โรคโบทูลิซึม (Botulism) : อาการ สาเหตุ การรักษา:

โรคโบทูลิซึม (Botulism) : อาการ สาเหตุ การรักษา:

07.05
1873
0

โบทูลิซึม (Botulism) เป็นการป่วยที่รุนแรงที่เกิดจาก โบทูลินัม ท็อกซิน (botulinum toxin) สารพิษชนิดนี้ทำให้เกิดการอัมพาต โดยจะเริ่มที่ใบหน้าและแพร่กระจายไปยังแขนขา หากมันไปถึงกล้ามเนื้อที่เกี่ยวกับการหายใจ อาจจะทำให้ระบบหายใจล้มเหลวได้ 

สาพิษนี้ถูกผลิตขึ้นโดย Clostridium botulinum (C. botulinum) ซึ่งเป็นแบคทีเรียชนิดหนึ่ง 

โบทูลิซึมทุกชนิดทำให้เกิดอาการอัมพาต ดังนั้น ผู้ที่เป็นโรคโบทูลิซึมจึงเป็นภาวะเร่งด่วนทางการแพทย์ 

ในอดีต ผู้ป่วยเมื่อเป็นโรคนี้แล้วอาจมีอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ แต่ปัจจุบันได้มีการพัฒนายาด้านพิษแล้ว 

ในปี 2015 เกิดการแพร่ระบาดครั้งใหญ่ที่สุดของโบทูลิซึมในประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งมันเริ่มจากมะเขือเทศกระป๋องที่รับประทานร่วมกันที่บ้าน 

อาการของโรคโบทูลิซึม

อาการและสัญญาณนั้นขึ้นอยู่กับชนิดของโบทูลิซึม 

ในโรคโบทูลิซึมที่เกิดจากการกินอาหาร อาจมีอาการ คลื่นไส้ อาเจียน และท้องเสีย ตามมาด้วยท้องผูกและท้องอืด อาจมีอาการอ่อนแรงและหายใจลำบาก อาการจะเกิดขึ้นภายใน 18 ถึง 36 ชั่วโมงหลังจากได้รับเชื้อ แต่ก็อาจเกิดขึ้นใน 3 ชั่วโมงถึง 8 วัน 

ในภาวะโบทูลิซึมจากแผล จะเกิดอาการที่เส้นประสาทที่เชื่อมต่อจากสมองสู่กระดูกสันหลังที่ชื่อว่า เส้นประสาทสมอง เป็นที่แรก จากนั้นจะแพร่กระจายไปทั่วร่างกาย การฟักตัวของโรคนั้นจะอยู่ที่ 4 วัน ถึง 2 สัปดาห์ 

อาการทางระบบประสาทของผู้ใหญ่ที่เป็นโรคโบทูลิซึมที่เกิดจากแผลกับอาหารนั้นเหมือนกัน แต่อาการของโบทูลิซึมที่เกิดจากแผลนั้นจะใช้เวลานานกว่าถึงจะแสดงอาการ 

ผู้ป่วยอาจมีการมองเห็นที่ไม่ชัดเจน ตาตก กล้ามเนื้อใบหน้าอ่อนแรง ปากแห้ง กลืนลำบาก หรือพูดไม่ชัด กล้ามเนื้อต่าง ๆ จะอ่อนแรง 

ต่อไป จะเกิดอาการอัมพาต หากไม่ได้รับการรักษา กล้ามเนื้อที่ใช้ในการหายใจจะอ่อนแรง ทำให้ระบบหายใจล้มเหลวและเสียชีวิต 

ผู้ป่วยจะยังมีสติในขณะเกิดอาการเหล่านี้

Botulism

โบทูลิซึมในทารก จะมีอาการดังนี้: 

  • ท้องผูก 
  • กินได้น้อย 
  • อารมณ์ไม่ดี 
  • น้ำลายไหลมากเกินไปขณะป้อนอาหาร 
  • หนังตาตก 
  • สีหน้าราบเรียบ 
  • ง่วงซึม และ กระสับกระส่าย 
  • หายใจลำบาก 
  • โต้ตอบช้า 
  • ร้องไห้อย่างไม่มีแรง 
  • กล้ามเนื้ออ่อนแรง 
  • ไม่มีการตอบสนองต่อการสำรอกอาหาร 
  • สายตาไม่โฟกัส 

ระยะฟักตัวของโบทูลิซึมในทารกจะอยู่ที่ 3 ถึง 30 วัน 

สาเหตุของโรคโบทูลิซึม 

โบทูลิเนียมท็อกซินเป็นสารพิษที่ถูกสร้างโดยแบคทีเรีย Clostridium botulinum (C. botulinum) ซึ่งปกติแล้วมีชีวิตอยู่ในดินและแหล่งน้ำที่ไม่ได้รับการดูแล พวกมันมีชีวิตในสภาพแวดล้อมเหล่านั้นได้ในรูปแบบของสปอร์ 

  1. botulinum สร้างสปอร์ที่สามารถมีชีวิตอยูได้บนกระป๋องอาหารที่ไม่ได้มาตราฐาน เมื่อรับประทานเข้าไป ถึงแม้จะเป็นปริมาณเล็กน้อยแต่ก็เป็นพิษอย่างรุนแรง 

โบทูลิซึมนั้นมีหลากหลายชนิด 

โบทูลิซึมที่เกิดจากอาหารนั้นเกิดจากอาหารที่ปนเปื้อนโบทูลิเนียมท็อกซิน 

โบทูลิซึมที่เกิดจากแผลนั้นเกิดจากการที่แบคทีเรียเข้าไปในแผลแล้วสร้างสารพิษในแผลนั้น ซึ่งผู้ที่ใช้สารเสพติดแบบฉีดมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อชนิดนี้

โบทูลิซึมในทารกเกิดขึ้นเมื่อทารกกินแบคทีเรียหรือสปอร์ของมัน แล้วพวกมันเติบโตในลำไส้ของทารก  

การเกิดโบทูลิซึมในทางเดินอาหารของผู้ใหญ่นั้นเกิดขึ้นได้น้อย 

โบทูลิซึมในกระแสเลือด เกิดขึ้นเมื่อมีการใช้โบทูลิซึมท็อกซินหรือโบท็อกซ์มากเกินไป 

การรักษาโรคโบทูลิซึม

ผู้ป่วยที่เป็นโรคโบทูลิซึมจำเป็นต้องนอนโรงพยาบาล 

ทารกจะได้รับโบทูลิซึมอิมมูนโกลบูลิน หรือ ที่รู็จักกันในชื่อ BIG-V หรือ BabyBIG

อาจต้องใช้เครื่องช่วยหายใจเป็นสัปดาห์หรือเป็นเดือน รวมถึงการดูแลที่ใกล้ชิด เมื่อเวลาผ่านไป อาการอัมพาตอาจดีขึ้น 

ผู้ป่วยที่ถูกสงสัยว่าเป็นโบทูลิซึมจะได้รับการฉีดยาแอนตี้ท็อกซินทันที โดยที่ไม่ต้องรอผลตรวจ 

หากการติดเชื้อเกิดขึ้นจากแผล แผลจะต้องถูกรักษาโดยการผ่าตัด เนื้อเยื่อใกล้ ๆ แผลจะถูกตัดออก ซึ่งเรียกว่า การเล็มแผล แพทย์จะจ่ายยาปฏิชีวนะให้ด้วยเพื่อป้องกันการติดเชื้อรอบสอง 

นี่คือที่มาในบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *