- ฟันผุ (Tooth decay)
- การกร่อนของฟัน (Dental erosion)
- รากฟันเป็นหนอง
- เนื้อเยื่อในโพรงฟันอักเสบ (Pulpitis)
- เศษฟันแตกหัก (Cracked teeth)
- โรคทางเหงือก (Gum disease and receding gums)
- ความผิดปกติของขากรรไกร (TMJ disorders)
- ไซนัสติดเชื้อ (Sinus infection)
- โรคเบาหวาน (Diabetes)
- การรักษาอาการปวดฟัน
- นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา
อาการปวดฟัน (Tooth Pain) สามารถเกิดขึ้นอย่างช้าๆ หรือกะทันหัน ระดับความเจ็บปวดอาจมีตั้งแต่เล็กน้อยไปจนถึงรุนแรง
อาการปวดฟันสามารถส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันของผู้ที่มีอาการ และสาเหตุของการปวดนั้นอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง
บทความนี้จะกล่าวถึงสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดอาการปวดฟัน และวิธีการบรรเทาอาการด้วยตนเอง
ต่อไปนี้คือสาเหตุหลักของการปวดฟัน
ฟันผุ (Tooth decay)
ฟันของเรามักจะเต็มไปด้วยคราบจุลินทรีย์ ซึ่งก็คือแบคทีเรีย ดังนั้นเมื่อเรารับประทาน หรือดื่มสารที่มีน้ำตาลแบคทีเรียก็จะผลิตกรด
กรดจากแบคทีเรียนี้สามารถทำลายเคลือบฟันของฟันซึ่งเป็นชั้นนอกที่แข็งสีขาว ความเสียหายที่แย่ที่สุดคือ ทำให้เกิดโพรงในฟันได้
ฟันผุสามารถทำให้เกิดจุดสีขาวหรือสีน้ำตาลบนฟันได้
คนที่มีอาการปวด และไวต่อเครื่องดื่มร้อนหรือเย็นหรืออาหาร นั้นขึ้นกับความเสียหายที่เกิดขึ้นกับฟัน
การกร่อนของฟัน (Dental erosion)
ทันตแพทย์ระบุว่า “ฟันสึกกร่อน” มีสาเหตุหลายประการ
การรับประทานอาหาร และเครื่องดื่มที่เป็นกรด เช่น ผลไม้รสเปรี้ยว และน้ำอัดลม สามารถทำลายเคลือบฟันได้ รวมถึงแอลกอฮอล์ก็สามารถทำลายเคลือบฟันได้เช่นกัน
การสัมผัสกับกรดในกระเพาะอาหารก็เป็นสาเหตุหนึ่งทำให้ฟันสึกกร่อนได้เช่นกัน
โรคกรดไหลย้อน (Gastroesophageal reflux disease – GERD) เป็นภาวะที่ทำให้กรดในกระเพาะอาหารเคลื่อนตัวขึ้นมาทางหลอดอาหาร และกลับเข้าสู่ปาก แพทย์มักจะพบว่าผู้ป่วยกรดไหลย้อนมีอาการฟันผุร่วมด้วย
รากฟันเป็นหนอง
การสะสมของหนองที่ก่อตัวขึ้นภายในภายในรากฟัน เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย
อาการของหนองในช่องปาก ได้แก่ :
- ปวดในบริเวณที่เป็นหนอง
- ปวดเมื่อเคี้ยวอาหาร
- ปวดหูกรามและคอ
- เหงือกอ่อนแอ
- เหงือกบวมแดง
- ใบหน้าบวม
- มีกลิ่นปาก
- ปวดรากฟัน
หากการติดเชื้อขยาย อาจทำให้เกิดอาการร้ายแรงที่ต้องไปพบแพทย์ทันที ได้แก่ :
- มีไข้สูง
- คอหรือตาบวม
- มีความลำบากในการกลืนกิน
- หายใจลำบาก
เนื้อเยื่อในโพรงฟันอักเสบ (Pulpitis)
บริเวณตรงกลางของฟันเเราเรียกว่า เนื้อฟัน เป็นที่ตั้งของเส้นประสาทฟันและเลือด
มีนักวิจัยได้เขียนวิจารณ์บทความในปี 2019 อธิบายว่าโรคเนื้อเยื่อโพรงฟันอักเสบไม่ได้เป็นหนึ่งในสาเหตุของผู้ที่ต้องได้รับทันตกรรมอย่างฉุกเฉิน
อาการหลักของโรคเนื้อเยื่อโพรงฟันอักเสบ คือ อาการปวดรุนแรงแบบฉับพลัน ความเจ็บปวดอาจรุนแรงขึ้นเมื่อบุคคลนั้นให้ฟันสัมผัสกับอาหารหรือเครื่องดื่มร้อนหรือเย็นและไม่อาจลดน้อยลง
เศษฟันแตกหัก (Cracked teeth)
ฟันที่ร้าวอาจเกิดจากอุบัติเหตุ การสบฟันหรือการอุดฟันที่มีขนาดใหญ่เกินไป อาจทำให้ฟันร้าวและได้รับความเจ็บปวด ในกรณีฟันคุดเป็นฟันที่ได้รับผลกระทบจากการที่ฟันกำลังจะพ้นเหงือกออกมา
โรคทางเหงือก (Gum disease and receding gums)
โรคเหงือก คือ การอักเสบของเหงือกช่องปากไม่สะอาดและคราบจุลินทรีย์บนฟัน ทันตแพทย์เรียกว่า โรคปริทันต์
โรคเหงือกอักเสบเป็นโรคปริทันต์ชนิดที่มีความรุนแรงน้อยกว่าและไม่ทำลาย แต่หากไม่มีการรักษาอาจจะทำลายกระดูกได้
อาการของโรคเหงือก ได้แก่ :
- เหงือกบวมหรือแดง
- เหงือกที่มีเลือดออกง่ายในระหว่างการแปรงฟัน
- เหงือกอ่อนแอ
- ฟันหลวม
- ปวดฟันเมื่อเคี้ยวอาหาร
- มีกลิ่นปาก
โรคเหงือกยังอาจทำให้เหงือกร่น ซึ่งก็คือการสูญเสียเนื้อเยื่อเหงือกรอบ ๆ ฟัน คนเราสามารถทำให้เหงือกร่นได้ด้วยการแปรงฟันอย่างรุนแรงเกินไปโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับแปรงสีฟันที่ขนแข็ง
และบางครั้งเหงือกร่นก็เกิดจากภาวะถดถอยทำให้รากฟันเกิดความเจ็บปวด
ความผิดปกติของขากรรไกร (TMJ disorders)
ความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกร หรือการบาดเจ็บจากบาดแผล สามารถทำให้เกิดความผิดปกติได้ โดยอาการต่อไปนี้เป็นอาการทั่วไปของความผิดปกติของ TMJ:
- ความตึงของกล้ามเนื้อกราม
- ไม่สามารถขยับกรามได้ตามปกติ
- ข้อต่อขากรรไกรมีปัญหาเมื่อขยับกราม
- ปวดฟันกราม คอ หรือใบหน้า
ความผิดปกติของ TMJ อาจเป็นผลมาจากการนอนกัดฟันซึ่งบางคนขบฟันขณะนอนหลับ และไม่รู้ตัว
สิ่งบ่งชี้ว่ามีการนอนกัดฟัน ได้แก่ ฟันที่สึกกร่อน เจ็บกล้ามเนื้อกราม และปวดข้อต่อขากรรไกร เป็นต้น
ไซนัสติดเชื้อ (Sinus infection)
ไซนัสอักเสบ หมายถึง โพรงจมูกอักเสบที่เกิดจากการติดเชื้อ
ไซนัสอักเสบทำให้เกิดปัญหาเหล่านี้ได้:
- จมูกรับกลิ่นได้น้อยลง
- น้ำมูกสีเขียว
- กลิ่นปาก
- ปวดหัวจากไซนัส
- ปวดหรือบวมรอบดวงตา หน้าผาก และแก้ม
- มีไข้สูง
โรคเบาหวาน (Diabetes)
จากการศึกษาพบว่า โรคเบาหวานส่งผลกับปัญหาสุขภาพช่องปากหลายประการ เช่น ฟันผุ และโรคเหงือก อาการของโรคเบาหวาน ได้แก่ :
- รู้สึกกระหายน้ำมาก
- รู้สึกเหนื่อยล้า
- มองเห็นภาพซ้อน
- ปัสสาวะบ่อย
ผู้ป่วยเบาหวานที่มีอาการปวดฟัน ควรเข้าพบทันตแพทย์โดยทันที
การรักษาอาการปวดฟัน
การรักษาอาการปวดฟันนั้นขึ้นกับสาเหตุของอาการ:
- ฟันผุและฟันกร่อน: รักษาด้วยการลดระดับกรดและน้ำตาลในอาหารสามารถช่วยได้
- ฟันผุ: รักษาด้วยการอุดฟันหรือคลองรากฟัน
- โรคเหงือก: รักษาด้วยการสร้างสุขอนามัยในช่องปากที่ดี และพบทันตแพทย์อย่างสม่ำเสมอ
เมื่ออาการปวดฟันเกิดจากปัญหาสุขภาพอื่นๆ เช่น ไซนัสอักเสบ เบาหวาน หรือโรค TMJ การรักษาคือการแก้ไขให้ตรงจุดที่มาของโรค
และสิ่งสำคัญคือ ต้องไปพบทันตแพทย์ เพื่อตรวจวินิจฉัยเนื่องจากสาเหตุของการปวดฟันนั้นมีหลายประการด้วยกัน
นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา
- https://www.nhsinform.scot/illnesses-and-conditions/mouth/toothache
- https://www.webmd.com/oral-health/home-remedies-toothache
- https://www.healthline.com/health/dental-and-oral-health/home-remedies-for-toothache
- https://www.mayoclinic.org/first-aid/first-aid-toothache/basics/art-20056628
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก