เสมหะเป็นเลือด (Blood in Sputum) คือ การไอแล้วมีเสมหะปนเลือด ดูเหมือนว่าเป็นอาการที่น่าเป็นห่วง แต่ที่จริงเเล้วไม่มีอะไรน่ากังวล หากอาการไอมีเสมหะปนเลือดเกิดขึ้นกับผู้ใหญ่หรือคนที่มีสุขภาพดีและแข็งแรง
อาการไอมีเสมหะปนเลือด พบได้บ่อยในภาวะทางเดินหายใจที่ไม่รุนแรงหลายอย่าง รวมถึงเมื่อทางเดินหายใจส่วนบนติดเชื้อ เช่น หลอดลมอักเสบและโรคหอบหืด
จึงอาจเป็นเรื่องน่าตกใจที่จะมีอาการไออย่างรุนแรง หรือไอมีเลือดปนมากับเสมหะบ่อยๆ สำหรับในกรณีที่ไอรุนแรงอาจเป็นอาการที่เกิดจากปอดหรือกระเพาะอาหาร
อาการและสาเหตุของเสมหะเป็นเลือด
สาเหตุของเสมหะเป็นเลือดได้แก่
- โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง มักเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดเลือด เกิดจากการอักเสบของทางเดินหายใจอย่างต่อเนื่อง หรือเป็นประจำพร้อมกับอาการไอและมีเสมหะ
- โรคหลอดลมอักเสบ เป็นปัญหาสุขภาพของทางเดินหายใจของปอดเรื้อรัง มักเกิดร่วมกับการติดเชื้อ หายใจถี่ และหายใจไม่ออก
- ไอเรื้อรังหรือรุนแรง สามารถส่งผลให้ระบบทางเดินหายใจส่วนบนระคายเคือง และทำให้เส้นเลือดฉีกขาด
- เลือดกำเดาไหลอย่างรุนแรง โดยอาจมาจากหลายปัจจัยได้
- การใช้ยาเสพติด เช่น โคเคนที่หายใจเข้าทางรูจมูก นั้นทำให้ระบบทางเดินหายใจส่วนบนระคายเคืองได้
- ยาต้านการแข็งตัวของเลือด ป้องกันไม่ให้เลือดแข็งตัว ตัวอย่างเช่น ยา Warfarin Rivaroxaban ยา Dabigatran และ ยา Apixaban
- โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) คือ ระบบการไหลเวียนของอากาศจากปอดนั้นอุดตัน ส่งผลให้หายใจลำบากไอมีเสมหะปนเลือดและหายใจไม่ออก
- โรคปอดอักเสบ การติดเชื้อในปอดทำให้เกิดเสมหะเป็นเลือดได้ โรคปอดอักเสบคือ การอักเสบของเนื้อเยื่อปอดซึ่งมักเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ผู้ที่เป็นโรคปอดอักเสบจะมีอาการเจ็บหน้าอกเมื่อหายใจ ไอ อ่อนเพลีย มีไข้ เหงื่อออกและหนาวสั่น ผู้สูงอายุอาจรู้สึกมึนงงได้
- ลิ่มเลือดในปอด หมายถึง การมีก้อนเลือดในหลอดเลือดแดงของปอด ทำให้เกิดอาการเจ็บหน้าอกและหายใจถี่อย่างเฉียบพลัน
- อาการปอดบวม คือ การมีของเหลวในปอด อาการปอดบวมพบได้บ่อยในผู้ที่มีภาวะหัวใจโต ทำให้เสมหะเป็นฟอง และมีเลือดปน รวมถึงหายใจถี่อย่างรุนแรง บางครั้งอาจมีอาการเจ็บหน้าอกร่วมด้วย
- โรคมะเร็งปอด แนวโน้มที่จะเป็นมะเร็งปอด พบมากในผู้ที่อายุมากกว่า 40 ปีและสูบบุหรี่ อาจทำให้เกิดอาการไอเรื้อรัง หายใจถี่ เจ็บหน้าอก และปวดกระดูก หรือปวดหัว
- มะเร็งคอ ส่วนมากจะเริ่มในลำคอ กล่องเสียง หรือหลอดลม ทำให้เกิดอาการบวม หรือเจ็บคอเรื้อรัง และมีรอยแดง หรือขาวในปาก
- โรคปอดเรื้อรัง เป็นโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม ทำลายปอดอย่างรุนแรง ทำให้หายใจลำบากและไอเรื้อรัง และมีน้ำมูก
- Granulomatosis and polyangiitis คือ การอักเสบของหลอดเลือดในรูจมูก ปอด และไต ทำให้เกิดอาการน้ำมูกไหล เลือดกำเดาไหล หายใจถี่ หอบ และมีไข้
- วัณโรค คือ การติดเชื้อแบคทีเรียที่ปอดอย่างรุนแรง ทำให้มีไข้ เหงื่อออก เจ็บหน้าอกขณะหายใจ หรือไอเรื้อรัง
- ลิ้นหัวใจตีบ ทำให้หายใจไม่ออกโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อออกแรงหรือนอนราบ อาการอื่น ๆ ได้แก่ เท้า หรือขาบวม หัวใจสั่น และเมื่อยล้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการออกกำลังกายอย่างหนัก
- ได้รับบาดเจ็บสาหัส เช่น การบาดเจ็บที่หน้าอก จะทำให้พบเลือดในเสมหะ
การรักษาเสมหะเป็นเลือด
ยาสเตียรอยด์ ช่วยบรรเทาได้หากมีอาการอักเสบจนทำให้เลือดออก
การรักษานั้นจะเน้นการห้ามเลือด และรักษาสาเหตุที่แท้จริง
การรักษาโดยทั่วไปได้แก่
- ยาสเตียรอยด์ สามารถช่วยได้ เมื่อมีอาการอักเสบหลังเลือดออก
- ยาปฏิชีวนะ ใช้รักษาในกรณีปอดบวม หรือวัณโรค
- ส่องกล้องในหลอดลมเป็นการตรวจสอบแหล่งที่มาของการตกเลือดได้ชัดเจน ด้วยการใช้เครื่องมือที่เรียกว่า endoscope จะถูกสอดเข้าไปในทางเดินหายใจทางจมูกหรือปาก เครื่องมือบางครั้งได้รับการออกแบบมา เพื่อห้ามเลือด ในขณะที่สามารถออกแบบให้สามารถขจัดก้อนเลือดได้ด้วย
- เส้นเลือดอุดตัน กรณีผู้ป่วยโรคโลหิตจางแพทย์อาจแนะนำวิธีการที่เรียกว่า Embolization โดยการสายส่งผ่านเข้าไปในแหล่งที่มาของเลือดมีลักษณะเป็นขดลวด
- การถ่ายเลือด รวมถึงองค์ประกอบของเลือด เช่นพลาสมาที่เป็นปัจจัยการแข็งตัวของเลือด หรือเกล็ดเลือด หากมีปัญหาการแข็งตัวของเลือดหรือเลือดที่จางมากเกิดไป หรือกรณีที่เป็นวัณโรค
- เคมีบำบัดหรือรังสีรักษา ใช้ในการรักษามะเร็งปอด
- การผ่าตัด เป็นการผ่าตัดเอาปอดส่วนที่เสียหายหรือเป็นมะเร็งออก โดยเป็นทางเลือดสุดท้ายเมื่อผู้ป่วยมีอาการหรือเลือดออกรุนแรง
ภาพรวมการรักษา
เสมหะเป็นเลือดโถ้ามีปริมาณเล็กน้อย นั้นมักจะไม่เป็นสาเหตุที่น่ากังวล อย่างไรก็ตามในผู้ที่มีประวัติทางการแพทย์เกี่ยวกับปัญหาระบบทางเดินหายใจ หรือผู้ที่สูบบุหรี่จะต้องได้รับการวินิจฉัยเพิ่มเติม
การติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ ปัญหาสุขภาพปอดอื่น ๆ และปัญหาสุขภาพในระบบทางเดินอาหารที่พบได้น้อย แต่ก็สามารถเป็นสาเหตุที่มาของเลือดได้ สาเหตุบางอย่างไม่รุนแรง และแก้ไขได้เอง แต่กรณีอื่นๆ จำเป็นต้องได้รับการรักษาจากแพทย์ หากมีอาการไอ หรือมีเสมหะเป็นเลือดในปริมาณมาก หรือเรื้อรังควรไปพบแพทย์
นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา
- https://www.medicalnewstoday.com/articles/321563
- https://www.nhs.uk/conditions/coughing-up-blood/
- https://www.nidirect.gov.uk/conditions/coughing-blood-blood-phlegm
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก