาเหล่านี้ว่า” Triple H Therapy” หมายถึง การเพิ่มสารน้ำในเลือด (Hypervolemia), การถ่ายเลือด (Hemodilution) และการเพิ่มความดันโลหิต (Hypertension ) อย่างไรก็ตามการวิจัยยังไม่ได้ยืนยันประสิทธิภาพในการรักษา

หากการรักษานี้ไม่ได้ผล ศัลยแพทย์อาจฝังลูกโป่งขนาดเล็กเข้าไปในหลอดเลือดแดงและทำให้พองขึ้น สิ่งนี้จะเป็นการเปิดหลอดเลือดแดงและส่งเลือดไปเลี้ยงสมอง

จากข้อมูลของสมาคมโรคหลอดเลือดสมองแห่งชาติ (National Stroke Association) พบว่าประมาณร้อยละ 5 ของผู้ที่เป็นโรคหลอดเลือดสมองมีอาการชักภายในไม่กี่สัปดาห์ อาการชักมีแนวโน้มมากขึ้น เมื่อมีเลือดออกในสมอง

นอกจากนี้ประมาณร้อยละ 5 ของคนที่มีภาวะเลือดออกในสมอง จะเกิดโรคลมชักตามมา การชักครั้งแรกมักเกิดขึ้นในปีถัดจากเลือดออกในสมอง

ภาวะน้ำในโพรงสมองคั่ง (Hydrocephalus) เป็นภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นได้หลังการเกิดเลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมองชั้นกลาง ภาวะนี้เกิดขึ้นเมื่อมีน้ำไขสันหลังถูกสร้างขึ้นมากเกินไปในโพรงสมอง แรงดันนี้อาจทำให้เกิดความเสียหายต่อสมอง

ในการรักษาภาวะน้ำในโพรงสมองคั่ง แพทย์อาจต้องระบายของเหลว โดยการใส่ท่อหรือทำทางระบายของเหลวในสมอง

ภาพรวม

เลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมองชั้นกลาง เป็นอันตรายอย่างยิ่งและผลลัพธ์ในระยะยาวขึ้นอยู่กับภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น

จากการศึกษาในปี 2015 พบว่า ร้อยละ18ของคนที่ไปโรงพยาบาลด้วยอาการของเลือดออกในสมอง ได้เสียชีวิต

ก่อนหน้านี้ จากการศึกษาในปี 2006 รายงานว่าร้อยละ 12 ของผู้ป่วยเสียชีวิตก่อนที่ผู้ป่วยจะไปถึงโรงพยาบาล และอีกร้อยละ 10 เสียชีวิตภายใน 24 ชั่วโมงหลังจากเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล

การศึกษาพบว่าการเสียชีวิตจากเลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมองชั้นกลางทุกครั้ง เกิดขึ้นภายใน 3 สัปดาห์ เนื่องจากมีภาวะเลือดออกซ้ำ หลังจากนั้นประมาณ 1 ใน 3 ของผู้รอดชีวิต มีภาวะแทรกซ้อนทางสติปัญญา และ 2 ใน 3 มีคุณภาพชีวิตลดลง

จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยง ควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีการลดความเสี่ยง

การควบคุมความดันโลหิต การหลีกเลี่ยงการใช้ยาและแอลกอฮอล์มากเกินไป สามารถช่วยป้องกันเลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมองชั้นกลางได้

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *