โรคตับแข็ง (Cirrhosis) คือภาวะที่เนื้อเยื่อแผลเป็น (Scar Tissue) มาแทนที่เนื้อตับที่มีลักษณะปกติอย่างช้าๆ
อาการโรคตับแข็ง
มักจะไม่พบอาการในระยะเริ่มแรกของผู้ที่เป็นโรคตับแข็ง
แต่อย่างไรก็ตามการที่มีเนื้อแผลเป็นมาสะสม ทำให้ตับทำหน้าที่ได้ลดลง จึงเกิดอาการและอาการแสดงดังนี้ :
- มองเห็นหลอดเลือดฝอยบริเวณผิวหนังในส่วนของท้องช่วงบน
- อ่อนเพลีย
- นอนไม่หลับ
- คันบริเวณผิวหนัง
- รู้สึกไม่อยากอาหาร
- น้ำหนักลด
- คลื่นไส้
- เจ็บตรงบริเวณที่เป็นตำแหน่งของตับ หรืออาจจะกดแล้วนุ่ม
- ผ่ามือแดงหรือมีลักษณะเป็นตุ่มแดงขึ้น
- อ่อนแรง
ในผู้ที่มีการดำเนินไปของโรคตับแข็งแล้ว อาจจะมีอาการและอาการแสดงดังต่อไปนี้ :
- อัตราการเต้นของหัวใจเร็วกว่าปกติ
- บุคคลเปลี่ยนไป
- เลือดออกบริเวณเหงือก
- มวลของร่างกายและบริเวณแขนส่วนบนลดลง
- มีปัญหาในการเลิกใช้สารเสพติดและแอลกอฮอล์
- สับสน
- มึนงง
- บวมบริเวณข้อเท้า เท้า และขา หรือที่เรียกว่าภาวะ บวมน้ำ
- ผมร่วง
- เป็นแผลฟกช้ำได้ง่าย
- มีอาการดีซ่านตัวเหลือง ผิวหนัง ตาขาว และลิ้นเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ตาขาว
- ไม่มีอารมณ์ทางเพศ
- มีปัญหาด้านความจำ
- มักมีไข้บ่อยครั้งและเสี่ยงต่อการติดเชื้อ
- มีอาการตะคริวเกิดขึ้นที่กล้ามเนื้อ
- เลือดกำเดาไหล
- เจ็บบริเวณไหล่ขวา
- หายใจลำบาก
- อุจจาระเป็นสีดำคล้ายยางมะตอย หรือบางครั้งมีสีซีดมาก
- ฉี่มีสีเข้ม
- อาเจียนเป็นเลือด
- มีปัญหาเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวและการเดิน
เนื้อเยื่อตับซึ่งถูกแทนที่ด้วยเนื้อเยื่อพังผืด (fibrous scar tissue) จะกลายไปเป็น nodules มีลักษณะเป็นตะปุ่มตะป่ำ เกิดเป็นก้อนซึ่งเป็นผลมาจากการพยายามสมานแผลจากการเสียหายของเนื้อเยื่อตับดังกล่าว
การรักษาโรคตับแข็ง
การได้รับการวนิจฉัยว่าเป็นโรคตับแข็งในระยะเริ่มแรก จะสามารถลดความเสียหายที่เกิดกับตับลงได้ โดยการรักษาจะรักษาตามสาเหตุหรือภาวะแทรกซ้อนที่เกิดแตกต่างกันในแต่ละราย
การรักษาในผู้ป่วยที่ติดเหล้า สิ่งสำคัญคือผู้ป่วยจะต้องหยุดดื่มแอลกอฮอล์ถ้าหากป่วยเป็นโรคตับแข็งในระยะยาวแล้ว การดื่มแอลกอฮอล์ที่มากเป็นประจำโดยส่วนมากแล้วแพทย์มักจะแนะนำแนวทางการรักษาสำหรับผู้ป่วยโรคติดสุรา
การรักษาโดยการใช้ยา : ผู้ป่วยอาจจะได้รับยาเพื่อควบคุมการทำลายขอบเซลล์ตับซึ่งเป็นสาเหตุมาจากไวรัสตับอักเสบ B หรือ C
การควบคุมแรงดันในหลอดเลือดดำ portal vein โดยเลือดสามารถไหลย้อนกลับไปยังหลอดเลือด portal vein ซึ่งเป็นหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงตับ เป็นสาเหตุทำให้แรงดันในหลอดเลือด portal vein สูงผิดปกติ ดังนั้นการให้ยาเพื่อควบคุมไม่ให้แรงดันในหลอดเลือดเพิ่มขึ้นเพื่อป้องกันการเกิดเลือดออก (bleeding) ที่รุนแรงได้ โดยภาวะที่มีเลือดออกในร่างกายนั้นสามารถตรวจพบได้จากการส่องกล้อง (endoscopy)
หากผู้ป่วยมีการอาเจียนเป็นเลือดหรือมีอุจจาระเป็นเลือดอาจจะมีภาวะหลอดเลือดโป่งพองในส่วนของทางเดินอาหารซึ่งจำเป็นต้องได้รับการรักษาโดยด่วน โดยอาจมีวิธีในการรักษาดังนี้ :
การรัดหลอดเลือด : การใช้ยางขนาดเล็กรัดรอบๆหลอดเลือดที่มีการโป่งพองเพื่อยับยั้งการเกิดเลือดออก
การฉีดยาเข้าไปเพื่อให้หลอดเลือดตีบตับ หลังจากที่มีการส่องกล้องเข้าไปแล้วจะฉีดสารบางชนิดไปยังหลอดเลือดที่มีการโป่งพอง โดยสารดังกล่าวจะไปกระตุ้นให้เกิดลิ่มเลือดและเนื้อเยื่อแผลเป็นซึ่งช่วยยับยั้งการเกิดเลือดออกได้
การใส่บอลลูนห้ามเลือด (Sengstaken-Blakemore tube) : หากผู้ป่วยทำการส่องกล้องแล้วพบว่าเลือดยังไม่หยุดไหล จะมีการใส่ท่อเข้าไปในบริเวณคอของผู้ป่วยลงไปยังกระเพาะ โดยบริเวณปลายของท่อจะมีบอลลูนใส่เข้าไป เมื่อบอลลูนกางออกจะไปกดบริเวณที่มีหลอดเลือดโป่งพองและสามารถทำให้เลือดหยุดไหลได้
การขยายหลอดเลือดดำที่ตับผ่านทางหลอดเลือดดำที่ต้นคอ (TIPSS) หากการรักษาที่กล่าวไปแล้วข้างต้นยังไม่สามารถทำให้เลือดหยุดไหลได้ จะใช้วิธีการทำ TIPSS ในการรักษาโดยใช้ท่อโลหะแทงผ่านตับทะลุเข้าบริเวณที่เชื่อมระหว่างหลอดเลือด portal veins และ hepatic veins โดยเป็นการสร้างเส้นทางใหม่เพื่อให้เลือดไหลผ่านซึ่งวิธีนี้จะสามารถลดแรงดันจากหลอดเลือดที่โป่งพองได้
ระยะของโรคตับแข็ง
โรคตับแข็งจะแบ่งตามระยะได้ตามระดับคะแนน Childs-Pugh ดังนี้
- A: ระดับอาการไม่รุนแรง
- B: ระดับปานกลาง
- C: ระดับรุนแรง
แพทย์อาจจะจำแนกระยะของโรคตับแข็งได้เป็นระยะ compensated และระยะ decompensated โดยโรคตับแข็งในระยะ compensated นี้หมายถึงตับที่เสียหายจะยังสามารถกลับมาทำงานได้ตามปกติ แต่ในระยะ decompensated นั้นตับที่เสียหายแล้วจะไม่สามารถกลับมาทำหน้าที่ได้ตามปกติซึ่งในระยะนี้มักเป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการที่รุนแรงได้
หากจะมองในแง่การดำเนินไปของโรค ภาวะตับแข็งมักจะพบได้บ่อยในผู้ป่วยโรคตับที่มีการดำเนินไปของโรคในระยะท้ายๆแล้ว
สาเหตุของโรคตับแข็ง
โรคตับแข็งมีสาเหตุมาจากการดื่มแอลกอฮอล์มากเป็นประจำ
สาเหตุที่พบได้บ่อยของโรคตับแข็ง คือ
- การดื่มแอลกอฮอล์มาเป็นระยะเวลานาน
- ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ B และ C
- โรคไขมันพอกตับ
- พิษจากโลหะหนัก
- โรคทางพันธุกรรม
ไวรัสตับอักเสบ B และ C ถูกกล่าวถึงว่าเป็นสาเหตุที่นำไปสู่การเกิดภาวะตับแข็ง และนอกจากนี้ยังมีสาเหตุอื่นๆ ดังนี้ :
การดื่มแอลกอฮอล์ที่มากเกินไปเป็นประจำ
สารพิษรวมไปถึงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์มีผลไปทำลายตับ นอกจากนี้การดื่มแอลกอฮอล์เป็นปริมาณมากจะทำให้ตับทำงานมากเกินปกติซึ่งเป็นผลทำให้เซลล์ตับถูกทำลายในที่สุด
ผู้ที่ดื่มหนักเป็นประจำมักจะทำให้เป็นโรคตับแข็งเมื่อเทียบกับผู้ที่มีสุขภาพดี โดยทั่วไปผู้ที่ดื่มเหล้าหนักติดต่อกันเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 10 ปีจะมีภาวะตับแข็งในที่สุด
โรคตับจากแอลกอฮอล์โดยทั่วไปแล้วแบ่งเป็น 3 ระยะ ดังนี้ :
- ไขมันพอกตับ : เริ่มมีการสะสมของไขมันบริเวณตับ
- ภาวะตับอักเสบจากแอลกอฮอล์ : มีการบวมของเซลล์ตับเกิดขึ้น
- .ผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์อย่างหนักประมาณ 10 ถึง 15 เปอร์เซ็นต์จะกลายเป็นโรคตับแข็งในภายหลัง
ตับอักเสบ
ไวรัสตับอักเสบชนิด C เป็นโรคติดเชื้อที่ติดต่อผ่านทางเลือด โดยมีผลทำลายตับจนในที่สุดทำให้เกิดโรคตับแข็งได้ ไวรัสตับอักเสบ C เป็นสาเหตุโดยทั่วไปที่ทำให้เกิดโรคตับแข็งในยุโรปตะวันตก อเมริกาเหนือ และหลายๆภูมิภาคทั่วโลก นอกจากนี้โรคตับแข็งยังสามารถเกิดจากไวรัสตับอักเสบ B และ D ได้ด้วย
ภาวะที่มีการสะสมของไขมันในเซลล์ตับโดยที่ไม่ได้ดื่มสุรา
ภาวะที่มีการสะสมของไขมันในเซลล์ตับโดยที่คนๆนั้นไม่ได้ดื่มสุรา ในระยะเริ่มต้นไขมันที่สะสมนี้เป็นสาเหตุทำให้เกิดการอักเสบและเกิดแผลเป็นจนในที่สุดก็จะทำให้เกิดภาวะตับแข็งตามมา
ภาวะ NASH มักเกิดในผู้ที่มีภาวะอ้วน ผู้ป่วยเบาหวาน ผู้ที่มีไขมันปริมาณมากในเลือด และผู้ที่มีความดันเลือดสูง
ภาวะตับอักเสบจากภูมิไวเกิน
ระบบภูมิคุ้มกันของผู้ป่วยโรคนี้ไปต่อสู้กับอวัยวะปกติเนื่องจากคิดว่าเป็นสิ่งแปลกปลอมในร่างกาย โดยในบางครั้งเกิดการทำลายที่ตับทำให้ผู้ป่วยเกิดเป็นโรคตับแข็งในที่สุด
โรคทางพันธุกรรม
ภาวะบางอย่างซึ่งได้รับการถ่ายทอดมาจากพันธุกรรมและทำให้เกิดภาวะตับแข็งได้ มีดังนี้
- ภาวะเหล็กเกิน : การที่มีธาตุเหล็กสะสมอยู่ในตับและส่วนต่างๆตามร่างกาย
- โรควิลสัน (Wilson’s disease) : การที่มีสารทองแดงสะสมอยู่ในตับและส่วนต่างๆตามร่างกาย
การอุดตันของท่อน้ำดี
ในบางสภาวะหรือโรค เช่น มะเร็งท่อน้ำดีหรือมะเร็งตับอ่อน ที่ทำให้เกิดการอุดตันของท่อน้ำดีได้ซึ่งทำให้มีความเสี่ยงในการเป็นโรคตับแข็ง
อาการของโรค Budd-Chiari syndrome
เป็นภาวะที่เกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือด hepatic vein ซึ่งเดิมเป็นหลอดเลือดที่ทำหน้าที่นำเลือดไปเลี้ยงที่ตับ โดยภาวะนี้จะทำให้ตับมีขนาดใหญ่ขึ้นและเกิดเป็นหลอดเลือดเส้นทางใหม่ขึ้น
โรคหรือสภาวะอื่นๆที่เป็นนำไปสู่การเกิดโรคตับแข็งได้ มีดังนี้
- โรคซิสติกไฟโบรซิส (cystic fibrosis)
- โรคท่อน้ำดีอักเสบแข็งขั้นปฐมภูมิ (Primary Sclerosing Cholangitis) หรือภาวะที่ท่อน้ำดีเกิดการแข็งตัวและมีรอยแผลเป็นเกิดขึ้น
- ภาวะกาแลคโตซีเมีย (galactosemia) หรือภาวะที่ไม่สามารถย่อยน้ำตาลที่อยู่ในนมได้
- พยาธิใบไม้ในเลือดซึ่งเป็นปริสิตที่พบได้ทั่วไปในบางประเทศที่กำลังพัฒนา
- โรคทางเดินน้ำดีตีบตัน หรือการสร้างท่อน้ำดีที่ผิดรูปในทารกแรกเกิด
- โรคที่เกิดจากความผิดปกติในการสลายไกลโคเจน (glycogen storage disease) หรือภาวะที่มีความผิดปกติในการกักเก็บและการสลายพลังงานที่สำคัญซึ่งใช้ในการทำหน้าที่ของเซลล์
นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา
- https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/cirrhosis/symptoms-causes/syc-20351487
- https://www.webmd.com/digestive-disorders/understanding-cirrhosis-basic-information
- https://www.healthline.com/health/cirrhosis
- https://www.nhs.uk/conditions/cirrhosis/
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก