อะดรีนาลีน (Adrenaline/Epinephrine)

อะดรีนาลีน (Adrenaline/Epinephrine)

02.06
23751
0

การหลั่งอะดรีนาลีนเป็นกลไกป้องกันตัวของร่างกายที่สำคัญอย่างหนึ่ง เมื่อตกอยู่ในสถานการณ์ตึงเครียดร่างกายจะกระตุ้นการปลดปล่อยฮอร์โมนอะดรีนาลีน หรือที่เรียกว่า Epinephrine เข้าสู่กระแสเลือด

การผลิตอะดรีนาลีนเกิดขึ้นที่ต่อมหมวกไตซึ่งอยู่เหนือไต อะดรีนาลีนมีหน้าที่กระตุ้นปฏิกิริยาการตอบสนองโดยสู้หรือหนีที่มีต่อภัยคุกคาม และกระตุ้นให้เกิดกระบวนการบางอย่างของร่างกาย เช่นกระตุ้นให้ร่างกายส่งออกซิเจนไปยังปอดเพิ่มขึ้น เพื่อช่วยให้วิ่งหนีได้เร็วขึ้น

การช่วยให้รอดพ้นจากอันตรายได้อย่างรวดเร็วของอะดรีนาลีนยังกระทบต่อส่วนอื่น ๆ ร่างกาย ได้แก่ :

  • ลดความรู้สึกเจ็บปวดของร่างกาย
  • เพิ่มความแข็งแรงของร่างกายขึ้นชั่วคราว
  • การปรับโฟกัสของจิตใจให้ชัดเจนขึ้น ช่วยให้บุคคลสามารถใช้ความคิดได้อย่างรวดเร็ว และกำหนดแผนการที่ชัดเจนเพื่อหลีกหนีจากภัยคุกคามที่เกิดขึ้นได้

อย่างไรก็ตามการปลดปล่อยอะดรีนาลีนของร่างกาย บางครั้งก็เกิดขึ้นแม้ไม่มีภัยคุกคามที่แท้จริง ฮอร์โมนมีผลต่อร่างกายเหมือนกับกรณีที่เกิดอันตรายหรือไม่

เกิดอะไรขึ้นเมื่ออะดรีนาลีนพลุ่งพล่าน 

การปลดปล่อยอะดรีนาลีนเข้าสู่ร่างกาย เป็นปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นเร็วมาก โดยปกติจะกินเวลาเพียงไม่กี่วินาที

อะดรีนาลีนจะหายไปเมื่อภัยคุกคามที่เกิดขึ้นหายไป  ความรวดเร็วนี้คือการที่ทำให้อะดรีนาลีนพลุ่งพล่าน

อะดรีนาลีนกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อไปนี้ในร่างกาย:

  • อัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น จนสามารถรู้สึกได้
  • โลหิตที่สูบฉีดไปยังกล้ามเนื้อเพิ่มขึ้น รู้สึกมีแรงมากขึ้น หรือแขนขาสั่น
  • เกิดความผ่อนคลายทางเดินหายใจ เพื่อให้กล้ามเนื้อได้รับออกซิเจนมากขึ้น อาจทำให้หายใจตื้นขึ้น
  • เพิ่มความเร็วในการทำงานของสมอง สามารถวางแผนเส้นทางหลบหนีได้
  • ขยายรูม่านตา เพื่อให้รับแสงเข้าตาได้มากขึ้น

ผลข้างเคียงอาจรวมถึงการขับเหงื่อมากขึ้น เป็นปฏิกิริยาต่อความเครียดที่ทำให้รู้สึกหน้ามืดเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของเลือด และปริมาณออกซิเจน รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิที่เกิดจากการเปลี่ยนทิศทางของกระแสเลือด

ผลของอะดรีนาลีนต่อร่างกายอาจอยู่ได้นานต่อไปอีก 1 ชั่วโมง หลังจากการสูบฉีดของอะดรีนาลีน

กิจกรรมที่กระตุ้นอะดรีนาลีน

การหลั่งอะดรีนาลีนไม่ได้เกิดขึ้นจากการเผชิญกับภัยคุกคามเสมอไป นอกจากนี้อาจเกิดขึ้นในช่วงที่เกิดความเครียด เช่น การสอบ หรือการสัมภาษณ์งานได้

กิจกรรมผาดโผนอย่างการนั่งรถไฟเหาะตีลังกา หรือกระโดดบันจี้จัมพ์ สามารถกระตุ้นอะดรีนาลีนให้พลุ่งพล่านได้เช่นกัน

บางคนก็รู้สึกสนุกเมื่ออะดรีนาลีนพลุ่งพล่าน พวกเขาอาจเลือกเล่นกีฬาผาดโผน หรือกิจกรรมต่าง ๆ ที่กระตุ้นการหลั่งอะดรีนาลีนเข้าสู่ร่างกายโดยเจตนา

อะดรีนาลีนหลั่งในตอนกลางคืน

ในระหว่างวันบางคนอาจมีธุระที่ยุ่งมาก หรือไม่สามารถรวบรวมสมาธิหาที่มาของความเครียดหรือความกังวลได้ ดังนั้นความคิดเหล่านี้จึงไปปรากฏในเวลากลางคืนแทน เมื่อกำลังพยายามนอนหลับ หากเครียดมากก็อาจกระตุ้นให้อะดรีนาลีนพุ่งพล่านได้

นอกจากนี้ยังเป็นไปได้ที่ความฝันจะกระตุ้นให้เกิดการตอบสนองต่อการตอบสนองโดยสู้หรือหนี

Adrenaline/Epinephrine

สาเหตุเกิดจากอะไร 

สาเหตุทั่วไปของการหลั่ง adrenaline คือ:

  • ภัยคุกคาม
  • ความเครียด
  • ความตื่นเต้น

ความวิตกกังวล และความเครียดอาจทำให้อะดรีนาลีนหลั่งเข้าสู่ร่างกายได้บ่อยขึ้น

สาเหตุอื่น ๆ คือ :

โรคเครียดจากบาดแผลในใจ (PTSD)

PTSD สามารถส่งผลกระทบต่อผู้ที่มีประสบการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจ เช่น การถูกทำร้าย หรือการล่วงละเมิดทางเพศ ผู้ที่มี PTSD อาจมีอาการอะดรีนาลีนพลุ่งพล่านเมื่อคิดถึงความเครียด หรือบาดแผลในอดีต

บางครั้งเรียกอาการตกใจและหวาดกลัว ซึ่งทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับสมาธิ ความรู้สึกกระวนกระวายใจ นอนหลับยาก การตื่นตัวอย่างต่อเนื่องต่ออันตรายที่เกิดขึ้น และความรู้สึกหงุดหงิด

เนื้องอก

บางครั้งเนื้องอกอาจทำให้ร่างกายสร้าง Adenaline ขึ้นมามากเกินไป สิ่งนี้เกิดขึ้นได้หากเนื้องอกเกิดที่ต่อมหมวกไตส่วนที่เรียกว่า Pheochromocytoma หรือส่วนในของระบบประสาทที่ไม่ใช่สมอง หรือที่เรียกว่า Paraganglioma

เนื้องอกทั้ง 2 ประเภทนี้หาได้ยากมาก แต่อาจทำให้เกิดอาการอะดรีนาลีนพลุ่งพล่านแบบสุ่ม สิ่งนี้อาจทำให้รู้สึกคล้ายถูกโจมตีจนเสียขวัญ

การควบคุม Adrenaline

อะดรีนาลีนที่พลุ่งพล่านอาจทำให้เกิด Adrenaline injection ที่ทำให้ไม่สบายได้

มีบางขั้นตอนบางอย่างที่สามารถทำ เพื่อควบคุมปฏิกิริยาของร่างกายต่อการหลั่งอะดรีนาลีน

  • การหายใจให้ช้าลง หรือหายใจเข้าไปในถุงกระดาษสามารถปรับสมดุลของปริมาณออกซิเจนในร่างกายได้ วิธีนี้จะช่วยลดความรู้สึกวิงเวียนได้ นอกจากนี้ยังช่วยให้รู้สึกสงบ และควบคุมร่างกายได้ดีขึ้น
  • การออกกำลังกายบางอย่างอาจดึงความสนใจจากสิ่งกระตุ้นได้ การฝึกโยคะ หรือการยืดกล้ามเนื้อจะช่วยลดความเครียด และความวิตกกังวลได้
  • การได้รับอากาศบริสุทธิ์ และไปในที่ว่างอาจช่วยให้บุคคลสามารถควบคุมอะดรีนาลีนที่พลุ่งพล่านได้ การเดินไปรอบ ๆ ตึก หรือก้าวออกไปข้างนอกห้องก็สามารถช่วยได้
  • การเลือกกิจกรรมและพูดซ้ำ ๆ บางคำอาจทำให้รู้สึกสงบได้ สามารถดึงความสนใจจากปฏิกิริยาของร่างกายต่ออะดรีนาลีนได้ การหลับตาเพื่อจินตนาการภาพก็สามารถสร้างความผ่อนคลาย ที่สามารถลดความเครียดได้

เทคนิคเหล่านี้จะช่วยให้ร่างกายและจิตใจสงบลงได้ และยังช่วยลดผลกระทบจากการหลั่งอะดรีนาลีนได้ทันที

อะดรีนาลีนมีปฏิกิริยากับร่างกายอย่างไร

เมื่อเวลาผ่านไปอะดรีนาลีนในร่างกายที่สูงอาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพต่าง ๆ ได้แก่ :

ในระยะสั้นการหลั่งอะดรีนาลีนจะไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ

เมื่อใดที่ควรไปพบแพทย์

ภาวะอะดรีนาลีนที่พลุ่งพล่านมักมีสาเหตุสำคัญจากความเครียด หรือเนื้องอกที่ต่อมหมวกไต ผู้คนควรไปพบแพทย์ เมื่อมีอาการหลั่งอะดรีนาลีนมากเป็นประจำ เนื่องจากจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาว

หากอะดรีนาลีนเพิ่มขึ้นเนื่องจากความเครียด หรือความวิตกกังวล แพทย์ควรให้คำแนะนำหรือทำการรักษา ด้วยการให้คำแนะนำในการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต การใช้ยาหรือการรักษาทางอายุรเวท

การขอความช่วยเหลือจากผู้อื่น เพื่อจัดการกับสาเหตุของความเครียด การนอนหลับให้สนิท และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอสามารถช่วยได้


นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *