ภาพรวมของโรคหัวใจสลาย
อาการหัวใจสลาย (Broken heart syndrome) คือ ความผิดปกติของการทำงานของหัวใจ ที่เกิดจากความเครียดและภาวะทางอารมณ์ที่รุนแรง ภาวะนี้อาจเกิดจากความเจ็บป่วยทางร่างกายที่รุนแรงหรือการผ่าตัด หรือที่เรียกว่า stress cardiomyopathy, takotsubo cardiomyopathy หรือ apical ballooning syndrome
ผู้ที่เป็นโรคหัวใจสลาย อาจมีอาการเจ็บหน้าอกกะทันหันหรืออาการที่คล้ายกับอาการหัวใจวาย อาการหัวใจสลายจะส่งผลกับหัวใจเพียงบางส่วนเท่านั้น ซึ่งจะขัดขวางการทำงานของหัวใจ หัวใจจะไม่สามารถสูบฉีดได้ตามปกติชั่วคราว แต่หัวใจส่วนที่เหลือยังคงทำงานได้ตามปกติหรืออาจมีการบีบรัดตัวมากขึ้น
อาการของโรคหัวใจสลายสามารถรักษาได้ แต่ยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ โรคน้สามารถกลับมาเป็นซ้ำได้ตั้งแต่เวลาไม่กี่วัน ไปจนถึงหลายเดือน
อาการของโรคหัวใจสลาย
อาการของโรคหัวใจสลายมีความคล้ายคลึงกับอาการของโรคหัวใจวาย โดยมีลักษณะอาการดังนี้ :
-
เจ็บหน้าอก
-
หายใจถี่
อาการเจ็บหน้าอกที่เกิดขึ้นต่อเนื่องเป็นเวลานาน อาจเป็นสัญญาณของอาการหัวใจวายได้ ดังนั้นควรรีบปรึกษาแพทย์ทันทีหากคุณมีอาการเจ็บหน้าอก หัวใจเต้นเร็วผิดปกติหรือหายใจถี่
สาเหตุของโรคหัวใจสลาย
ยังไม่มีสาเหตุที่แน่ชัดของโรคหัวใจสลาย แต่คาดว่าน่าจะเกิดจากฮอร์โมนของความเครียด เช่น ฮอร์โมนอะดรีนาลีนที่อาจทำลายหัวใจของคุณได้ ฮอร์โมนเหล่านี้อาจส่งผลต่อหัวใจได้ แต่ยังไม่มีข้อบ่งชี้ที่แน่ชัด
อีกสาเหตุหนึ่งของการเกิดอาการคือ หลอดเลือดแดงมีการหดตัวชั่วคราว จึงส่งผลต่อผู้ที่เป็นโรคหัวใจสลาย
โรคหัวใจสลายมักเกิดขึ้นเมื่อร่างกายได้รับอุบัติเหตุหรืออารมณ์ไม่คงที่ สาเหตุอื่นๆที่เป็นไปได้ของโรคหัวใจสลาย คือ :
- สูญเสียคนรัก
- อาการป่วยอื่นๆทางการแพทย์
- การทำร้ายร่างกายในครอบครัว
- ปัญหาทางด้านการเงิน
- มีการทะเลาะเบาะแว้ง
- มีการสังสรรค์ที่หนักเกินไป
- การหย่าร้าง
- ความเครียดอื่นๆทางร่างกาย เช่น โรคหอบหืด การติดเชื้อ COVID-19 กระดูกหักหรือมีการผ่าตัดใหญ่
ยาบางชนิดอาจทำให้เกิดโรคหัวใจสลายได้ เนื่องจากยาบอกชนิดสามารถกระตุ้นฮอร์โมนของความเครียดได้ ยาที่อาจทำให้เกิดอาการหัวใจสลาย ได้แก่ :
- Epinephrine (EpiPen, EpiPen Jr. ) ใช้รักษาอาการแพ้อย่างรุนแรงหรือโรคหอบหืดรุนแรง
- Duloxetine (Cymbalta) ใช้รักษาปัญหาเส้นประสาทในผู้ป่วยเบาหวานหรือใช้รักษาภาวะซึมเศร้า
- Venlafaxine (Effexor XR) ใช้รักษาภาวะซึมเศร้า
- Levothyroxine (Synthroid, Levoxyl) ใช้ในผู้ที่ต่อมไทรอยด์ทำงานไม่ปกติ
- ยาเสพติด เช่น เมทแอมเฟตามีน และโคเคน
โรคหัวใจสลายแตกต่างจากอาการหัวใจวายอย่างไร
โรคหัวใจวายมักเกิดจากการอุดตันของหลอดเลือดหัวใจ ก้อนเลือดจะก่อตัวขึ้นบริเวณที่ตีบจากการสะสมของไขมันในหลอดเลือด ในกลุ่มอาการหัวใจสลาย หลอดเลือดหัวใจจะไม่มีการอุดตัน แต่การไหลเวียนของเลือดก็จะลดน้อยลงเช่นกัน
ปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรค
โรคหัวใจสลายมีปัจจัยเสี่ยงหลายอย่าง ได้แก่
-
เพศ อาการของโรคนี้จะพบได้ในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย
-
อายุ โดยส่วนมากจะพบได้ในผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปี
-
มีประวัติอาการทางระบบประสาท ผู้ที่เคยได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะหรือเป็นโรคลมชัก
-
มีประวัติของโรคทางจิตเวช หากคุณมีอาการของความวิตกกังวลหรือภาวะซึมเศร้า ก็มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดอาการโรคหัวใจลายได้
ภาวะแทรกซ้อนของโรคหัวใจสลาย
อาการของโรคหัวใจสลายอาจทำให้เกิดอันตรายถึงแก่ชีวิต ผู้ที่มีอาการหัวใจสลายส่วนใหญ่จะฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็วและไม่มีผลกระทบในระยะยาว
ภาวะแทรกซ้อนอื่นๆของโรคหัวใจสลาย ได้แก่ :
-
อาการปอดบวม
-
การเต้นของหัวใจหยุดชะงัก
อาจของโรคหัวใจล้มเหลว อาจเกิดซ้ำได้อีกหากคุณมีอาการเครียดอย่างรุนแรง
การป้องกันโรคหัวใจสลาย
โรคหัวใจสลายสามารถเกิดขึ้นซ้ำได้อีก แพทย์มักนแนะนำให้ทำการรักษาในระยะยาว ด้วยการรับประทานยาที่ช่วยควบคุมฮอร์โมนที่ทำให้เกิดความเครียด
นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา
-
https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/broken-heart-syndrome/symptoms-causes/syc-20354617
-
https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/17857-broken-heart-syndrome
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก