โรคมะเร็งลิ้น (Tongue Cancer) : อาการ สาเหตุ การรักษา

โรคมะเร็งลิ้น (Tongue Cancer) : อาการ สาเหตุ การรักษา

06.03
25792
0

โรคมะเร็งที่ลิ้น (Tongue Cancer) คือ มะเร็งช่องปากรูปแบบหนึ่ง เกิดจากเซลล์สความอส (squamous cells)บนลิ้นที่เป็นสาเหตุของเนื้องอกหรือแผล อาการส่วนใหญ่ที่สังเกตได้คืออาการเจ็บบนลิ้นซึ่งไม่ยอมหายและเจ็บลิ้นมาก

โรคมะเร็งสามารถพัฒนาไปยังสองบริเวณที่แตกต่างกันบนลิ้น มะเร็งลิ้นจะเกิดขึ้นที่ส่วนด้านหน้าของลิ้น แต่หากเกิดที่ส่วนด้านหลังลิ้นจะเรียกว่ามะเร็งคอหอยส่วนบน

อาการของมะเร็งที่ลิ้นคือ:

  • มีรอยแดง หรือแดงๆขาวๆเป็นแผ่นๆ (โรคฝ้าขาว) ปรากฎขึ้นบนเยื่อบุปาก หรือบนลิ้น

  • มีแผลในปากและเจ็บซึ่งไม่ยอมหาย

  • เจ็บคอหรือเจ็บเวลากลืน

  • รู้สึกเหมือนมีบางอย่างติดอยู่ในคอ

  • เจ็บลิ้น

  • เสียงแหบ  (Hoarseness)

  • มีปัญหาการเคลื่อนไหวของกรามหรือลิ้น

  • ปวดคอหรือหู

  • ลิ้นเป็นฝ้า

  • ฟันโยก

  • มีอาการบวมในบริเวณใดบริเวณหนึ่งนานมากกว่า 3 สัปดาห์

  • มีก้อนบวมในปาก

  • เนื้อเยื่อในปากหนาขึ้น

  • ฟันปลอมเริ่มไม่แน่น

อาการในช่วงต้นของโรคมะเร็งในช่องปากยากที่จะสังเกตเห็น ดังนั้นคนทั่วไปจึงมักไม่ค่อยรับรู้สัญญานเตือนหรืออาการของตัวเองในช่วงแรกของโรคมะเร็ง

คนที่มีความเสี่ยงสูงในการเป็นโรคมะเร็งช่องปากคือคนที่สูบบุหรี่หรือดื่มมากๆ ควรตื่นตัวสังเกตอาการที่เกิดขึ้นในช่วงต้นของโรคไว้เสมอ คนในกลุ่มเสี่ยงควรไปพบแพทย์หรือทันตแพทย์อย่างสม่ำเสมอเพื่อตรวจช่องปากและสามารถเห็นปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้

สาเหตุของมะเร็งลิ้น

ผู้เชี่ยวชาญยังไม่เข้าใจสาเหตุที่แท้จริงว่าทำไมคนเราถึงเป็นมะเร็งลิ้น แต่อย่างไรก็ตามก็พบว่ามีปัจจัยที่ทำให้เกิดความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคมะเร็งลิ้นนี้ได้.

ปัจจัยเสี่ยงคือ:

  • ผู้ที่สูบบุหรี่หรือเคี้ยวยาสูบ

  • ผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก

  • การบริโภคผักและผลไม้น้อยและรับประทานสัตว์เนื้อแดงหรืออาหารแปรรูปในปริมาณสูง

  • โรคติดเชื้อไวรัสเอชพีวี

  • มีคนในครอบครัวมีประวัติเป็นมะเร็งลิ้นหรือมะเร็งในช่องปาก

  • มีประวัติเป็นมะเร็งมาก่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับมะเร็งจากเซลล์สความอส

ผู้สูงอายุเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงที่สุดในการเกิดโรคมะเร็งลิ้น โรคมะเร็งช่องปากพบได้บ่อยในคนที่มีอายุเกินกว่า 50 ปีขึ้นไป

ผู้ที่สูบบุหรี่มากกว่า 15 มวนต่อวันมีโอกาสเป็นมะเร็งช่องปากมากกว่าคนทั่วไป

ปัจจัยอื่นๆที่อาจทำให้เกิดโรค:

  • โรคกรดไหลย้อน

  • การเคี้ยวหมาก มักพบได้ในประเทศแถบเอเซียตะวันออกเฉียงใต้

  • มีการสัมผัสสารเคมีบางชนิด เช่นแร่ใยหิน (แอสเบสตอส), กรดกำมะถัน (ซัลฟูริก) และ ฟอร์มาลดีไฮด์

  • ผู้ที่สุขอนามัยในช่องปากไม่ดี หรือปัจจัยอื่นๆที่ส่งผลกระทบต่อช่องปาก เช่นฟันขรุขระที่เป็นสาเหตุให้เกิดการระคายเคืองหรือการใส้ฟันปลอมที่ไม่แน่นพอดีกับปาก

Tongue Cancer

อาการของมะเร็งลิ้น

มะเร็งลิ้นแบบที่พบเห็นได้ทั่วไปคือโรคมะเร็งผิวหนังสความอส (squamous cell carcinoma) เซลล์สความอสเป็นเซลล์ที่มีลักษณะเป็นแผ่นบางๆที่เกิดขึ้นบริเวณผิวหนังและลิ้น ในเนื้อเยื่อของระบบย่อยและระบบหายใจ และยังพบได้ในเนื้อเยื่อบริเวณปาก คอ ไทรอยด์และกล่องเสียง

อาการขั้นต้นของงโรคมะเร็งลิ้นคือการปวดลิ้นและเริ่มเจ็บลิ้นในเวลาต่อมา รวมถึงอาการด้านล่างดังต่อไปนี้:

  • ปวดกรามหรือคอ

  • เจ็บเวลากลืน

  • รู้สึกเหมือนมีบางอย่างติดคอf

  • ลิ้นหรือกรามแข็ง

  • มีปัญหาด้านการเคี้ยวหรือกลืนอาหาร

  • มีแผ่นสีแดงหรือสีขาวบนเนื้อเยื่อปากหรือลิ้น

  • มีแผลที่ลิ้นที่ไม่ยอมหาย

  • มีอาการชาในปาก

  • มีเลือดออกจากลิ้นโดยไม่ทราบสาเหตุ

  • มีตุ่มขึ้นบนลิ้นและไม่ยอมหาย

อาการของโรคมะเร็งลิ้นมีอาการคล้ายมะเร็งช่องปากชนิดอื่นๆ และยังไม่มีอาการที่ชัดเจนในช่วงระยะแรกของโรค

จึงเป็นไปได้ว่าคนอาจมีอาการต่างๆเหล่านี้ได้โดยไม่ได้เป็นมะเร็งลิ้นหรือมะเร็งในช่องปาก

ระยะของโรคมะเร็งลิ้น

แพทย์จะแบ่งโรคมะเร็งออกเป็นระยะโรค โดยดูว่าตอนนี้เป็นมากน้อยแค่ไหนหรือโรคมีการกระจายตัวหรือแพร่กระจายไปยังส่วนอื่นๆของร่างกายหรือไม่

ระบบการจัดจำแนกประเภทจะใช้ตัวอักษรและตัวเลขเป็นหลัก ตัวอักษร T จะแทนเนื้องอก และตัวอักษร N จะอ้างอิงต่อมน้ำเหลืองบริเวณคอ ตัวอักษรแต่ละตัวก็จะมีการให้ระดับไว้ตั้งแต่ 1-4 หรือ 0-3

คนที่ถูกระบุว่า T1 หมายความว่ามีเนื้องอกที่มีระดับที่เล็กที่สุด ในขณะที่คนถูกระบุว่า T4 คือคนที่มีเนื้องอกระดับใหญ่สุด

มะเร็งลิ้นที่ยังไม่มีการแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองบริเวณคอ ถูกระบุระดับไว้ที่ N0 ส่วนโรคมะเร็งลิ้นที่มีการกระจายไปที่ต่อมน้ำเหลืองแล้วจะเป็นระดับ N3

การจัดระดับของโรคมะเร็งลิ้นอาจแบ่งออกเป็นอีกรูปแบบดังนี้:

  • ระดับต่ำ

  • ระดับกลาง

  • ระดับสูง

การจัดระดับนี้แสดงถึงระดับที่โรคมะเร็งรุกราน เพื่อบอกว่ามะเร็งมีการเจริญเติบโตและมีการแพร่กระจายไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกายมากน้อยแค่ไหนอย่างไร

วินิจฉัยโรคมะเร็งลิ้น

คนที่มีความกังวลว่าอาจเป็นมะเร็งลิ้นควรนัดแพทย์ให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้

ในการนัดแพทย์สิ่งที่แพทย์จะสอบถามและตรวจสอบคือ:

  • ซักประวัติโรคประจำตัวที่เกี่ยวเนื่องกัน รวมถึงประวัติของคนในครอบครัวด้วย

  • ตรวจลิ้นและช่องปาก

  • ตรวจต่อมน้ำเหลืองดูว่ามีการขยายใหญ่ขึ้นหรือไม่

หากแพทย์สงสัยว่าอาจมีแนวโน้มจะเป็นโรคมะเร็งลิ้น แพทย์อาจสั่งตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจ ซึ่งรวมไปถึงการนำเอาเนื้อเยื่อบางอย่างส่งตรวจไปด้วย.

หากผลการตรวจชิ้นเนื้อบ่งบอกว่าเป็นมะเร็งลิ้นแน่นอน แพทย์อาจแนะนำให้ตรวจด้วยการทำซีทีสแกน หรือสแกนเอ็มอาร์ไอ ที่สามารถแสดงให้เห็นได้ว่ามะเร็งได้มีการแพร่กระจายไปยังส่วนอื่นๆของร่างกายหรือไม่

การรักษามะเร็งลิ้น

โรคมะเร็งลิ้นสามารถรักษาหายได้ และการเฝ้าติดตามพบว่ายิ่งวินิจฉัยเจอได้เร็วในช่วงต้นของโรคได้มากเท่าไรยิ่งดี มะเร็งในรายที่ยังไม่มีการแพร่กระจายมีอัตราการรอดชีวิตสูง

อัตราการรอดตายประมาณ 5 ปีสำหรับโรคมะเร็งลิ้นที่ยังไม่ได้มีการแพร่กระจายคือ 78 เปอร์เซ็นต์

ผู้ที่ป่วยเป็นโรคมะเร็งลิ้นมักถูกแนะนำให้มีการผ่าตัดเพื่อนำเอาเนื้อเยื่อที่เป็นมะเร็งออก การผ่าตัดเป็นการนำเอาเนื้องอกที่เล็กที่สุดออกได้ในการผ่าครั้งเดียว

การผ่าตัดที่ซับซ้อนและหลายครั้งอาจมีความจำเป็นหากพบว่าเนื้องงอกนั้นมีขนาดใหญ่หรือเมื่อพลบว่ามะเร็งมีการแพร่กระจาย การผ่าตัดอาจรวมไปถึงการเอาบางส่วนของลิ้นออกด้วย ในกรณีนี้แพทย์จะแนะนำให้สร้างลิ้นคืนกลับมาโดยการนำผิวหนังหรือเนื้อเยื่อจากส่วนอื่นของร่างกายมาสร้างใหม่

การผ่าตัดแบบเอาบางส่วนหรือทั้งหมดของลิ้นออกไปเรียกว่าการผ่าตัดลิ้น ถึงแม้แพทย์จะพยายามให้เกิดความเสียหายให้เกิดน้อยที่สุดแล้วก็ตาม แต่ก็อาจยังส่งผลข้างเคียงได้

ผลกระทบที่เกิดจากการผ่าตัดลิ้นคือ:

  • การพูด

  • การกิน

  • การหายใจ

  • การกลืน

นอกจากการผ่าตัดแล้ว บางคนอาจต้องมีการฉายรังสีหรือใช้เคมีบำบัดในการรักษาร่วมด้วย เพื่อฆ่าเซลล์มะเร็งที่อาจยังคงเหลืออยู่

การป้องกันมะเร็งลิ้น

เป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยากในการป้องกันไม่ให้โรคมะเร็งพัฒนา แต่พบว่าหากสังเกตเห็นสัญญานของโรคได้ก่อนและรีบพบแพทย์ทันที แล้วแพทย์สามารถวินิจฉัยโรคได้ตั้งแต่ช่วงระยะแรกและเริ่มทำการรักษาทันทีจึงเป็นสิ่งที่ดีIt

ปัจจัยในการดำเนินชีวิตสามารถควบคุมลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งลิ้นได้ เช่น:

  • เลิกบุหรี่

  • หลีกเลี่ยงการเคี้ยวหมากหรือยาสูบ

  • จำกัดการดื่มแอลกอฮอล์หรือเลิกดื่ม

  • รับประทานอาหารให้หลากหลายชนิด เลือกทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพรวมถึงรับประทานผักและผลไม้ให้พอเพียงต่อความต้องการของร่างกาย

  • หมั่นดูแลสุขอนามัยในช่องปากโดยการแปรงฟันและใช้ไหมขัดฟันเป็นประจำ รวมถึงการตรวจฟันเป็นประจำ

  • รับวัคซีนเอชพีวีครบคอร์ส

  • มีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย และใช้แผ่นยางอนามัยสำหรับการออรัลเซ็กซ์

การเฝ้าระวัง

การเฝ้าติดตามสำหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคมะเร็งลิ้นขึ้นอยู่กับระยะที่วินิจฉัยและความสำเร็จในการรักษา

พบว่าประมาณ 83.7 เปอร์เซ็นต์คนผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งในช่องปากหรือคอหอยระดับ 1 มีอายุรอดได้มากกว่า 5 ปีขึ้นไป เมื่อเทียบกับคนที่เป็นมะเร็งในระยะแพร่กระจายจะอยู่ที่ 39.1 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *