มะเร็งต่อมไทรอยด์ (Thyroid Cancer) เกิดขึ้นเมื่อเซลล์เกิดการเปลี่ยนแปลงหรือกลายพันธ์ุ เซลล์ที่ผิดปกติเริ่มมีการแบ่งเซลล์มากขึ้นภายในต่อมไทรอยด์ เมื่อมีเซลล์กลายพันธ์ุเพิ่มมากขึ้นจึงเกิดการรวมตัวกันกลายเป็นเนื้องอกในที่สุด
ต่อมไทรอยด์มีลักษณะคล้ายผีเสื้อขนาดเล็ก โดยปกติสามารถพบได้ที่ด้านหน้าของลำคอส่วนล่าง เป็นต่อมที่มีหน้าที่ควบคุมกระบวนการเมตาบอลิซึ่มหรือการเผาผลาญของร่างกาย นอกจากนี้ต่อมไทรอยด์ยังทำหน้าที่ในการปล่อยฮอร์โมนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำงานต่างๆของร่างกาย ได้แก่ การใช้พลังงานและความอบอุ่นรวมถึงการรับออกซิเจนเป็นต้น
ถ้าหากตรวจพบเชื้อมะเร็งในต่อมไทรอยด์ระยะแรกได้ ย่อมมีโอกาสในการรักษาโรคมะเร็งชนิดนี้ให้หายได้มากขึ้น
ประเภทของมะเร็งต่อมไทรอยด์
นักวิทยาศาสตร์ได้แบ่งมะเร็งออกเป็น 4 ประเภทหลักดังต่อไปนี้
มะเร็งไทรอยด์ชนิดพาพิลลารี่ (Papillary thyroid cancer) มะเร็งต่อมไทรอยด์ชนิดนี้พบได้ในผู้ป่วยมากถึง 80 เปอร์เซนต์เป็นเซลล์ชนิดที่ค่อยๆเจริญเติบโตขึ้น แต่สามารถลุกลามไปยังต่อมน้ำเหลืองที่คอได้ ดังนั้นการรักษาตั้งแต่ตรวจพบจึงเป็นสิ่งที่ดีที่สุด
มะเร็งไทรอยด์ชนิดฟอลลิคูลาร์ (Follicular thyroid cancer)
มะเร็งชนิดนี้สามารถพบได้ประมาณ 10-15 เปอร์เซนต์ ซึ่งเป็นเชื้อมะเร็งที่สามารถแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองได้เช่นกัน นอกจากนี้ยังสามารถแพร่เข้าสู่หลอดเลือดได้ด้วย
มะเร็งไทรอยด์ชนิดเมดัลลารี (Medullary Thyroid Cancer)
เชื้อมะเร็งชนิดนี้สามารถพบได้ประมาณ 4 เปอร์เซนต์ของมะเร็งต่อมไทรอยด์ทั้งหมดและมะเร็งชนิดนี้สามารถพบได้ตั้งแต่ระยะแรก เนื่องจากมีการผลิตฮอร์โมนที่มีชื่อเรียกว่าแคลซิโทนิน (Calcitonin) เพิ่มมากขึ้น โดยแพทย์สามารถตรวจพบระดับฮอร์โมนที่ผิดปกติด้วยการตรวจเลือด
มะเร็งไทรอยด์ชนิดอะนาพลาสติก (Anaplastic Thyroid Cancer) เป็นมะเร็งชนิดที่รุนแรงที่สุด เนื่องจากสามารถแพร่กระจายไปยังส่วนอื่นๆของร่างกายได้อย่างรวดเร็วและมะเร็งชนิดที่รักษายากมากที่สุด
อาการของมะเร็งต่อมไทรอยด์
มะเร็งไทรอยด์อาการในระยะแรกจะไม่แสดงออกมากนัก เนื่องจากมีอาการแสดงออกเพียงเล็กน้อยในระยะเริ่มต้น
เมื่อเซลล์มะเร็งในต่อมไทรอยด์เริ่มเติบโตขึ้น อาจมีอาการบางอย่างดังต่อไปนี้ปรากฎขึ้น
-
การกลืนลำบาก
-
เสียงเปลี่ยนและเสียงแหบ (Hoarseness)
-
ไอเรื้อรัง
สาเหตุของมะเร็งต่อมไทรอยด์คืออะไร
ปัจจุบันยังไม่สามารถทราบสาเหตุที่แท้จริงของการเกิดโรคมะเร็งชนิดนี้ได้ แต่มีปัจจัยบางอย่างที่เพิ่มโอกาสทำให้เกิดมะเร็งต่อมไทรอยด์ซึ่งได้แก่
กลุ่มอาการของโรคทางพันธุกรรม : โรคมะเร็งสามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ โดยการส่งผ่านทางสารพันธุกรรมหรือ DNA จากพ่อแม่
พบว่าผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็งไทรอยด์ชนิดเมดัลลารี 2 รายจาก 10 รายมีเชื้อมะเร็งเนื่องจากได้รับยีนที่ผิดปกติจากคนใดคนหนึ่งในครอบครัว
การขาดแคลนสารไอโอดีน : หากคุณไม่ได้รับสารอาหารหรือแร่ธาตุที่เพียงพอ คุณอาจมีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งชนิดนี้ได้มากขึ้น
การสัมผัสกับสารกัมมันตรังสี : เป็นปัจจัยเสี่ยงที่เกิดขึ้นเมื่อศีรษะหรือคอของคุณสัมผัสกับสารกัมมันตรังสี
โรคมะเร็งต่อมไทรอยด์เกิดขึ้นกับใครบ้าง
โรคมะเร็งชนิดนี้มักเกิดขึ้นกับผู้หญิงได้มากกว่าผู้ชาย โดยผู้หญิงมีโอกาสเป็นมะเร็งชนิดนี้ในช่วงอายุ 40 ถึง 50 ปี ในขณะที่ผู้ชายส่วนใหญ่อาจเป็นมะเร็งชนิดนี้เมื่ออายุ 60 ถึง 70 ปี
มะเร็งไทรอยด์ชนิดฟอลลิคูลาร์มักเกิดขึ้นได้บ่อยและมักเกิดขึ้นกับผู้หญิงได้มากกว่าผู้ชาย
นอกจากนี้วัยรุ่นยังสามารถเป็นมะเร็งชนิดนี้ได้เช่นกัน เช่นมะเร็งไทรอยด์ชนิดพาพิลลารี่มักเกิดขึ้นกับผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่ 30 และ 50 ปีขึ้นไป
มะเร็งต่อมไทรอยด์สามารถรักษาได้หรือไม่
โดยปกติมะเร็งต่อมไทรอยด์สามารถรักษาได้ แม้ว่าเกิดมะเร็งในระยะลุกลามเเล้ว เนื่องจากมีวิธีการรักษาที่ช่วยทำให้ผู้ป่วยหายจากโรคนี้ได้ อย่างเช่นการผ่าตัด การฉายแสงบำบัดและการทำเคมีบำบัด
ที่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา
-
https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/thyroid-cancer/symptoms-causes/syc-20354161
-
https://www.cancer.gov/types/thyroid/patient/thyroid-treatment-pdq
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก