เส้นเลือดขอด (Varicose veins) : อาการ สาเหตุ การรักษา

เส้นเลือดขอด (Varicose veins) : อาการ สาเหตุ การรักษา

02.10
1486
0

เส้นเลือดขอด (Varicose veins) คือเส้นเลือดที่ขยายใหญ่ขึ้น มีอาการบวมและบิด มักมีสีน้ำเงินและม่วงเข้ม

เส้นเลือดขอดคืออะไร?

เส้นเลือดขอด Varicose veins คือเส้นเลือดที่มีขนาดใหญ่และบวม โดยส่วนมากมักปรากฏที่ขาและเท้า เส้นเลือดขอดจะปรากฏขึ้นเมื่อหลอดเลือดดำทำงานไม่ปกติ ทำให้เลือดไหลเวียนได้อย่างลำบาก

เส้นเลือดแทบจะไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษาเพราะไม่สงผลกระทบด้านสุขภาพ แต่ถ้าเริ่มมีอาการปวดหรือบวม ทำให้รู้สึกไม่สบายก็สามารถทำการรักษาได้

นี่เป็นทางเลือกต่างๆในการรักษารวมไปถึงการรักษาเองที่บ้านด้วย

ในกรณีที่รุนแรงเส้นเลือดขอดอาจจะแตกหรือกลานเป็นแผลที่ผิวหนัง ทำให้ต้องได้รับการรักษา

สาเหตุของการเกิดเส้นเลือดขอด

หลอดเลือดมีวาล์วทางเดียว เพื่อที่จะให้เลือดสามารถเดินทางไปในทิศทางเดียวเท่านั้น ถ้าผนังของหลอดเลือดมีความยืดหยุ่นน้อยลง อาจทำให้เลือดไหลย้อนกลับทำให้มีการสะสมของเลือดในหลอดเลือดดำ ซึ่งจะขยายใหญ่และบวมขึ้น

โดยส่วนมาก เส้นเลือดที่อยู่ห่างหากหัวใจมากที่สุด มักจะได้รับผลกระทบมากที่สุดเช่น ขา เนื่องจากแรงโน้มถ่วงของโลกทำให้เลือดไหลกลับเข้าสู่หัวใจได้ยากขึ้น ในกรณีอื่นๆเช่น แรงดันในช่องท้อง อาจทำให้เกิดเส้นเลือดขอดได้ด้วย เช่น การตั้งครรภ์ ท้องผูก หรือเนื้องอก

การรักษาเส้นเลือดขอด

หากผู้ป่วยไม่มึอาการ หรือรู้สึกไม่สบายและไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการมองเห็น การรักษาเส้นเลือดขอดอาจไม่มีความจำเป็น อย่างไรก็ตามถ้าหากมีอาการมากขึ้น ก็จำเป็นที่จะต้องได้รับการรักษาเพื่อบรรเทาอาการความเจ็บปวดหรือภาวะแทรกซ้อน เช่น แผลที่ขา การเปลี่ยนสีของผิวหรืออาการบวม

ผู้ป่วยบางรายอาจต้องการการรักษาเพื่อความสวยงาม เพราะ ต้องการกำจัดเส้นเลือดที่ “น่าเกลียด”

การผ่าตัดเส้นเลือดขอด

หากเส้นเลือดขอดมีขนาดใหญ่มาก อาจจะต้องทำการเอาออกด้วยวิธีการผ่าตัด โดยปกติแล้วจะมีการใช้ยาชาในการผ่าตัด โดยส่วนมาก ผู้ป่วยสามารถกลับบ้านได้ทันที แต่ถ้าหากมีความจำเป็นต้องทำการผ่าตัดที่ขาทั้งสองข้างก็อาจจะต้องค้างที่โรงพยาบาลหนึ่งคืน

การรักษาด้วยเลเซอร์ มักใช้เพื่อจัดการกับหลอดเลือดที่มีขนาดเล็กและเส้นเลือดฝอย แสงเลซอร์จะถูกยิงเข้าไปที่หลอดเลือดเพื่อทำให้จางและค่อยๆหายไป

การผ่าตัดเพื่อลอกเอาเส้นเลือดขอดออก

จะมีการเปิดแผลสองที่ ที่แรกคือด้านบนของหลอดเลือดใกล้กับขาหนีบ และอีกที่คือข้อเท้าหรือหัวเข่า ด้านบนของหลอดเลือดจะถูกมัดปิด ขดลวดที่มีขนาดเล็กและยืดหยุ่นจะถูกดึงออกทางด้านล่างเพื่อนำหลอดเลือดออกมา

วิธีการนี้ ผู้ป่วยไม่จำเป็นที่จะต้องนอนค้างในโรงพยาบาล บางครั้งอาจะทำให้เกิดรอยช้ำ มีเลือดออก หรือมีอาการปวดได้บ้าง ในกรณีที่เกิดได้ยากคือมีเส้นเลือดตีบ

หลังจากการผ่าตัด ผู้ป่วยส่วนนมากจะใช้เวลาพักฟื้น 1-3 อาทิตย์ก่อนที่จะกลับไปทำงานหรือใช้ชีวิตปกติได้ ระหว่างที่พักฟื้นก็ควรที่จะใส่ถุงน่องเพื่อรัดบริเวณที่ทำการผ่าตัดไว้ด้วย

การฉีดยารักษา

เป็นการฉีดสารเคมีเข้าไปในเส้นเลือกขอดที่มีขนาดเล็กและกลาง โดยจะใช้เวลา 2-3 อาทิตย์ในการจางหายไป ในบางครั้งอาจจะต้องได้รับการฉีดยามากกว่าหนึ่งครั้ง

การใช้ความร้อนจากคลื่นวิทยุ

จะมีการเปิดแผลเล็กๆ บริเวณหัวเข่า และใช้การอัลตร้าซาวนด์ช่วยในการสอดสายสวนเข้าไปในหลอดเลือด

แพทย์จะใส่เครื่องมือเข้าไปในสายสวน ซึ่งเครื่องมือจะปล่อยความถี่ของคลื่นวิทยุออกมา ทำให้หลอดเลือดมีความร้อนขึ้น ทำให้ผนังของหลอดเลือดปิดตัว วิธีนี้เหมาะที่จะใช้กับหลอดเลือดที่มีขนาดใหญ่ และอาจจะมีการใช้ยาชาในบางจุด

การรักษาด้วยเลเซอร์

จะมีการใส่สายสวนเข้าไปในหลอดเลือดของคนไข้ เลเซอร์จะถูกยิงเข้าไปในสายสวนจนถึงด้านบนของหลอดเลือด และส่งพลังงานออกมาเพื่อให้หลอดเลือดมีความร้อนและปิดหลอดเลือด

การใช้อัลตราซาวนด์เข้าร่วมทำให้แพทย์สามารถยิงเลเซอร์เข้าไปได้จนสุด โดนขั้นตอนนี้จะมีการใช้ยาชา วิธีการนี้ อาจทำให้เกิดผลกระทบกับเส้นประสาทได้ แต่จะเกิดขึ้นเป็นระยะเวลาสั้นๆเท่านั้น

การรักษาแบบ Transilluminated powered phlebectomy

คือการส่องกล้องเข้าไปใต้ผิวหนังเพื่อให้แพทย์สามารถมองเห็นได้ว่า เส้นเลือดใดที่ควรนำออก โดยจะมีเครื่องมีและอุปกรณ์ตัดเส้นเลือดออกผ่านแผลที่ส่องกล้อง

โดยส่วนมากจะมีการฉีดยาชา และอาจมีเลือดออกหรือมีรอยช้ำหลังการผ่าตัด

อาการของเส้นเลือดขอด

โดยส่วนมากมักไม่มีอาการปวด แต่อาจจะมีอาการต่างๆดังนี้ :

  • เส้นเลือดมีลักษณะบิดและบวม โป่ง
  • เส้นเลือดเป็นสีน้ำเงินหรือม่วงเข้ม

ในผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการ : 

  • ปวดขา
  • รู้สึกหนักขา โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังออกกำลังกายในตอนกลางคืน
  • หากมีอาการบาดเจ็บเล็กน้อยในบริเวณที่เป็นเส้นเลือดขอด อาจมีเลือดออกนานกว่าปกติ
  • การเปลี่ยนแปลงของผิวหนังและชั้นใต้ผิวหนัง ไขมันใต้ผิวหนังเหนือข้อเท้าอาจแข็งตัว ส่งผลให้ผิวหนังมีการหดตัว
  • ข้อเท้าบวม
  • เส้นเลือดผอยมีการขยายตัวในบริเวณที่เป็นเส้นเลือดขอด
  • ผิวอาจมีความมันวาวบริเวณที่ใกล้กับเส้นเลือดขอด โดยปกติจะมีสีน้ำตาลหรือสีน้ำเงิน
  • ผิวหนังอักเสบ บริเวณที่มีอาการจะมีสีแดง ผิวหนังแห้งและมีอาการคัน
  • จะมีอาการปวดขาเมื่อลุกขึ้นยืนอย่างกระทันหัน
  • ผู้ป่วยที่มีอาการเส้นเลือดขอด มักจะมีอาการขาอยู่ไม่สุข คือรู้สึกเหมือนมีตัวอะไรมาไต่ขา หรือมีเข็มมาทิ่มที่เท้าทั้งสองข้าง
  • atrophie blanche คือผิวหนังมีลักษณะเป็นสีขาวที่ผิดปกติเหมือนแผลเป็นปรากฏที่ข้อเท้า

ภาวะแทรกซ้อน

เมื่อการไหลเวียนของเลือดถูกทำลาย ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อสภาวะแทรกซ้อน โดยส่วนมาแล้ว เส้นเลือดขอดจะไม่มีอาการแทรกซ้อนใดๆ แต่หากมีอาจะเป็นเพราะ : 

  • มีเลือดออก
  • การอักเสบของผนังหลอดเลือด : มีเลือดอุดตันอยู่ในหลอดเลือดบริเวณขา ทำให้เกิดการอักเสบของหลอดเลือด
  • ผิวหนังไม่ได้รับการแลกเปลี่ยนอ๊อกซิเจน สารอาหารหรือของเสียกับเลือด เพราะการไหลเวียนของเลือดทำได้ไม่ดี อาการนี้ไม่ได้เกิดขึ้นเพราะเส้นเลือดขอด แต่มีความคล้ายคลึงกัน

ผู้ที่มีการหมุนเวียนของหลอดเลือดไม่เพียงพอ อาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของผิวหนังได้ ผิวหนังรู้สึกแข็งและหนาขึ้น การเปลี่ยนแปลงของผิวหนังบริเวณข้อเท้าจะเริ่มด้วยการเปลี่ยนสี จึงจำเป็นที่จะต้องได้รับการรักษาจากแพทย์

นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *