กานพลู (Clove) : ประโยชน์ และสิ่งควรรู้

กานพลู (Clove) : ประโยชน์ และสิ่งควรรู้

06.07
1934
0

กานพลู คือ

กานพลู (Clove)  คือ ไม้ยืนต้น และเป็นสมุนไพรที่นิยมใช้กันมานานแล้ว มีสรรพคุณทางยาที่น่าสนใจ มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว มีรสเผ็ด นิยมปลูกกันมากในประเทศอินโดนีเซีย อินเดีย ปากีสถาน และศรีลังกา ในช่วงศตวรรษที่ 13 และ 14 ได้มีกานพลูเป็นสินค้าสำคัญที่ถูกส่งไปจำหน่ายเกือบทั่วโลห ทำให้ในช่วงเวลาดังกล่าวกานพลูมีราคาสูงมาก และกลายเป็นพืชเชิงพาณิชย์ที่สำคัญมากในปัจจุบัน

ต้นกานพลูสามารถนำส่วนต่าง ๆ ของลำต้นมาใช้ประโยชน์ได้หลายส่วน ทั้งดอกตูม ผล ต้น เปลือก และใบ สามารถนำมาผลิตเป็นน้ำมันหอมระเหยได้ กานพลูสามารถนำมาใช้เป็นยารักษาโรคระบบไหลเวียนโลหิต (แก้ลม) สามารถใช้เป็นส่วนประกอบในตำรับยาชนิดต่าง ๆ ได้แก่ ยาหอมเทพจิตร ยาหอมนวโกฐ เป็นต้น และยังสามารถใช้กานพลูเป็นยารักษาอาการผิดปกติในระบบอาหาร ช่วยแก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ จุกเสียด และอาหารไม่ย่อย

กานพลูมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Syzygium Aromaticum มันเป็นพืชตระกูลถั่ว Myrtaceae มีความเขียวชอุ่มตลอดปี ปลูกได้ดีในพื้นที่เขตร้อนและกึ่งเขตร้อน กานพลูเป็นพืชสมุนไพร ใช้ส่วนต่าง ๆ ของลำต้นนำมาตากแห้ง สกัดเป็นยา หรือน้ำมัน

ลักษณะภายนอกของดอกกานพลู

ดอกตูมของกานพลู มีความยาว 1 – 2 เซนติเมตร สีน้ำตาลแดงหรือถึงน้ำตาลดำ ส่วนล่างของดอกมีลักษณะแข็ง รูปทรงกระบอก มีกลีบเลี้ยงรูปสามเหลี่ยมแบน ๆ ขนาบทั้ง 4 ด้าน สลับระหว่างกลีบดอก 4 กลีบ ลักษณะเป็นแผ่นบางรวมอยู่ตรงกลาง ข้างในดอกมีเกสรตัวผู้จำนวนมาก และเกสรตัวเมีย 1 อัน มีกลิ่นเฉพาะตัว หอมแรง เป็นยาร้อน รสเผ็ดร้อน ฝาด ทำให้ลิ้นชา

ลักษณะทางกายภาพและเคมี ข้อมูลจาก WHO กำหนดให้ก้านพลูที่ดีควรมีปริมาณความชื้นไม่เกิน 12% w/w มีสิ่งแปลกปลอมปนเปื้อนได้ไม่เกิน 4% w/w มีดอกตูมที่เสียสภาพแล้วไม่เกิน 2% w/w  ปริมาณสิ่งปนเปื้อนอื่น ๆ ไม่เกิน 0.5% w/w ปริมาณเถ้ารวมไม่เกิน 7% w/w  ปริมาณเถ้าไม่สามารถละลายในกรด ไม่เกิน 0.5% w/w  ปริมาณน้ำมันระเหยง่าย ไม่น้อยกว่า 15% w/w ปริมาณสารสกัดเอทานอล ไม่น้อยกว่า 3% w/w  ปริมาณสารสกัดจากน้ำ ไม่น้อยกว่า 9% w/w และปริมาณสารยูจีนอล ไม่น้อยกว่า 12.8 % w/w

สารสำคัญในกานพลู

กานพลูมีสารสำคัญที่สามารถนำมาใช้เป็นสมุนไพรเพื่อรักษาโรคต่าง ๆ ดังนี้ Eugenol คือน้ำมันหอมระเหยชนิดระเหยง่ายใช้รักษาทางทันตกรรม บรรเทาอาการปวดฟัน และยังมีสารสำคัญอื่น ๆ เช่น แคลเซียม ฟอสฟอรัส

ประโยชน์ต่อสุขภาพของกานพลู

คุณสมบัติต้านทานเชื้อแบคทีเรีย

สารสกัดจากดอกกานพลูมีศักยภาพในการกำจัดเชื้อแบคทีเรีย และสามารถต่อต้านเชื้อแบคทีเรียชนิดที่ทำให้เกิดเชื้ออหิวาตกโรคได้

คุณสมบัติป้องกันสารก่อมะเร็ง

ต้นกานพลูมีคุณสมบัติป้องกันการเกิดมะเร็ง โดยพบว่าควบคุมการเกิดโรคมะเร็งปอดระยะเริ่มแรกได้

ช่วยปกป้องตับ

กานพลูมีสารต้านอนุมูลอิสระจำนวนมาก จึงสามรถปกป้องอวัยวะจากอนุมูลอิสระได้ดี โดยเฉพาะตับ ระบบเผาผลาญ การรับประทานอย่างต่อเนื่องยังช่วยลดการผลิตอนุมูลอิสระ และไขมันในร่างกายได้ สารสกัดจากกานพลูมีฤทธิ์ยับยั้งอนุมูลอิสระ ด้วยคุณสมบัติ Hepatoprotective

ควบคุมการเกิดโรคเบาหวาน

กานพลูถูกนำมาใช้เป็นยารักษาโรคเบาหวานมานาน โดยผู้ป่วยโรคเบาหวานปริมาณของอินซูลินที่ร่างกายไม่สามารถผลิตได้ในระดับที่เหมาะสม แต่เมื่อใช้สารสกัดจากกานพลูที่มีคุณสมบัติเลียนแบบอินซูลินจะทำให้การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดดีขึ้น

 รักษาโรคกระดูก

สารสกัดจากกานพลู มีส่วนประกอบของสารประกอบฟีนอล อย่างยูจิแน็น และอนุพันธ์อื่น ๆ เช่น Flavones, Isoflavones และ Flavonoids สารสกัดเหล่านี้มีประโยชน์ในการรักษาความหนาแน่นของกระดูก ปริมาณแร่ธาตุในกระดูก และต้านทานแรงดึงของกระดูก ในกรณีที่เป็น โรคกระดูกพรุน

ช่วยการทำงานของย่อยอาหาร

กานพลูช่วยย่อยอาหาร ด้วยฤทธิ์กระตุ้นการหลั่งของเอนไซม์ที่ใช้ย่อยอาหาร กานพลูยังดีสำหรับการลดอาการท้องอืด ลดภาวะกรดในกระเพาะอาหาร บรรเทาอาการอาหารไม่ย่อย และคลื่นไส้ สามารถใช้กานพลูคั่วมาบดเป็นผงผสมน้ำผึ้ง เพื่อบรรเทาความผิดปกติต่าง ๆ ในระบบทางเดินอาหาร

คุณสมบัติต่อต้านการกลายพันธุ์

Mutagens เป็นสารเคมีที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมของดีเอ็นเอ หรือเป็นการกลายพันธุ์ ซึ่งสารประกอบทางชีวเคมีในกานพลู เช่น Phenylpropanoids ซึ่งมีคุณสมบัติต้านการกลายพันธุ์ สามารถรักษาเซลล์ที่ถูกแปรสภาพด้วย mutagens และควบคุมผลกระทบที่เกิดจากการกลายพันธุ์ได้

เพิ่มระบบภูมิคุ้มกัน

กานพลูมีประสิทธิภาพในการพัฒนา และปกป้องระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย เนื่องจากกานพลูมีสารประกอบที่ช่วยปรับปรุงการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน ช่วยเพิ่มจำนวนเซลล์เม็ดเลือดขาว จึงช่วยให้การต้านทานโรคตอบสนองได้ไวขึ้น

Clove

คุณสมบัติต้านทานอาการอักเสบ

กานพลูมีคุณสมบัติต้านทานการอักเสบ และลดอาการปวดสารสกัดจากดอกกานพลูมี Eugenol ที่ช่วยลดการอักเสบที่เกิดจากอาการบวมน้ำได้ และยังบรรเทาอาการปวด โดยลดการกระตุ้นตัวรับความเจ็บปวดได้

รักษาโรคในช่องปาก

กานพลูช่วยรักษาโรคเกี่ยวกับเหงือก อย่างโรคเหงือกอักเสบ และโรคปริทันต์อักเสบได้ เพราะสารสกัดจากดอกกานพลูจะช่วยควบคุมการเจริญเติบโตของเชื้อโรคในช่องปากได้ จึงส่งผลต่อโรคภายในช่องปากชนิดต่าง ๆ ได้ กานพลูช่วยบรรเทาอาการปวดฟันได้อีกด้วย

คุณสมบัติเป็นยาโด๊ป

กานพลูมี คุณสมบัติเป็นยาโด๊ป ตามศาสตร์การรักษาของแพทย์แผนอินเดียโบราณ

บรรเทาอาการปวดหัว

อาการปวดหัวสามารถบรรเทาได้ โดยใช้กานกลีบของกานพลูมาผสมกับเกลือแร่ รับประทานพร้อมกับนม จะช่วยบรรเทาอาการปวดหัวได้

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *