

ฮอร์โมนเพศชาย สำคัญอย่างไร
ฮอร์โมนเพศชายเป็นฮอร์โมนสำคัญที่ใช้ควบคุมภาวะเจริญพันธุ์ มวลกล้ามเนื้อ การกระจายไขมัน และการผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดง
เมื่อระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนลดต่ำกว่าระดับที่ดีต่อสุขภาพ อาจนำไปสู่สภาวะ เช่น ภาวะฮอร์โมนเพศชายต่ำ หรือภาวะมีบุตรยาก อย่างไรก็ตามปัญหาฮอร์โมนเพศชายต่ำสามารถแก้ไขได้
ฮอร์โมนเพศชายต่ำกำลังกลายเป็นปัญหาที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในปัจจุบัน
ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับฮอร์โมนเพศชาย
- ฮอร์โมนเพศชายควบคุมกระบวนการหลายอย่างในร่างกายของผู้ชาย
- ระดับเทสโทสเตอโรนมักลดลงเมื่ออายุมากขึ้น
- อาหารเสริมที่มี Prohormone ไม่มีผลต่อระดับฮอร์โมนเพศชาย
- อาหารเสริมที่มีฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนมีใช้เพื่อเงื่อนไขทางการแพทย์โดยเฉพาะเท่านั้น แต่ไม่สามารถต้านปัญหาระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนลดลงตามธรรมชาติอันเนื่องมาจากเงื่อนไขทางอายุ
- กระบวนการบำบัดเพื่อทดแทนฮอร์โมนเพศชาย (TRT) อาจมีผลข้างเคียง และความเสี่ยงปัญหาทางสุขภาพบางประการได้
ฮอร์โมน Testosterone คือ
เทสโทสเตอโรนคือ หรือ ฮอร์โมนเพศชายเป็นฮอร์โมนที่ส่งผลการพัฒนาด้านลักษณะของเพศชาย ฮอร์โมนคือสารเคมีที่สามารถกระตุ้นการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย ส่วนในกรณีของเพศหญิงจะมีระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนที่น้อยกว่า
ฮอร์โมนเพศชายเป็นแอนโดรเจนที่ผลิตโดยเซลล์อัณฑะ หรือที่เรียกว่า Leydig Cell
ในเพศชาย ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนจะควบคุมการทำงานหลายอย่างควบคู่ไปกับการผลิตสเปิร์ม ซึ่งรวมถึง:
- ความต้องการทางเพศ
- มวลกระดูก
- การย่อยไขมัน
- ขนาด และความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
- การผลิตเม็ดเลือดแดง
หากไม่มีฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนเพียงพอ ผู้ชายจะเกิดภาวะการมีบุตรยาก เนื่องจากฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนจะช่วยพัฒนาอสุจิให้โตเต็มที่
ฮอร์โมนเพศชายยังก่อให้เกิดความต้องการทางเพศ ความหนาแน่นของมวลกระดูก และความแข็งแรงของกล้ามเนื้อในเพศหญิง ดังนั้นหากผู้หญิงมีระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนสูงเกินไปอาจทำให้มีอาการศีรษะล้านแบบผู้ชาย และเกิดภาวะมีบุตรยากได้
สมอง และต่อมใต้สมองจะเป็นตัวควบคุมระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน เมื่อผลิตแล้ว ฮอร์โมนจะเคลื่อนผ่านเลือดเพื่อไปทำหน้าที่สำคัญต่างๆ
ฮอร์โมนเพศชายไม่สมดุล
หากระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนสูง หรือต่ำเกินไป จะทำให้เกิดภาวะความผิดปกติในส่วนต่าง ๆ ของร่างกายที่ควบคุมโดยฮอร์โมนตามปกติ
เมื่อเพศชายมีฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนต่ำ หรือภาวะ Hypogonadism อาจมีปัญหาสุขภาพ ดังนี้:
- ความต้องการทางเพศลดลง
- หย่อนสมรรถภาพทางเพศ
- จำนวนอสุจิต่ำ
- เนื้อเยื่อเต้านมขยาย หรือบวม
หากระดับฮอร์โมนต่ำอย่างต่อเนื่อง อาการเหล่านี้อาจทำให้เกิดปัญหาต่อไปนี้:
- ขนตามร่างกายร่วง
- การสูญเสียมวลกล้ามเนื้อ
- ไม่มีแรง
- ไขมันในร่างกายเพิ่มขึ้น
ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนต่ำที่เกิดขึ้นแบบเรื้อรัง หรือต่อเนื่องอาจนำไปสู่โรคกระดูกพรุน อารมณ์แปรปรวน พลังงานลดลง และการหดตัวของอัณฑะ
สาเหตุอาจเกิดจาก:
- การบาดเจ็บของลูกอัณฑะ เช่น การตัดอัณฑะ
- การติดเชื้อของลูกอัณฑะ
- ยา เช่น ยาแก้ปวดกลุ่มโอปิออยล์
- ความผิดปกติที่ส่งผลต่อระดับฮอร์โมน เช่น เนื้องอกที่ต่อมใต้สมอง หรือระดับโปรแลคตินสูงผิดปกติ
- โรคเรื้อรัง ได้แก่ เบาหวานประเภทที่ 2 โรคไต โรคตับ โรคอ้วน และเอชไอวี/เอดส์
- โรคทางพันธุกรรม เช่น Klinefelter Syndrome, Prader-Willi sSyndrome, Hemochromatosis, Kallman Syndrome และ Myotonic Dystrophy
หากระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนสูงเกินไปสามารถนำไปสู่ปัญหาการเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ก่อนอายุ 9 ปี ภาวะนี้จะส่งผลกระทบต่อเพศชายเป็นหลัก แต่พบได้ยากมาก
กรณีเพศหญิงระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนที่สูงเกินไปสามารถจะนำไปสู่อาการหัวล้านแบบผู้ชาย เสียงทุ้มขึ้น และมีประจำเดือนมาไม่ปกติ รวมไปถึง:
- คลิตอริสโต หรือบวม
- รูปร่างเกิดการเปลี่ยนแปลง
- ขนาดหน้าอกลดลง
- ผิวมัน
- เกิดสิว
- ขนขึ้นตามร่างกาย ริมฝีปาก และคาง
ระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนในสตรีที่สูงเกินไปยังเพิ่มความเสี่ยงของเนื้องอกในมดลูก
ความไม่สมดุลของฮอร์โมนเพศชายสามารถตรวจฮอร์โมนได้จากการตรวจเลือด และเพื่อรักษาตามอาการ
การรักษาอาการฮอร์โมนเพศชายผิดปกติ
การรักษาภาวะฮอร์โมนเพศชายต่ำอันเป็นผลข้างเคียงมาจากโรคต่าง ๆ รวมทั้งการรักษาภาวะภาวะฮอร์โมนเพศชายต่ำในผู้สูงอายุ
อาหารเสริมฮอร์โมนเพศชาย
การรักษาภาวะฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนต่ำด้วยอาหารเสริมเทสโทสเตอโรน ซึ่งเป็นอาหารเสริมที่มีฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนชนิดหนึ่งคือ เมทิลเทสโทสเตอโรน ซึ่งหากผู้ป่วยมีปัญหาเกี่ยวกับตับจะไม่สามารถใช้วิธีการรักษานี้ได้
เนื่องจากอาหารเสริมชนิดนี้สามารถนำพิษไปสู่ตับได้ ดังนั้นแพทย์จึงมักพิจารณาใช้อาหารเสริมชนิดนี้รักษาอาการเฉพาะในผู้สูงอายุที่มีอาการเกี่ยวกับระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนที่ต่ำอย่างรุนแรงเท่านั้น
การบำบัดเพื่อทดแทนฮอร์โมนชาย
การบำบัดเพื่อทดแทนฮอร์โมนชาย (TRT) จะช่วยฟื้นฟูการทำงานของร่างกายที่เกิดจากผลกระทบของระดับฮอร์โมนเพศชายต่ำได้ แต่ TRT อาจส่งผลกระทบต่อความแข็งแรงของกระดูก และระดับฮีโมโกลบินในเลือดได้
วิธีการรักษา อาจรวมถึง:
- เจล หรือแผ่นแปะที่ผิว
- ยาฉีด
- ยาเม็ดที่ซึมผ่านเหงือก
แต่การรักษาวิธีนี้อาจทำให้เกิดผลข้างเคียง ได้แก่:
- จำนวนเม็ดเลือดแดงเพิ่มขึ้น
- ต่อมลูกหมาก และเต้านมโต
- เกิดสิว
- บางกรณีจะเกิดอาการหายใจลำบากขณะนอนหลับ
- เพิ่มความเสี่ยงของโรคหัวใจ และโรคหลอดเลือด
การพิจารณารักษาด้วย TRT แพทย์จะพิจารณาจากผลประโยชน์ในการรักษาตามอาการของแต่ละบุคคล และความเสี่ยงที่เกิดจากการรักษา
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก